Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10109
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา ธาดานิติ-
dc.contributor.authorจิรังรัก ห้วยหงษ์ทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2009-08-14T11:44:24Z-
dc.date.available2009-08-14T11:44:24Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743330895-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10109-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการขนส่งผู้โดยสาร ณ. ท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำไปยังจุดหมายปลายทาง ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการขนส่งผู้โดยสาร ตลอดจนประมาณการแนวโน้มการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ และทางบกในอนาคต โดยนำผลจากการศึกษาดังกล่าวมาเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาจุดเชื่อมต่อการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำกับทางบกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าลักษณะการเดินทางและการขนส่งผู้โดยสาร ณ. จุดเชื่อมต่อซึ่งได้แก่ ท่าเรือ จะหนาแน่นเป็นพิเศษในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็นของวันทำงาน การเดินทางส่วนใหญ่จะมีจุดเริ่มต้น หรือจุดปลายทางของการเดินทางใกล้กับเส้นทางน้ำ ซึ่งการเดินทางเข้าและออกจากท่าเรือคนส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้รถประจำทาง สำหรับการเลือกใช้พาหนะ และจำนวนการต่อพาหนะขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกลระหว่าง ท่าเรือ และจุดต้นทางปลายทาง ส่วนรัศมีการให้บริการของท่าเรือจะขึ้นอยู่กับเส้นทางบริการของการขนส่งสาธารณะและความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ สำหรับปัญหาที่พบในการขนส่งผู้โดยสารมีทั้งปัญหาที่เกิดบริเวณจุดเชื่อมต่อการเดินทางทางน้ำและบกซึ่ง ได้แก่ ท่าเรือ และปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ท่าเรือจะมีทั้งปัญหาโดยรวมและปัญหาที่เกิดกับท่าเรือที่มีขนาดจำนวนผู้ใช้บริการต่างกัน ปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งทางกายภาพ และการจัดการ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการในการเดินทางที่มีเป็นจำนวนมากเกินความสามารถของระบบให้บริการเดินทางที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะรองรับได้ สาเหตุของปัญหาเหล่านี้มาจากการขาดการวางแผนด้านการเดินทาง และการขนส่งที่เหมาะสม ส่วนแนวโน้มการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำและทางบกในอนาคต จากการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ แนวโน้มการใช้ที่ดินและการขยายตัวของเมือง ระบบขนส่งในอนาคต แนวโน้มปริมาณผู้โดยสารทางน้ำ นโยบายส่งเสริมการเดินทางทางน้ำ ตลอดจนการพิจารณาโอกาสการพัฒนาการสัญจรทางน้ำ พบว่า การขนส่งผู้โดยสารจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมา คือ ปริมาณการเดินทาง และความต้องการในการรองรับการเดินทางตลอดจนสภาพปัญหาที่ย่อมเพิ่มขึ้นตามมาเช่นเดียวกัน ดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาจึงมุ่งแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน และป้องกันปัญหาที่จุเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะจุดเชื่อมต่อซึ่งเป็นแหล่งรวมผู้โดยสารและกิจกรรมการเดินทาง แนวทางที่เสนอจะยึดหลักในการปรับปรุงโดยการลดความแออัดของท่าเรือ ส่งเสริมความสะดวกในการเข้าถึง การจัดระเบียบกิจกรรมในพื้นที่ การเพื่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง การจัดบริการสาธารณะในการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และการสร้างทัศนียภาพที่ดึงดูดใจในการเข้ามาใช้ท่าเรือ การนำเสนอได้เสนอแนวทางในการพัฒนาทั้งท่าเรือโดยทั่วไป และท่าเรือขนาดต่างกันโดยเสนอแนะทั้งทางด้านกายภาพและด้านการจัดการ นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะเพิ่มเติมในการพัฒนาระบบขนส่งทางน้ำและทางบกที่เกี่ยวข้อง จากแนวทางการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุนการใช้ระบบการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบการสัญจรของเมืองen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the characteristics of passenger transportation which transfering from the piers to the destination, the problems and obstracles of journey, the trend estimation of water and land passengers's transport, as well as proposing guidelines to develope the water and land connecting points to be more efficiency. The study reveals that the trips and the amount of passengers will be more densely between rush hours in the morning and afternoon of working days. Most of the journeys have the origin or destination points near waterway. For going in and out the piers, most people choose buses. The choices of mode depends on the distance between piers and origin-destination points. Radious of pier survice depends on the survice of public transport and the accessibility. The problems of journey occur at the connecting point and during the journeys. The problems of connecting points are both gerneral problems and specific ones with different size of passengers. Most of problems are physical and management factors. The over demands which are more than the carrying capacity service system cause transport problems. These outcomes are from the lack of suitable transportation planning. About the future trend of water-land passengers transfer, factors sush as the trend of land use and built-up area, transport system in the future, the future amount of water passengers, the policy of promoting water transport and the oppotunity for water transport development were considered. It has been found that more passengers by waterway will increase. The following effects are also the increase in trip demand and other problems. Therefore, the guidlines for development should be problem solution at the present and prevent the future ones, expecially at the connecting points which are the gather place of passengers and journey activities. The guidlines are on the recommendation to decrease the overcrowd at the pires, make the convenient accessibility, manage the activities to be in order, promote the safety service, provide the trip facilities as well as the visual attraction. The proposal has been done for every pier in general and also for the specific piers according to their size, in terms of physical improvement and management. Besides, the water transport and the related by land system are additionally suggested. Such development is belived to encourage the use of water transport and strengthen the efficiency the transport system of Bangkok.en
dc.format.extent1452952 bytes-
dc.format.extent944378 bytes-
dc.format.extent1473218 bytes-
dc.format.extent2696302 bytes-
dc.format.extent3137265 bytes-
dc.format.extent1853427 bytes-
dc.format.extent1347513 bytes-
dc.format.extent1003537 bytes-
dc.format.extent1480938 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการขนส่งในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectการใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectการขนส่งทางน้ำ -- กรุงเทพมหานครen
dc.subjectผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectการขนส่งทางบก -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.titleแนวทางการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำและทางบกตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeDevelopment guidelines for water and land connecting points of passengers along the Chao Phraya River Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuwattana.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirungruk_Hu_front.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Jirungruk_Hu_ch1.pdf922.24 kBAdobe PDFView/Open
Jirungruk_Hu_ch2.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Jirungruk_Hu_ch3.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Jirungruk_Hu_ch4.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
Jirungruk_Hu_ch5.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Jirungruk_Hu_ch6.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Jirungruk_Hu_ch7.pdf980.02 kBAdobe PDFView/Open
Jirungruk_Hu_back.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.