Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10215
Title: สภาพแวดล้อมการฝึกอบรมการวิจัย ปัจจัยที่เอื้อต่อการทำวิจัยและคุณลักษณะของนักวิจัย ที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Research training environment, research facilitating factors and researcher's characteristics affecting research productivity of master's degree graduates of the Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: สุนันท์ ปัณทุพา
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ลิสเรลโมเดล
วิจัย
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สร้างและตรวจสอบโมเดลผลิตภาพการวิจัย กลุ่มประชากรคือผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ทำวิทยานิพนธ์และสำเร็จการศึกษา ในช่วงปีการศึกษา 2534-2538 จาก 11 ภาควิชา จำนวน 1,312 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 307 คน ได้จากการสุ่มแบ่งชั้นแบบเป็นสัดส่วน (propotional stratified random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบบถามกลับคืนร้อยละ 86 วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง โดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์หาความสอดคล้องของโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.10 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 170.707 ที่ค่าองศาอิสระ = 181 p = 0.697 ค่า GFI = .951 ค่า AGFI = .918 ค่า RMR = .0460 โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลิตภาพการวิจัยได้ร้อยละ 89 ตัวแปรที่มีค่าอิทธิพลรวมส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยสูงสุดคือ คุณลักษณะทางชีวสังคม รองลงมาคือ สภาพแวดล้อมการฝึกอบรมการวิจัย และปัจจัยที่เอื้อต่อการทำวิจัย ตามลำดับ ผลิตภาพการวิจัยได้รับอิทธิพลทางตรงสูงสุด จากตัวแปรคุณลักษณะทางชีวสังคม รองลงมาคือ ตัวแปรความคาดหวังในความสามารถของตนเองในด้านการทำวิจัย ตัวแปรทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์และลักษณะนิสัยที่เอื้อต่อการทำวิจัย ตามลำดับ และผลิตภาพการวิจัยได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากสภาพแวดล้อม การฝึกอบรมการวิจัยที่ส่งผ่านตัวแปรความคาดหวัง ในความสามารถของตนเองในด้านการทำวิจัย ทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์และลักษณะนิสัยที่เอื้อต่อการทำวิจัย
Other Abstract: To develop and validate the research productivity model. The population consisted of 1,312 master's degree graduates of the Faculty of Education, Chulalongkorn University who had conducted thesis, during 1991-1996 academic years, from eleven departments. The sample consisted of 307 graduates, selected by proportional stratified random sampling. Mailed questionnaires were employed with 86% return rate of response. Data were analyzed by descriptive and bivariate statistical technic through SPSSPC+. The LISREL version 8.10 was applied to test consistent with empirical data. The results indicated that Chi-square goodness-of-fit test was 170.707, df = 181, P = .697, GFI = .951 AGFI = .918, RMR = .0460. The variable that had highest total effects on research productivity were researcher's characteristics, research training environment and research facilitating factors respective, by those had highest direct effects on research productivity were researcher's characteristics varibles, research self-efficacy, scientific attitude and the research character, and its indirect effects on research productivity via those research self-efficacy, scientific attitude and the research character.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10215
ISBN: 9746372971
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunan_Pa_front.pdf862.25 kBAdobe PDFView/Open
Sunan_Pa_ch1.pdf948.17 kBAdobe PDFView/Open
Sunan_Pa_ch2.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Sunan_Pa_ch3.pdf901.37 kBAdobe PDFView/Open
Sunan_Pa_ch4.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Sunan_Pa_ch5.pdf910.89 kBAdobe PDFView/Open
Sunan_Pa_back.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.