Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10365
Title: รูปแบบและการนำเสนอรายการดนตรีคลาสสิกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงไทย
Other Titles: Form and presention of classical music program in Thai radio stations
Authors: วรารัตน์ ชัยสุข
Advisors: สุภาพร โพธิ์แก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Supaporn.Ph@chula.ac.th
Subjects: ดนตรีคลาสสิก
รายการวิทยุ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดกำเนิดและพัฒนาการของรายการดนตรีคลาสสิกทางวิทยุกระจายเสียงไทย รวมทั้งศึกษารูปแบบและวิธีการนำเสนอรายการดนตรีคลาสสิกดังกล่าว ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ดำเนินรายการดนตรีคลาสสิกในอดีตและปัจจุบัน กลุ่มผู้ฟังรายการดนตรีคลาสสิก เอกสารที่เกี่ยวข้องและเทปรายการที่ออกอากาศ โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง การจัดรายการเพลงและการจัดรายการเพลงคลาสสิก และแนวคิดเกี่ยวกับสุนทรียรสในการฟังดนตรี เป็นกรอบในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์พบว่า ในปี พ.ศ. 2493 สถานีวิทยุ 1 ปณ. ของกรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นสถานีวิทยุแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดเพลงคลาสสิก ต่อจากนั้นจึงมีรายการดนตรีคลาสสิกนำเสนอทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2508) สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2510) สถานีวิทยุองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (2536) และสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (2540) ตามลำดับ และการจัดรายการดนตรีคลาสสิกทางวิทยุกระจายเสียงไทยนั้นมีพัฒนาการมาเป็นลำดับจากอดีตที่เป็นรายการทดลองออกอากาศ มีเวลาออกอากาศที่ไม่แน่นอน มาสู่ปัจจุบันที่แต่ละสถานีให้ความสำคัญโดยให้เป็นแนวนโยบายและมีเวลานำเสนอที่แน่นอน ด้านรูปแบบและวิธีการนำเสนอบทเพลงคลาสสิกทางวิทยุกระจายเสียงไทย พบว่ามีการนำเสนอรายการเพลงหลากหลายรูปแบบ และพบว่าการจัดรายการดนตรีคลาสสิกมีแนวการจัดรายการ 3 แนวทาง คือ แนวทางที่ให้ความบันเทิงและความรู้เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิก แนวทางที่ให้ความบันเทิงและเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิก และแนวทางที่ให้ความเพลิดเพลินจากอารมณ์ของบทเพลง แต่สิ่งสำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ ไม่ว่ารายการดนตรีคลาสสิกจะนำเสนอด้วยแนวทางใด ก็คือผู้ดำเนินรายการดนตรีคลาสสิกจะต้องแสดงบทบาทในฐานะมีความรู้และมีความซาบซึ้งในบทเพลงคลาสสิก อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อสมาธิในการฟังก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ต้องคำนึงถึง แม้ว่าจะเป็นการฟังดนตรีทางวิทยุกระจายเสียงก็ตาม นอกจากนี้ยังพบว่า รายการดนตรีคลาสสิกของทุกสถานี สามารถเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญทางด้านดนตรีของคนรักดนตรีและนิสิต นักศึกษาอีกด้วย
Other Abstract: This qualitative research aims to study the beginning, the development, the format and the technique of presentation of Thai radio classical music programs. The methods of study include depth-interviewing past and present presenters of those programs and their audiences, and analyzing the recorded program and related documents. The researcher uses the concept of radio program production, radio musical and classical music programs, and the aesthetic approach to music as the frames of analysis. The research finds that 1 Por Nor is the first station to broadcast classical music program (1950), followed by Chulalongkorn University's station (1965), Chiang Mai University's station (1967), Mass Communication Organization of Thailand's station (1993) respectively. It is also found that the classical music program on radio was only a past of the newly set up station's test signal without definite schedule, and has evolved to such a stage that it become a part of the policies with regular and definite schedule. As for the format and the technique of presentation, it is found that various forms of presentation are used. There are 3 directions in presenting radio classical music program: providing entertainment and knowledge about classical music: providing entertainment and miscellaneous information of classical music; and providing emotion pleasure. The presenters of the programs must appear to be knowledgeable and appreciate of the subjects. Also of important the environment that induces the concentrations in listening although the audience actually listens to the radio. Moreover, the content of every program studied in this research has become valuable information for music lovers and students.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10365
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.459
ISBN: 9741732082
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.459
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wararat.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.