Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10453
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเริงธรรม ลัดพลี-
dc.contributor.advisorมุรธา วัฒนะชีวะกุล-
dc.contributor.authorเชวง ชูศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2009-08-25T09:13:59Z-
dc.date.available2009-08-25T09:13:59Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745679011-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10453-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractการร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังโดยผิดกฎหมาย เป็นมาตรการทางกฎหมายอย่างหนึ่งที่เป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ให้รอดพ้นจากการถูกคุมขังโดยผิดกฎหมาย ซึ่งมาตรการดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิชั้นมูลฐานของประชาชน มาตรการดังกล่าวนี้เป็นหลักกฎหมายอันเก่าแก่ของประเทศอังกฤษในเรื่อง write of habeas corpus ซึ่งในบางประเทศได้ยอมรับหลักการนี้โดยนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนั้น เคยยอมรับหลักการนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นกัน และได้มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 ด้วย ซึ่งสาระสำคัญโดยย่อของหลักการนี้ก็คือ เมื่อมีการอ้างว่ามีผู้ถูกคุมขังโดยผิดกฎหมาย บุคคลผู้ถูกคุมขังนั้นเอง สามี ภริยา ญาติของผู้นั้น หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือพัศดี อาจยื่นคำร้องต่อศาลโดยนำพยานหลักฐานมาแสดง เพื่อให้ศาลทำการไต่สวน ถ้าเป็นที่พอใจศาลว่าการคุมขังนั้นผิดกฎหมาย ศาลก็จะปล่อยตัวผู้นั้นไป จากการวิจัยพบว่าในปัจจุบันมาตรการดังกล่าวน้คงเหลือเพียงบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นี้ เท่านั้น ดังนั้นจึงอาจทำให้มาตรการดังกล่าวนี้ไม่สามารถเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ดีเท่ากับบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะฝ่ายบริหารอาจเสนอให้ออกกฎหมายพิเศษใด ๆ มายกเว้นมาตรการดังกล่าวได้โดยง่าย ดังเช่นที่ได้เคยเป็นมาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้น แม้ว่าจะเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติเมื่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลถูกลิดรอนความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติเมื่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลถูกลิดรอนกลับปรากฎว่าไม่ค่อยมีผู้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้มากนัก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็คือการร้องขอความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้นมีอุปสรรคและปัญหาในการใช้บังคับบางประการ เช่น ความไม่รู้ถึงสิทธิหรือขาดความสามารถในการดำเนินการเพื่อขอรับความคุ้มครอง และมีมาตรการทางกฎหมายอื่นมาใช้แทน ส่วนในเรื่องปัญหาก็เช่นเรื่องความสะดวกและความรวดเร็วในการพิจารณาคำร้อง การอุทธรณ์หรือฏีกาและที่สำคัญก็คือ เรื่องของการพิสูจน์ว่าการคุมขังนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางหลักเกณฑ์ในเรื่องการพิสูจน์ถึงอำนาจในกาคุมขังว่า เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายให้อำนาจไว้หรือไม่ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ร้องขอความคุ้มครองตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นี้ต่อไป วิทยานิพนธ์นี้มุ่งที่จะเสนอแนะให้ทราบถึง วิธีปฏิบัติและหลักเกณฑ์ในการ้องขอความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 ว่ามีอย่างไร และให้ทราบถึงอุปสรรคและปัญหาในการใช้บังคับบทบัญญัติดังกล่าว เพื่อว่าอาจมีความจำเป็นจะต้องมีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะได้เป็นหลักประกันในการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริงต่อไปen
dc.description.abstractalternativeFocuses on the suggestion of the exercise and procedure in applying the security of the Criminal Procedure Code section 90. Studies and analyzes problems and obstruction in using to enforcement of this provision of law in case amendment which will be necessary done to ensure right and freedom of the people. Presents the measure in security the aggrieved person contrary to law according to the constitution, the criminal law and The Criminal Procedure Code ; the role, the problems, causes and obstruction in applying and not applying the section 90 of The Criminal Procedure Code. Reports on the procedures for applying the security of the Criminal Procedure Code section 90. Gives the measure of security the aggrieved person contrary to law according to the foreign countries such as in Europe, the socialist countries, the United States and in England. Compare the measure of application for release from unlawful detention according to the Criminal Procedure Code section 90.en
dc.format.extent23368182 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการจำคุก -- ไทยen
dc.subjectนักโทษen
dc.subjectสิทธิผู้ต้องหาen
dc.titleการร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังโดยผิดกฎหมายen
dc.title.alternativeApplication for release from unlawful detentionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaweng.pdf22.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.