Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/104
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุติมา ไตรรัตน์วรกุล-
dc.contributor.advisorปิยะฉัตร พัชรานุฉัตร-
dc.contributor.authorวิภาพร ล้อมสิริอุดม, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคตะวันออกเฉียเหนือ)-
dc.coverage.spatialมุกดาหาร-
dc.date.accessioned2006-05-27T08:13:49Z-
dc.date.available2006-05-27T08:13:49Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741715293-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/104-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องความเข้าใจและการปฏิบัติแบบชาวบ้านเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการอธิบายโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยของชาวบ้าน รวมทั้งพฤติกรรมการเลี้ยงดู การให้อาหาร นม และขนม พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากเด็ก การป้องกันและการจัดการเมื่อเด็กเกิดโรคฟันผุ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เจาะลึก การใช้สื่อแผ่นภาพ ร่วมกับการใช้ข้อมูลเอกสาร และการตรวจสภาพช่องปากเด็ก ในเด็กตัวอย่าง 38 ราย และกรณีศึกษา 12 ครอบครัว ใช้เวลาเก็บข้อมูลรวม 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่า แบบแผนการอธิบายโรคฟันผุของชาวบ้าน มีทั้งส่วนที่สอดคล้องและแตกต่างกับแนวคิดทางการแพทย์ ซึ่งเป็นผลจากการมีพื้นฐานความคิดบนความจริงที่ต่างกัน ส่วนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กนั้น พบว่าชาวบ้านมีการผสมผสานความรู้ที่ได้รับจากหลายแหล่งร่วมกันจนนำไปสู่การปฏิบัติ ผ่านการขัดเกลาทางสังคมโดยการถ่ายทอดในระดับครอบครัวและชุมชน โรงเรียน สื่อต่างๆ รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ชาวบ้านมีวิธีคิดและการปฏิบัติที่ยอมรับความเป็นไปตามธรรมชาติ ให้ความหมายความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เห็นเด่นชัด ให้คำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม คาดหวังการรักษาเพียงบรรเทาอาการเจ็บปวดที่รบกวนชีวิตประจำวัน ชาวบ้านเลือกที่จะดูแลรักษาตนเองเป็นอันดับแรกเมื่อมีปัญหาจากโรคฟันผุ การตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับ ความรุนแรงของอาการและประสบการณ์การรักษา การให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาจถูกชาวบ้านแปลความหมายที่ต่างออกไปได้ การทำความเข้าใจต่อวิธีคิดและการปฏิบัติของชาวบ้านดังกล่าว จะช่วยในการหามาตรการที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับวิธีคิดและวิถีชีวิตของชาวบ้าน อันจะนำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive study was to identify lay's explanatory model and practices regarding early childhood caries (ECC) in one village from Nikomkumsoi district, Mukdaharn province, in light of child rearing style, consumption behavior and oral hygiene practice. In addition, a preventive and treatment strategies when one is aware of dental caries. Different qualitative data collection techniques were used including a participant observation, an informal and in-depth interviews, pile sorting, records and oral examination of 38 children and 12 familial case studies at the 6 month - intervals. The results show that the lay's explanatory pattern and practices regarding ECC in this village are influenced by own's and family's experiences, education through school system, medias and health care providers through socialization. Some of them fit to professional knowledge, while some do not, due to different reality background. Lay's belief bases on accepted natural phenomena. Most oral health practices aim for emergent pain relief. Lay people manage their oral illness episodes by themself at most. Care seeking for dental illness depends on severity and past experience of oral care. Explanations given by health practitioners may be misinterpreted by the villagers. The understanding from the present study should help health care providers administer appropriate medical and dental interventions that are culturally suitable to popular thought, beliefs and lifestyle to improve public oral health goals.en
dc.format.extent2406617 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.600-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรคฟันผุen
dc.subjectฟันผุในเด็กen
dc.titleความเข้าใจและการปฏิบัติแบบชาวบ้านเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหารen
dc.title.alternativeLay's understandings, and practices regarding early childhood caries: a village case study from Nikomkumsoi District, Mukdaharn Provinceen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorctrairat@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.600-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wipaporn.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.