Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10541
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชโยดม สรรพศรี-
dc.contributor.authorชาติชัย พงคพนาไกร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2009-08-26T09:03:32Z-
dc.date.available2009-08-26T09:03:32Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741732953-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10541-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractงานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความสามารถในการก่อหนี้ต่างประเทศ ในระดับที่ไม่กระทบกระเทือนความเชื่อมั่นของผู้ให้กู้ หรือคงระดับสัดส่วนหนี้ต่างประเทศสุทธิต่อตัววัดระดับทรัพยากรที่เป็นค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างมูลค่าการส่งออกและผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงจะต้องไม่กระทบตัวถ่วงน้ำหนักที่ใช้หาตัววัดระดับทรัพยากร โดยจะประมาณการณ์การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ในกรณีที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและตลาดสินค้าส่งออกหลักของไทยในลักษณะต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยจะสามารถขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ในช่วงร้อยละ 0.63 ถึง 5.60 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติเพื่อคงระดับความเชื่อมั่นในปี พ.ศ. 2540 ไว้ เมื่อกำหนดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยไว้ในช่วงร้อยละ 2 ถึง 7 และกำหนดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของตลาดสินค้าส่งออกหลัก 11 ประเทศของไทยไว้ในช่วงร้อยละ 0 ถึง 5 อย่างไรก็ตาม ถ้าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและตลาดสินค้าส่งออกหลักเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของไทยอยู่ในระดับ 4.5 และ 3.33 ตามลำดับ ประเทศไทยจะสามารถขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ร้อยละ 3.68 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติโดยยังคงระดับความเชื่อมั่นของผู้ให้กู้ได้ ส่วนการศึกษาการก่อหนี้ต่างประเทศของไทยในช่วงปี พ.ศ. 2533 ถึง 2544 พบว่า การก่อหนี้ต่างประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2539 ถึง 2541 เกิดระดับมาตรฐานของ IMF ที่กำหนดให้หนี้ต่างประเทศคงค้างไม่เกินร้อยละ 150 ของมูลค่าการส่งออก และร้อยละ 50 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติจึงจะอยู่ในระดับที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังพบว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตของตลาดสินค้าส่งออกไทยจะสร้างช่องว่างให้ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้มากกว่าการเพิ่มของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยเอง เนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของรายได้ของตลาดสินค้าส่งออกหลักของไทยที่มีต่อการส่งออกมีมากกว่าสัดส่วนที่มาจากส่วนประกอบของผลิตมวลรวมประชาชาติในตัววัดระดับทรัพยากรต่อส่วนประกอบของการส่งออกในตัววัดระดับทรัพยากร นั่นเองen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to figure out the external indebtedness capacity of Thailand under the creditworthiness of creditors. To sustain the creditworthiness constraint, net external debt to resource ratio should be constant. Resources is defined as a weighted average the value of exports and gross national output expressed in terms of foreign goods and the weights of them are unaffected by any change of the real exchange rate. To forecast net external debt accumulation to GNP ratio, there are some different rates of Thai output growth and Thai-exports markets output growth to estimate the current account deficit as a percentage of GNP. The result shows that the current account deficit as a percentage of GNP should be about 0.63 and 5.60 to sustain the 1997 creditworthiness under the Thai output growth rates between 2 and 7 and output growth rates of Thai-exports markets between 0 and 5. If Thai economy and the economies of Thai-exports markets grow as 4.50 and 3.33, respectively, the current account deficit to GNP ratio can be sustained as 3.68 in the 1997-external debt climate. To testify the net external debt accumulation between 1990 and 2001, this study found that the actual current account deficit to GNP ratio in 1996 to 1998 was more than the current account deficit to GNP ratio that generated from IMF rule. Moreover, the result of this study implies that the change in the output growth rate of Thai trading partners generates a window of the current account deficit to GNP ratio more than the change in the output growth rate of Thailand does. The cause behind this finding comes from the difference between income elasticity of exports and the weighted GNP in resources relative to the weighted exports in resources.en
dc.format.extent1483036 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.607-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหนี้ต่างประเทศ -- ไทยen
dc.subjectการชำระหนี้en
dc.titleความสามารถในการก่อหนี้ต่างประเทศของประเทศไทยภายใต้ความเชื่อมั่นของผู้ให้กู้en
dc.title.alternativeThe external indebtedness capacity of Thailand under the creditworthinessen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorchayodom.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.607-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chartchai.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.