Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10572
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กรรณิการ์ สัจกุล | - |
dc.contributor.advisor | ศิราพร ณ ถลาง | - |
dc.contributor.author | พรทิพย์ อันทิวโรทัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-26T11:42:38Z | - |
dc.date.available | 2009-08-26T11:42:38Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741724896 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10572 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาวัฒนธรรมชาวสวนฝั่งธนบุรีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์การสืบทอดวัฒนธรรมชาวสวน ในรูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ และนำเสนอบทบาทการศึกษาในการพัฒนาทางวัฒนธรรม ของชุมชนชาวสวนฝั่งธนบุรี พื้นที่ศึกษาคือ แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน และแขวงบางมด เขตจอมทอง วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสาร 2) ศึกษาประวัติศาสตร์บอกเล่า 3) ศึกษาภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์เจาะลึก สัมภาษณ์กลุ่ม และสนทนากลุ่ม และ 4) นำเสนอผลการวิเคราะห์ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาตรวจสอบ ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมชาวสวนฝั่งธนบุรีเป็นมรดกของสังคมไทยสืบมาหลายชั่วอายุคน ชาวสวนมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ยึดถือแบบแผนประพฤติ มีระบบเครือญาติที่แน่นแฟ้น เอื้อเฟื้ออาทรต่อกัน เลื่อมใสในพุทธศาสนา รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในรอบปี สั่งสมภูมิปัญญาสืบทอดกันมา การทำสวนมีลักษณะเฉพาะคือยกร่อง และทำสวนผสม มีทั้งสวนไม้ผล สวนผัก และสวนไม้ดอกไม้ประดับ สวนฝั่งธนบุรีมีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นถิ่นกำเนิดพันธุ์ไม้ผลชั้นดี วิถีชีวิตของชาวสวนได้รับผลกระทบมากจากปัญหาน้ำท่วม น้ำเค็ม น้ำเสีย และปัญหาการขยายตัวเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยมิได้คำนึงถึงมิติด้านสังคมและวัฒนธรรม พื้นที่สวนลดลงทุกที ชุมชนชาวสวนที่เคยพึ่งตนเองได้กลับอ่อนแอลง มีการละทิ้งถิ่นไปทำสวนในจังหวัดต่างๆ โดยใช้ภูมิปัญญาเดิม ช่วงนี้จึงเป็นรอยต่อที่สำคัญในการสืบทอดและพัฒนาทางวัฒนธรรม เพื่อพลิกฟื้นชุมชนให้ดำรงอยู่ได้ต่อไป ในการสืบทอดวัฒนธรรมพบว่า การศึกษาตามอัธยาศัยมีบทบาทสำคัญที่สุด เป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่เกิดขึ้นภายในชุมชนชาวสวนสืบต่อกันมา แต่ปัจจุบันบทบาทนี้ลดน้อยลงมากจนกระทั่งขาดผู้สืบทอด ชาวสวนซึ่งมีอายุ 45 ปีขึ้นไป อาจจะเป็นรุ่นสุดท้ายที่ยึดอาชีพนี้ การจัดการศึกษานอกระบบมีหลักสูตรที่เอื้อต่อการสืบทอด แต่การนำหลักสูตรไปใช้ยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวสวน บางหน่วยงานของรัฐใช้แนวคิดใหม่ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชาวสวน โดยอาศัยกระบวนการกลุ่ม ส่วนการศึกษาในระบบตั้งแต่ในอดีต เอื้อต่อการสืบทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตร แต่ผู้สืบทอดอาชีพนี้มีน้อยลง และในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวสวนเท่าที่ควร แต่มีแนวโน้มที่ดีที่จะเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชาวสวนมากยิ่งขึ้น ในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาปี 2546 ในการพัฒนาทางวัฒนธรรมเพื่อให้ชุมชนชาวสวนดำรงอยู่ได้ ทุกฝ่ายจำเป็นต้องร่วมมือกันจัดการศึกษาคือ 1) กลุ่มชาวสวน สร้างบันทึกชาวสวนและจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตน 2) กลุ่มโรงเรียน สร้างหลักสูตรสถานศึกษาและจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนานักเรียน 3) เครือข่ายการเรียนรู้ เชื่อมประสานกลุ่มทั้งสองในการแสวงหาความรู้และรังสรรค์ความรู้ใหม่ และชุมชนชาวสวนควรจัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรม ชาวสวนฝั่งธนบุรี” ขึ้น เพื่อเป็นแม่ข่ายประสานงาน เป็นแหล่งรวมวิทยาการ และเผยแพร่ความรู้อย่างต่อเนื่อง | en |
dc.description.abstractalternative | To study the Thon Buri orchardists' culture, to analyze their cultural transmission in informal, formal and non-formal education, and to present the roles of education in cultural transmission in their community. The field areas covered are Bang Ramat and Bang Mot, respectively in Taling Chan and Chom Thong Districts, Bangkok. The research method employed consists of four stages (1) documentary study (2) oral history (3) field study (conducted through observation, individual and group interviews, and focus group discussions) and (4) critical appraisal and approval by education experts. It was found that Thon Buri orchardists' culture indeed represents the age-old social heritage of Thai people. They lead a simple way of life, adhere to traditions and customs, have closely-knit extended family systems, are generous and mutually supportive, observe annual rituals and ceremonies, are devout Buddhists, and hand down their local wisdom from generation to generation. In orchard farming, orchardists use specific methods of making ridges and integrated farming. Orchards in Thon Buri are original sources of fruit trees. However, big floods and urban development have caused much damage to the farms and thus discouraged orchardists from their occupation. Some of the orchardists have abandoned their farms altogether, while others have relocated to new orchards in other provinces. As a result, the Thon Buri orchardists' community has been weakened, which poses a threat to the survival of this unique culture. To counter this tendency, serious measures need to be implemented with a view to the sustained development of the culture. The study also found that informal education plays the most important role in Thon Buri orchardists' cultural transmission. With its decreasing role, however, there is a growing concern that orchardists of 45 years of age or older might eventually be the last generation of recipients of their culture. Although non-formal education has focused on the application of knowledge and local wisdom, the implementation of the curriculum is not in line with the orchardists' way of life. Group dynamics are the principal method employed by the Thai government to transfer innovative farming techniques. As far as formal education is concerned, a positive trend is indicated, as the new curriculum in the year 2003 is partially based on local wisdom. To sustain the Thon Buri orchardists' community, it is necessary that all parties concerned collaborate in educating people and promoting cultural development. The strategic plan for educational development is proposed as follows (1) Orchardists document their culture, and organize learning activities to actualize their own potentials (2) School groups design their own curriculum for their own students in each group (3) All existing learning networks should be linked to promote cooperation between orchardists and school groups with a view to generating new knowledge and techniques. The establishment of an orchardists' community center is thus called for to serve as a liaison for coordination and cultural promotion. | en |
dc.format.extent | 7993140 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.252 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วัฒนธรรม | en |
dc.subject | ชาวสวน | en |
dc.subject | วัฒนธรรมชุมชน | en |
dc.title | บทบาทการศึกษาในการสืบทอดและพัฒนาทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาวัฒนธรรมชาวสวนฝั่งธนบุรี | en |
dc.title.alternative | The roles of education in cultural transmission and development : a case study of Thon Buri orchardists' culture | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | พัฒนศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kanniga.S@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Siraporn.N@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2002.252 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PorntipAn.pdf | 7.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.