Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10635
Title: | การพัฒนาผนังอาคารด้วยวัสดุธรรมชาติพื้นถิ่นเพื่อปรับปรุงสภาวะน่าสบายในอาคาร : กรณีศึกษาอาคารเรียนไม่ปรับอากาศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย |
Other Titles: | A development of building thermal wall from local natural materials to improve thermal comfort in buildings : case study non-air conditioned study room northerastern region, Thailand |
Authors: | ชูพงษ์ ทองคำสมุทร |
Advisors: | วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ สุนทร บุญญาธิการ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vorasun.B@Chula.ac.th, vorasun@gmail.com soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th |
Subjects: | ผนัง อาคารเรียน วัสดุธรรมชาติ ความร้อน -- การถ่ายเท |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | "การออกแบบโรงเรียนต้นแบบไม่ปรับอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย" โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำวัสดุธรรมชาติพื้นถิ่นมาใช้ในส่วนของผนังเพื่อปรับปรุงสภาวะน่าสบายในอาคาร ซึ่งวัสดุที่นำมาศึกษาได้แก่ แกลบ, ฟางข้าว, ดินลูกรัง, ดินเหนียว, และ ทราย โดยขั้นต้นจะเป็นการศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานของวัสดุเรื่องพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อน ต่อมาเป็นการศึกษาเรื่อง การประกอบกันของวัสดุพื้นฐาน และขั้นสุดท้ายเป็นการศึกษาเรื่องผนังประกอบโดยการนำไปประยุกต์ใช้ในอาคารจำลอง จากการศึกษาพบว่า ระบบผนังที่ดีนั้นต้องมีความสามารถที่จะป้องกัน และหน่วงเหนี่ยวความร้อนที่จะเข้าสู่อาคารได้ดี โดยวัสดุที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนนั้นมักจะเป็นวัสดุที่มีความหนาแน่นต่ำ และมีความเป็นฉนวนสูง ส่วนวัสดุที่มีคุณสมบัติในการหน่วงเหนี่ยวความร้อนมักจะเป็นวัสดุที่มีความหนาแน่นสูง ในการวิจัยส่วนที่เป็นวัสดุฉนวนนั้น ใช้แกลบเชื่อมประสานด้วยกาวแป้งข้าวเหนี่ยวและปูนขาวความหนาแน่น 3 ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต เมื่อนำมาใช้ในเซลทดลองพบว่า ผนังแกลบมีค่าอุณหภูมิภายในเซลทดลองมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ย 4.5 องศาเซลเซียส ส่วนวัสดุความหนาแน่นสูงนั้น จะใช้ผนังอิฐดินซีเมนต์ ความหนาแน่น 88 ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต เมื่อนำมาใช้ในเซลทดลองพบว่า อุณหภูมิภายในเซลทดลองมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 3 องศาเซลเซียส และมีระยะเวลาในการหน่วงเหนี่ยวความร้อน 4 ชั่วโมงครึ่ง ในการประกอบกันของวัสดุทั้งสองส่วนเป็นระบบผนังใหม่นั้นจะเป็นการใช้วัสดุฉนวนจากแกลบอยู่ภายนอก วัสดุความหนาแน่นสูงจากอิฐดินซีเมนต์อยู่ภายใน เว้นช่องว่างอากาศตรงกลางเพื่อลดความรุนแรงของสภาพอากาศ เมื่อนำมาใช้ในเซลทดลองพบว่า อุณหภูมิในเซลทดลองมีค่าต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยประมาณ 6.5 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการหน่วงเหนี่ยวความร้อน 6 ชั่วโมงครึ่ง การวิจัยนี้นำไปประยุกต์ใช้กับการก่อสร้างในส่วนผนังอาคารจำลอง โดยอุณหภูมิผิวภายในอาคารที่วัดได้มีค่าคงที่อยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในอาคารจำลองมีค่าประมาณ 26 องศาเซลเซียสต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยประมาณ 6.5 องศาเซลเซียสและมีระยะเวลาในการหน่วงเหนี่ยวความร้อนประมาณ 8 ชั่วโมงซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันและหน่วงเหนี่ยวความร้อนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี สามารถที่จะพัฒนาให้เข้าสู่สภาวะน่าสบายได้ |
Other Abstract: | "Northeastern Elementary School Design in Thailand" as a main theme. The objectives are improve thermal comfort through the use of local natural meterials for the construction of a thermal wall. Materials that were studied include rice husks, hay, rough dirt, clay and sand. First, their basic properties in thermal performnce were examine to see how well their thermal performance. Next, they were tested as composite wall with basic materials. Finally, they were study in a composite wall by applying with in sumulation model. From the study showed that a well wall system can protect heat easily and has an ability of time lag. The material has a heat protection property usualy has low density and high insulation. And the material that as a time lag property, mostly at high density. To study the wall as an low packed density insulation, the rice husk packed at 3. pounds/cubic foot along withsticky rice glue mixed with lime were used. When tested the rice husks wall in the test cell, the inside temperature is lower than the air temperature about 4.5 degree Cecuis. For high packed density, soil cement blocks with a density of 88 pounds/cubic foot were used. And the temperature inside test cell is lower than the mean temperature approximately 3.5 degree Celcius with and ability of 4 hours time lag. By composed both wall into a new composite wall system using natural material from rice husks, packed on the outside and 2 inches air space in the middle. And the soil cement blocks were used inside the wall for time lag. The result showed that the test cell temperature is lower than mean aor temperature approximately 6.5 degree Celcius and 6 hours for time lag. This research is applied in simulation model wall, which then has a temperature of approximately 25 degree Celcius, the room temperature is 26 degree Celcius, lower than mean air temperature appoximately 6.5 degree Celcius with an ability of 8 hours time lag. This results have a good petential in heat protection and time lag, which can be developed to comfort zone. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10635 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.76 |
ISBN: | 9741705549 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.76 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Choopong.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.