Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10678
Title: การวิเคราะห์ความคล้ายของการไหลแบบราบเรียบของเจ็ต ที่หมุนควงในกระแสลมตามที่ไม่หมุนควง
Other Titles: Similarity analysis of swirling laminar jet in nonswirling coflow
Authors: สุเมธ ไตรภพสกุล
Advisors: อศิ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Asi.B@Chula.ac.th
Subjects: เจ็ต -- พลศาสตร์ของไหล
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาคุณลักษณะของเจ็ตที่หมุนควงในกระแสลมตามที่ไม่หมุนควง โดยศึกษาถึงผลมาจากการหมุนควงและกระแสลมตามที่มีต่อเจ็ต ในการศึกษาได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ซิมิลาริตี้โดยกำหนดให้ u = umf(eta)+u1 และ w = wmg(eta) เพื่อใช้ในการเปลี่ยนรูประบบสมการจากระบบสมการเชิงอนุพันธ์ย่อย เป็นระบบสมการเชิงอนุพันธ์สามัญและแก้สมการโดยใช้ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข และคำนวณหารูปร่างการกระจายตัวของความเร็วและความดัน รวมทั้งความหนาและการลดลงของความเร็วเจ็ต ในการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 3 กรณีตามสมมติฐานของระดับการหมุนควงที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ 1) ไม่หมุนควง 2) ระดับการหมุนควงต่ำ และ 3) ระดับการหมุนควงใดๆ ซึ่งระบุโดยค่าอัตราส่วนความเร็วตามแนวสัมผัสต่อความเร็วตามแนวแกน (Sr=wm/um) ในแต่ละกรณียังได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 กรณีย่อยตามสมมติฐานของระดับความเร็วของกระแสลมตามคือ 1) ไม่มีกระแสลมตาม (u1=0) 2) กระแสลมตามมีความเร็วมากกว่าความเร็วเจ็ตมาก (u1>>um) และ 3) กระแสลมตามที่มีความเร็วใดๆ ซึ่งระบุโดยค่าอัตราส่วนความเร็วกระแสลมตามต่อความเร็วส่วนเกินเจ็ต (Vr=u1/um) จากผลการศึกษาเจ็ตที่ไม่หมุนควง พบว่ารูปร่างการกระจายตัวความเร็ว ตามแนวแกนเจ็ตจะคล้ายแบบ Gaussian โดยจะมีการกระจายตัวที่แคบลงหรือเจ็ตบางลงเมื่อความเร็วของกระแสลมตามหรือ Vr เพิ่มขึ้น สาเหตุเนื่องจากเมื่อ Vr เพิ่มขึ้น การถ่ายเทโมเมนตัมตามแนวแกน x โดยการพาจะมากขึ้นเมื่อเทียบกับตามแนวแกน r หรืออีกนัยหนึ่ง ในขณะที่อากาศภายนอกหยุดนิ่งนั้นเจ็ตจะมีความเร็วแตกต่างจาก ความเร็วอากาศภายนอกจึงทำให้เกิดเป็น Shear layer ขึ้น แต่เมื่อมีกระแสลมตามจะทำให้ผลต่างของความเร็วเจ็ต กับความเร็วอากาศภายนอกมีค่าลดลง ดังนั้น Shear layer ที่เกิดขึ้นจึงมีกำลังลดลง ทำให้ความหนาเจ็ตลดลง จากผลการศึกษาเจ็ตที่ระดับการหมุนควงต่ำ พบว่ารูปร่างการกระจายตัวความเร็วตามแนวแกน จะมีลักษณะเช่นเดียวกับในกรณีเจ็ตที่ไม่หมุนควง ส่วนรูปร่างการกระจายตัวความเร็วตามแนวสัมผัสพบว่ามีลักษณะของ Rankine vortex โดยรูปร่างการกระจายตัวความเร็วตามแนวสัมผัสจะแคบลง เมื่อความเร็วกระแสลมตามเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาค่าผลต่างความดันไร้มิติ ((P(infinity)-p)/pw(2)(m)) บริเวณแกนเจ็ตพบว่ามีค่าคงที่ที่เป็นบวก แต่เนื่องจากความเร็วตามแนวสัมผัส มีการลดลงในลักษณะ wm varies as x(-2) ดังนั้นค่าผลต่างความดัน (p(infinity)-p) จึงมีค่าลงลงในอัตราที่เท่ากัน หรืออีกนัยหนึ่ง ความดันมีค่าเพิ่มขึ้นตามแนวแกนเจ็ต จึงทำให้เกิด Adverse pressure gradient ตามแนวแกนเจ็ตขึ้น จากผลการศึกษากรณีเจ็ตที่หมุนควงโดยเปลี่ยนแปลงค่า Sr ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น การคำนวณโดยใช้เงื่อนไขสมการอินทิกรัลโมเมนตัมเชิงเส้นและสมการอินทิกรัลโมเมนตัมเชิงมุม โดยในกรณี u1 =0 เมื่อใช้เงื่อนไขสมการอินทิกัลโมเมนตัมเชิงเส้น พบว่ารูปร่างกระจายตัวความเร็วตามแนวแกนมีการกระจายคล้ายแบบ Gaussian ที่มีความกว้างเพิ่มขึ้นเมื่อ Sr มีค่าเพิ่มขึ้น และที่ Sr สูงนั้นพบว่าตำแหน่งที่เกิดความเร็วตามแนวแกนสูงสุดจะเบี่ยงเบนออกจากแกนเจ็ต ทำให้เกิดเป็น Wake component ที่บริเวณแกนเจ็ต สำหรับรูปร่างการกระจายตัวความเร็วตามแนวสัมผัสจะมีลักษระของ Rankine vortex ที่แคบลงเมื่อ Sr มีค่าเพิ่มขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อ Sr เพิ่มขึ้นทำให้แกนของ vortex รัดตัวแน่นขึ้น แต่เมื่อใช้เงื่อนไขสมการอินทิกรัลโมเมนตัมเชิงมุมกลับพบว่าผลที่ได้มีลักษณะแตกต่างจากผลการคำนวณโดยใช้เงื่อนไขจากสมการอินทิกรัลโมเมนตัมเชิงเส้น สำหรับกรณีเจ็ตที่หมุนควงในกระแสลมตามโดยเปลี่ยนแปลงค่า Sr และ Vr ในกรณีที่ใช้เงื่อนไขสมการอินทิกรัลโมเมนตัมเชิงเส้น พบว่าเมื่อ Sr เพิ่มขึ้นจะทำให้เจ็ดมีการกระจายตัวเพิ่มขึ้นหรือเจ็ดหนาขึ้น แต่เมื่อ Vr เพิ่มขึ้นการกระจายตัวของเจ็ตจะลดลงหรือเจ็ตจะบางลง หรืออีกนัยหนึ่ง การหมุนควงและกระแสลมตามจะมีผลต่อการกระจายตัวของเจ็ตในทิศทางตรงข้ามกัน นอกจากนี้ยังพบว่า Sr ต่ำ เมื่อค่า Vr มีค่าสูงขึ้นกระแสลมตามจะมีผลต่อการกระจายตัวของเจ็ตมากกว่าผลจากการหมุนควง ดังนั้นจึงทำให้เจ็ตมีคุณลักษณะคล้ายเจ็ตที่ไม่หมุนควง สำหรับกรณีที่คำนวณโดยใช้เงื่อนไขจากสมการอินทิกรัลโมเมนตัมเชิงมุม พบว่าผลที่ได้มีลักษณะแตกต่างจากผลการคำนวณโดยใช้เงื่อนไขจากสมการอินทิกรัลโมเมนตัมเชิงเส้น
Other Abstract: Effects of swirl and coflow on the characteristics of swirling jet in nonswirling coflow were investigated. Similarity anslysis with similarity transformations u = um f(eta)+u1 and w = wm g(eta) was used in order to transform the system of governing partial differential equations (PDE) into the system of ordinary differential equations (ODE). The system of ODE was then solved numerically for velocity and pressure profiles, and for growth and velocity decay rates. The analysis was performed for 3 cases according to the assumption regardng swirl 1) no swirl, 2) weak swirl, and 3) any swirl, as specified by the ratio between the tangential velocity and the axial velocity (Sr = wm/um). Each case is further analyzed for another 3 subcases according to the assumption regarding coflow: 1) no coflow (u1 = 0), 2) strong coflow (u1>>um), and 3) any coflow, as specified by the ratio between the coflow velocity and the jet excess velocity (Vr = u1/um). The results for nonswirling jet showed that the axial velocity profile was similar to Gaussian curve, which became narrower as Vr increased. This was due to the relative increase of the convection of x-momentum along the axial direction as opposed to that along the radial direction as Vr increased. From another viewpoint, the velocity difference between the jet and the coflow induced shear layer. As a result, when the coflow velocity increased, the velocity difference decreased, causing a reduction in strength of the shear layer and, consequently, the thickness of the jet. The results for weak swirling jet showed that the axial velocity profile was similar to that of nonswirling jet and the tangential velocity profile was Rankine-vortex-like. In addition, the tangential velocity profile became narrower as the coflow velocity increased. Furthermore, the dimensionless pressure difference ((p(infinity)-p)/pw(2)(m)) on the jet axis was found to be a positive constant. Since the tangential velocity wm decreased as x(-2), (p(infinity)-p) decreased at the same rate. This implied that the pressure along the jet axis increased in the downstream direction, creating an adverse pressure gradient along the jet axis. In the analysis for general swirling jet, two integral constraints: linear momentum and angular momentum constraints, were alternately used. In case of no coflow with linear integral momentum constraint, the axial velocity profile was similar to Gaussian curve, which became wider as Sr increased. At high Sr, the position of the maximum axial velocity deviated from the jet axis, resulting in a wake component at the center. In addition, the tangential velocity profile was similar to Rankine-vortex, which became narrower as Sr increased. In other words, increasing of Sr intensified the vortex core. When the angular momentum constraint was used, the solution differed from that of the linear momentum constraint. In the case of general coflow (Vr), the results for linear momentum constraint indicated that, as Sr increased, the growth rate of the jet increased. On the contrary, as Vr increased, the growth rate of the jet decreased. In other words, swirl and coflow had counter effect. Furthermore, at low Sr, as Vr increased, the coflow became more influential on the growth rate of the jet than the swirl. As a result, the characteristics of the jet became similar to nonswirling jet. When the angular momentum constraint was used in this case, the solution differed from that of the linear momentum constraint.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10678
ISBN: 9740312977
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumeth.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.