Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1075
Title: | การเล่าเรื่องของภาพยนตร์ตลกไทยยอดนิยมชุด "บุญชู" กับการสร้างสรรค์ของผู้กำกับภาพยนตร์ |
Other Titles: | The narrative of Thai Popular comedy film series "Boonchoo" and the director's creative approaches |
Authors: | มาโนช ชุ่มเมืองปัก, 2521- |
Advisors: | สุภาพร โพธิ์แก้ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Supaporn.Ph@chula.ac.th |
Subjects: | ภาพยนตร์ไทย บทภาพยนตร์ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ตลกไทยยอดนิยมชุด "บุญชู" จำนวน 6 ภาค และแนวทางการสร้างสรรค์ของบัณฑิตฤทธิ์ถกล ผู้กำกับภาพยนตร์ ซึ่งถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสูงสุดในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ชุดนี้ ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ชุด "บุญชู" เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยแนวทางการทำภาพยนตร์เอาใจตลาดผสมผสานกับแนวทางการทำภาพยนตร์คุณภาพ กล่าวคือ มีการนำเสนอที่เน้นความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่มีความเข้มข้นของการดำเนินเรื่องจากความชำนาญของผู้กำกับภาพยนตร์ในฐานะมือเขียนบทคุณภาพ โดยใช้สูตรการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์ชีวิต (drama) ผสมผสานกับรสชาติที่ครบรสแบบไทยๆ และการสร้างอารมณ์ขันที่หลากหลาย ทั้งด้วยบทภาพยนตร์ เทคนิคทางภาพยนตร์ และองค์ประกอบทางการแสดงของนักแสดง อาทิ อารมณ์ขันแบบเอะอะมะเทิ่ง อารมณ์ขันจากโครงเรื่องและตัวละคร จนถึงอารมณ์ขันจากคำพูดและความคิดเชิงเสียดสี แม้ภาพยนตร์จะนำด้วยอารมณ์ขัน แต่ก็มีการสอดแทรกสาระทางความคิดและนำประเด็นปัญหาสังคมต่างๆ มานำเสนอในเนื้อเรื่อง ซึ่งปัญหาต่างๆ นั้นก็มักเป็นเรื่องราวใกล้ตัวและสอดคล้องกับสิ่งที่พบเห็นได้โดยทั่วไปในสังคมไทยขณะนั้น โดยเฉพาะในส่วนของแก่นความคิดหลัก ซึ่งเป็นการพูดถึงความมีน้ำใจที่ขาดหายไปจากสังคม ในแง่ของความเป็นภาพยนตร์ภาคต่อ ภาพยนตร์ชุดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับละครชุด (TV drama series) กล่าวคือ มีการใช้ตัวละครหลักชุดเดิมที่เติบโตไปตามวัฎจักรชีวิตจริง โดยมีสถานการณ์และประเด็นปัญหาใหม่ๆ เกิดขึ้นในแต่ละตอน แนวทางที่สำคัญในการสร้างสรรค์ภาคต่อก็คือ การรักษาดุลภาพระหว่างการคงสิ่งที่คนดูคุ้นเคยจากภาคก่อนๆ เอาไว้ส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันก็มีการปรับและเสิรมสิ่งใหม่ๆ เข้าในภาพยนตร์ภาคต่อด้วยเสมอ |
Other Abstract: | This quality research aims to study the narrative of a Thai six-part comedy film series "Boonchoo" and the creative approaches employed by film director Bhandit Rittakol who is chiefly responsible for the creation of the series. It is found that the "Boonchoo" series are the product of quality production that tries to be the box office hit at the same time. Although the presentation is simple, the development of the stories, skillfully written and directed by the director, is meaningful. While the style of the narrative is drama, various senses of humor are added to the plots by means of film script, film techniques and the performers. Good examples can be seen in the use of slapstick, situations in the stories and the characters. Despite being comedy, some social problems and serious matters are also incorporated into the main stories. The issues introduced are common at the time. In particular, the core concept is about philanthropy that is scarce in present Thai society. This film series are similar to television drama series in that the main characters still remain in the subsequent episodes while new situations and problems are introduced. The major approach is to maintain the balance between those elements already familiar to the audience and the introduction and modification of the new elements. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1075 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1315 |
ISBN: | 9741763085 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.1315 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Manoch.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.