Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/107
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบผลของวัสดุเอ็มทีเอกับวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินต่อเซลล์เพาะเลี้ยงจากเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย |
Other Titles: | The comparative effect of MTA and RMGIC on human periodontal ligament cells, in vitro |
Authors: | อุทัยวรรณ อารยะตระกูลลิขิต, 2516- |
Advisors: | สมสินี พิมพ์ขาวขำ ทัศนีย์ ยงชัยตระกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Somsinee.P@chula.ac.th |
Subjects: | เรซินทางทันตกรรม ทันตวัสดุ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของวัสดุเอ็มทีเอกับวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน ต่อเซลล์เพาะเลี้ยงจากเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ โดยนำสารละลายสกัดของวัสดุทั้งสองชนิดที่มีอัตราส่วนความเข้มข้นของสารละลายสกัดของวัสดุต่ออาหารเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากซีรัมเท่ากับ 1:0, 1:1, 1:2, 1:4 และ 1:8 ไปวัดอัตราการเพิ่มจำนวนเซลล์ด้วยวิธีการย้อมเซลล์ด้วยสีเมธิลีนบลูที่ระยะเวลา 48 และ 72 ชั่วโมง และวัดค่าการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตสที่ระยะเวลา 24, 72 และ 120 ชั่วโมงผลการทดลองวัดอัตราการเพิ่มจำนวนเซลล์ พบว่าวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินในกลุ่มที่มีอัตราส่วนความเข้มข้นเท่ากับ 1:1, 1:2, 1:4 และ 1:8 มีผลทำให้เซลล์มีอัตราการเพิ่มจำนวนเซลล์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมลบ ขณะที่ในวัสดุเอ็มทีเอพบว่าเฉพาะในกลุ่มที่มีอัตราส่วนความเข้มข้นเท่ากับ 1:8 ที่มีผลทำให้เซลล์มีอัตราการเพิ่มจำนวนเซลล์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมลบ ส่วนผลการวัดค่าการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส พบว่าในวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินในทุกกลุ่มความเข้มข้น ทำให้ค่าการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตสลดต่ำลงที่ระยะเวลา 72 และ 120 ชั่วโมง ส่วนในวัสดุเอ็มทีเอพบว่าในกลุ่มที่มีความเข้มข้น 1:8 ทำให้ค่าการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตสลดต่ำลงที่ระยะเวลา 24, 72 และ 120 ชั่วโมง โดยสรุปพบว่าวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน ทำให้เกิดการตอบสนองของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ในทางบวกมากกว่าวัสดุเอ็มทีเอ |
Other Abstract: | The purpose of this in vitro study was to compare the effect of MTA with RMGIC on human periodontal ligament cells. Proliferation assay was performed by using colorimetric assay at 48 and 72 hours and alkaline phosphatase activity was determined by using biochemical assay at 24, 72 and 120 hours. Both materials were fabricated and eluated with serum free medium for 24 hours. Cells were treated with different concentrations of eluated materials per fresh medium with the ratio of 1:0, 1:1, 1:2, 1:4, and 1:8. One way ANOVA and Tukey's test (p<0.05) were used to detect differences between the treatment and the control groups. The proliferation assay showed that all concentrations of RMGIC and 1:8 concentration of MTA significantly stimulated PDL cell proliferation at 48 and 72 hours. All concentrations of RMGIC significantly decreased alkaline phosphatase activity at 72 and 120 hours. However, only 1:8 concentration of MTA significantly decreased alkaline phosphatase activity at 24, 72 and 120 hours. Therefore, the result of this study showed that RMGIC has more favorable cellular response than MTA in term of cellular proliferation. In contrast , MTA has more favorable cellular response than RMGIC in term of alkaline phosphatase activity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาเอ็นโดดอนต์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/107 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.588 |
ISBN: | 9741724276 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.588 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Uthaiwan.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.