Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10867
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์-
dc.contributor.advisorเผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์-
dc.contributor.authorปราณี วัฒนาวรสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-09-01T07:23:15Z-
dc.date.available2009-09-01T07:23:15Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741730551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10867-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractHolothuria atra และ H. leucospilota เป็นปลิงทะเลสองชนิดที่พบได้ตามชายฝั่งทะเลและแนวปะการังบางพื้นที่ของจังหวัดชลบุรีและระยอง ปลิงทะเลทั้งสองชนิดมีการกระจายตัวในลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัยต่างกัน โดยจะพบ H. atra ในบริเวณพื้นตะกอนที่เป็นทรายและบริเวณแนวปะการังซึ่งมักเป็นบริเวณที่ห่างจากฝั่งที่ไกลจากกิจกรรมมนุษย์และอิทธิพลของน้ำจืดจากแม่น้ำ ส่วนปลิงทะเล H. leucospilota พบได้บริเวณที่พื้นเป็นทราย พื้นทรายปนกรวด หาดหิน พื้นทรายในแนวปะการังและนอกแนวปะการังเอง ผลการศึกษาการตอบสนองทางสรีรวิทยาของปลิงทะเลต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็ม 4 ระดับ คือ 15 20 25 และ 30 psu โดยติดตามอัตราการกินอาหาร อัตราการหายใจและอัตราการขับถ่าย การเปลี่ยนแปลงความเค็มมีผลต่อการกินอาหารของปลิงทะเลทั้งสองชนิด โดย H. atra ไม่กินอาหารที่ระดับความเค็ม 15 psu ในขณะที่ H. leucospilota มีอัตราการกินต่ำที่ระดับความเค็มเดียวกันนี้ การเปลี่ยนแปลงความเค็มไม่แสดงผลที่ชัดเจนต่ออัตราการหายใจของปลิงทะเล H. atra แต่พบว่าปลิงทะเล H. leucospilota ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็ม โดยมีอัตราการหายใจในช่วงเวลาต่างๆที่ความเค็ม 15 20 และ 30 psu มีค่าต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลของการเปลี่ยนแปลงความเค็มต่ออัตราการขับถ่ายของปลิงทะเลที่ระดับความเค็มต่างๆ ของปลิงทะเลทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีอัตราการขับถ่ายต่ำที่สุดที่ความเค็ม 15 psu เมื่อพิจารณาภาพรวมของการตอบสนองทางสรีรวิทยาของปลิงทะเลทั้งสองชนิดต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มโดยค่าขอบเขตการเติบโตและอัตราการใช้ออกซิเจนต่อไนโตรเจนแสดงให้เห็นว่าระดับความเค็มต่ำมีผลต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาของปลิงทะเล ปลิงทะเล H. atra แสดงผลการตอบสนองโดยการสงวนพลังงานในการขับถ่ายในขณะที่ปลิงทะเล H. leucospilota มีการปรับตัวโดยใช้พลังงานในการหายใจและการขับถ่ายเพิ่มขึ้นที่ระดับความเค็ม 20 และ 25 psu แต่ที่ระดับความเค็ม 15 psu ปลิงทะเลชนิดนี้ก็มีการสงวนพลังงานในการขับถ่ายเช่นกัน ผลการศึกษาประสิทธิภาพการดูดซึมอินทรีย์สารในตะกอนที่มีองค์ประกอบของทรายและทรายแป้งตลอดจนปริมาณอินทรีย์สารต่างกัน 3 ระดับ คือตะกอนที่มีอัตราส่วนทรายต่อทรายแป้งเป็นตะกอนอัตราส่วน 0:1 ปริมาณอินทรีย์สารร้อยละ 22.37ตะกอนที่มีอัตราส่วนทรายต่อทรายแป้งเป็น 1:1 ปริมาณอินทรีย์สารร้อยละ 8.94และตะกอนที่มีอัตราส่วนทรายต่อทรายแป้งเป็น 1:2 ปริมาณอินทรีย์สารร้อยละ 13.41 พบว่าปลิงทะเล H. atra มีอัตราการกินตะกอนและประสิทธิภาพการดูดซึมอินทรีย์สารต่างกันตามลักษณะองค์ประกอบตะกอน โดยมีอัตราการกินตะกอนสูงสุดที่ตะกอนอัตราส่วน 1:1และประสิทธิภาพการดูดซึมอินทรีย์สารสูงสุดที่ตะกอนอัตราส่วน 0:1 ปลิงทะเล H.leucospilota มีอัตราการกินตะกอนที่อัตราส่วนต่างๆ ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ประสิทธิภาพการดูดซึมอินทรีย์สารสูงสุดที่ตะกอนอัตราส่วน 0:1 การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบตะกอนของปลิงทะเลทั้งสองชนิดนี้ พบว่าตะกอนที่มีอัตราส่วนของทรายสูง อัตราการกิจอาหารของปลิงทะเลจะสูงแต่ประสิทธิภาพต่ำและในทางตรงกันข้ามปลิงทะเลจะมีอัตราการกินอาหารต่ำในตะกอนที่มีปริมาณอินทรีย์สารสูง ซึ่งปลิงทะเลจะมีประสิทธิภาพการดูดซึมสูง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงความเค็มและองค์ประกอบตะกอนส่งผลกระทบต่อปลิงทะเลทั้งสองชนิดทำให้มีขีดจำกัดในการปรับตัวทางสรีรวิทยาen
dc.description.abstractalternativeHolothuria atra and H. leucospilota are two most dominant holothurians in the coral reefs and coastline of Chonburi and Rayong provinces. These holothurians were found distributed in different microhabitats. H. atra was common in the sandy beaches and reefs further from shores far from human activities and freshwater influences. While H. leucospilota occupied the sandy beaches, rocky shores, sandy beaches within the reefs and coral reefs.Physiological responses in Holothurians to changes in salinity at 15 20 25 and 30 psu were intigated in term of feeding, respiration and excretion rates. Salinities changes affected the feeding rates of these holothurians. H. atra would stop feeding at low salinity of 15 psu while H. leucospilota showed the lowest feeding rate at this same salinity. Salinity changes did not showed pronounced effects on the respiration of H. atra. The average respiration rates of H. leucospilota in difference salinity were not significantly different. However this species did showed variation in respiration rates at different time intervals at salinity of 15 20 and 30 psu. Excretory rates in two holothurians were altered by salinity. The average excretory rates in both holothurians were lowest in salinity of 15 psu. But H. atra showed variations in the excretion rates at different time intervals in each salinity. H. leucospilota did not showed the same responses. In conclusion, the physiological responses in holothurians to changes in salinity in terms of Scope for growth and O:N ratio showed that low salinity induced physiological stresses. H. atra would conserved its energy by reduced excretion. While H. leucospilota tried to compensate through respiration and excretion at the salinity of 20 and 25 psu. This species also showed the same physiological responses as H. atra at the salinity of 15 psu The absorption efficiency of organic contents in holothurians were investigated in 3 different sediment compositions, namely sediment with sand:silt of 0:1 with organic content of 22.37%, sediment with sand:silt of 1:1 with organic content of 8.94% and sediment with sand:silt of 1:2 with organic content of 13.41%. The feeding rate and absorption efficiency in H. atra varied according to sediment composition. The highest feeding rate in H. atra was observed in the sediment with sand:silt of 1:1, while the highest absorption effienciency was observed in the sediment with sand:silt of 0:1. These two holothurians showed the increase feeding rates in the sediment with more sand but with low absorption efficiency. In contrast, these holothurians showed low feeding rates in fine sediment but with high absorption effiency of organic contents. This study revealed that changes in salinity sediment composition due to the environment change would affected the physiological condition of the two holothurians.en
dc.format.extent1539047 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปลิงen
dc.titleการตอบสนองทางสรีรวิทยาของปลิงทะเลต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มและองค์ประกอบตะกอนen
dc.title.alternativePhysiological responses in holothurians to changes in salinity and sediment compositionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisornitthar@sc.chula.ac.th-
dc.email.advisorpaderm@sc.chula.ac.th, Padermsak.J@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prenee.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.