Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10869
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พูนสุข บุณย์สวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | ผ่องพรรณ เอกอาวุธ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคเหนือ) | - |
dc.date.accessioned | 2009-09-01T07:34:50Z | - |
dc.date.available | 2009-09-01T07:34:50Z | - |
dc.date.issued | 2525 | - |
dc.identifier.isbn | 9745610089 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10869 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย พร้อมทั้งเปรียบเทียบพฤติกรรมดังกล่าวระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับนี้ในภาคเหนือ และศึกษาหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนระดับปฐมวัย กับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับนี้ คณะผู้วิจัยได้สร้างแบบสังเกตพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนโดยปรับปรุงมาจากแบบวิเคราะห์พฤติกรรมทางวาจาในการเรียนการสอนที่เรียกว่า FIAC ของแฟลนเดอร์ส (Flanders Interaction Analysis Category) และเพิ่มเติมส่วนที่เป็นพฤติกรรมทางท่าทางทั้งของครูและนักเรียน และสร้างแบบสังเกตุทั้ง 2 ชุดไปใช้กับตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นครูและนักเรียนระดับปฐมวัยในโรงเรียนหรือศูนย์เด็กที่อยู่ในภาคเหนือจำนวน 18 แห่ง แยกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทโรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาลประเภทโรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็ก และประเภทที่จัดแบบศูนย์เด็ก อย่างละ 6 แห่ง 1. พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนระดับปฐมวัยในภาคเหนือ พฤติกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือพฤติกรรมครูบรรยาย อธิบาย สรุป เล่าเรื่อง สาธิต แนะนำ ทั้งทางวาจาและท่าทางพร้อมกัน 2. พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยในภาคเหนือทั้ง 3 รูปแบบ ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน 3. พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัยในภาคเหนือ พฤติกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือการเล่นกับเพื่อนและคุยกับเพื่อน (x รวม = 23.947) 4. พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยในภาคเหนือทั้ง 3 รูปแบบ ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน 5. การศึกษาหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนกับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน ผลปรากฎว่ามีพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กันอยู่ 52 คู่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ของครูที่แสดงความเอาใจใส่ต่อนักเรียนส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนในทางบวก ในทางตรงกันข้ามถ้าพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ของครูแสดงถึงความไม่เอาใจใส่ต่อนักเรียนก็จะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนในทางลบ | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to analyse teacher-pupil interaction and pre-schooler's social behavior, to compare these behaviors among different pre-school education agencies in northern region and to find the relationship between teacher-pupil interaction and pre-schooler's social behavior. The researchers had developed a scale for observing teacher pupil interaction. The developed instrument was modified from the scale for analysing the verbal behavior in the classroom. The latter scale was so-called flanders interaction analysis category. The nonverbal behavior of both teacher and pupil was also added in the developed scale. The scale for observing pre-schooler's social behavior was developed. These two developed scales were applied to the sampling group teachers and pupils in six kindergarten classes, six head-start classes and six child centers in the northern region. The findings showed that 1. The result of classroom observation revealed that in the eighteen pre-primary classes in the northern region, the most frequent observed interaction behavior was teachers' explanation both verbally and non-verbally (x total = 196.608). 2. Teacher-pupil interation comparison among the pre-school education agencies in the northern region in most of all aspects were not different. 3. Pre-schooler's social behavior occured at the highest level was playing and talking to peer. 4. Pre-schooler's social behavior comparison among the pre-school education agencies in the northern region in most of all aspects were not different in all major items except one. 5. The relationship between teacher-pupil interation and pre-schooler's social behavior revealed significant correlation of 52 pairs of behavior. Teachers, warm and attentive behaviors would positively affect pre-schooler's socail behavior. | en |
dc.format.extent | 32419651 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เด็กวัยก่อนเข้าเรียน | en |
dc.subject | ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน | en |
dc.title | พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ครูกับนักเรียนและพฤติกรรมทางสังคม ของนักเรียนระดับปฐมวัย : เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยในภาคเหนือ | en |
dc.title.alternative | Teacher-pupil interaction and pre-schooler's social behavior : a comparison among different pre-school education agencies in the northern region | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประถมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phongphun.pdf | 31.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.