Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10873
Title: ระบบประเมินผลการดำเนินงานสำหรับผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก
Other Titles: Performance evaluation system for motor carriers
Authors: นิภาพร หวังวัชรกุล
Advisors: สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ssompon1@chula.ac.th
Subjects: การประเมินผลงาน
การวัดผลงาน
การขนส่งด้วยรถบรรทุก
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการพัฒนาระบบประเมินผลการดำเนินงาน สำหรับผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ระบบประเมินผลที่เกิดประโยชน์ ต่อการปรับปรุงงานอย่างแท้จริง การศึกษาครั้งนี้จะใช้ตัวอย่างการทำงาน ของศูนย์กระจายสินค้าแห่งหนึ่ง ที่มีรูปแบบการให้บริการด้วยการรวบรวมสินค้าจากแต่ละบริษัทลูกค้า เพื่อไปส่งยังร้านค้าปลายทางทั่วประเทศ การวิจัยได้แบ่งแนวทางในการประเมินผลงานได้ 2 แนวทาง คือ การประเมินประสิทธิผลต่อความต้องการจากภายนอก เพื่อดูผลในภาพรวมว่าศูนย์งานสามารถดำเนินงานได้สอดคล้องกับ ความต้องการจากภายนอกได้หรือไม่ อันได้แก่ความต้องการด้านการเงินและด้านลูกค้า ตัวชี้วัดผลงานจึงพัฒนาจากผลการสัมภาษณ์ เป้าหมายทางธุรกิจของเจ้าของบริษัท และการสัมภาษณ์ปัจจัยที่ลูกค้าให้ความสำคัญ การประเมินประสิทธิภาพการทำงานภายใน เป็นการประเมินผลในรายกิจกรรม เพื่อทราบลักษณะและตำแหน่งของข้อบกพร่องจาการดำเนินงานภายใน การกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานภายใน พิจารณาจากการส่งผลเชื่อมโยงโดยตรง ต่อประสิทธิผลต่อความต้องการภายนอก โดยอาศัยแผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) ศูนย์กระจายสินค้าสามารถวัดผลการทำงานในภาพรวมได้ จากการประเมินผลประสิทธิภาพภายนอก ซึ่งหากมีผลการดำเนินงานในภาพรวมไม่ดี ศูนย์งานก็สามารถทราบได้ว่าควรปรับปรุงงานในกิจกรรมใด โดยอาศัยตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานภายใน ซึ่งจะช่วยให้ปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไจรวดเร็ว ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ และจะส่งผลให้ศูนย์งานประสบผลสำเร็จด้านการเงินตามมา
Other Abstract: To develop a performance evaluation system that is practically useful to motor carriers in identifying effective operational improvements. The case study adopted in this study reprersents the operation at a motor carrier's distribution center that collects goods from various corporate clients and subsequently distributes them to their respective retailers all over the country. The study divides the performance evaluation into two categories (1) The external effectiveness evaluation is concerned with the extent to which the concerned trucking company is able to meet the external requirements from customers, shareholders, and owner. The relevant performance measures are derived from the data obtained from interviewing the company owner on the business goal and the customers on the service attributes considered critical. (2) The internal effciency evaluation attempts to assess the performance of each individual activity to determine the nature and location of problems presently occurred in the existing internal operations. The fishbone diagram is applied to specify the key internal performance indicators that are closely aligned with those external performance measures identified earlier. The distribution center can make use of the external performance evaluation measures to appraise the overall business competency. If the external performance evaluation indicates any problems in fulfilling external demands, the internal evaluation will then be utilized to uncover the exact activities that need improvements. The problems will be resolved effectively and immediately. The proper used of the evaluation system would definitely incease customer satisfaction, resulting eventually in greater financial success.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10873
ISBN: 9741724012
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipaporn.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.