Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1087
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตยา โตควณิชย์-
dc.contributor.authorเข็มทิพย์ ภะรตะศิลปิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-25T06:42:03Z-
dc.date.available2006-07-25T06:42:03Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741759037-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1087-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการนำเสนอภาพบทบาทเพศชายในภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ของสินค้าประเภทต่างๆ (2) ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคต่อบทบาทเพศชาย และภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอภาพบทบาทเพศชาย โดยใช้วิธีการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ (1) การวิเคราะห์เนื้อหาภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ ที่ออกอากาศในช่วงเดือนธันวาคม 2545-พฤศจิกายน 2546 จำนวน 388 ชิ้นงาน เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอภาพบทบาทเพศชาย (2) การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภควัยทำงาน อายุ 22-45 ปี ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เพื่อศึกษาทัศนคติต่อบทบาทเพศชาย และทัศนคติต่อภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอภาพบทบาทเพศชาย ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ภาพยนตร์โฆษณามีการนำเสนอภาพเพศชายในบทบาทตามแบบฉบับ (บทบาทนันทนาการ และบทบาททำงาน) มากกว่าบทบาทที่ไม่เป็นแบบฉบับ (บทบาทครอบครัว และบทบาทวัตถุทางเพศ) เป็นจำนวนถึงเท่าตัว ซึ่งนักโฆษณาส่วนใหญ่นิยมเลือกนำเสนอภาพบทบาทของผู้แสดงเพศชายในภาพยนตร์โฆษณาโดยพิจารณาความเหมาะสมกับประเภทของสินค้า ระดับของสินค้า และกลุ่มเป้าหมายของสินค้าที่โฆษณาเป็นสำคัญ ผลการวิจัยเชิงสำรวจ พบว่า ผู้บริโภคชายและหญิงมีทัศนคติต่อบทบาทเพศชายไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านทัศนคติต่อภาพยนตร์โฆษณา พบว่า ผู้บริโภคที่มีทัศนคติแบบธรรมเนียมนิยม มีทัศนคติต่อภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอภาพเพศชายในบทบาทตามแบบฉบับในเชิงบวกมากกว่าบทบาทที่ไม่เป็นแบบฉบับ ในขณะที่ผู้บริโภคที่มีทัศนคติแบบเสมอภาค มีทัศนคติต่อภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอภาพเพศชายในทุกบทบาทไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการนำเสนอภาพเพศชายในบทบาทวัตถุทางเพศก่อให้เกิดทัศนคติในเชิงลบต่อภาพยนตร์โฆษณา โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีทัศนคติแบบเสมอภาคen
dc.description.abstractalternativeThis research was aimed (1) to investigate the male role portrayals in television commercials (2) to examine consumer's attitude towards male role and male role portrayals in television commercials. Two methodologies were utilized: (1) content analysis was conducted to investigate the different types of male role portrayals in 388 television commercials, broadcasted between December 2002 and November 2003; (2) survey method was conducted with 400 males and females, 22-45 years old, living in Bangkok, to investigate their attitude towards male role and male role portrayals in television commercials. The content analysis found that television commercials portrayed men in traditional roles (working roles and recreational roles) two times greater than non-traditional roles (family roles and sex object roles). The factors that played important parts in such different male role portrayals in each television commercial were product type, product class, and target group of advertised products. The survey research found no difference between males' and females' attitude towards male role. Consumers with traditional attitudes had more favorable attitudes towards traditional male role portrayals than consumers with egalitarian attitudes. Whereas consumers with egalitarian attitudes had no different attitude towards each role portrayal. Besides, the sex object role portrayals created negative attitudes among the consumers with egalitarian attitudes.en
dc.format.extent2004545 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1218-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบทบาทตามเพศในโฆษณาen
dc.subjectภาพยนตร์โฆษณาen
dc.titleทัศนคติของผู้บริโภคต่อการนำเสนอภาพบทบาทเพศชายในภาพยนตร์โฆษณาen
dc.title.alternativeConsumer's attitude towards male role portrayals in television commercialsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการโฆษณาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRataya.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.1218-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kemtip.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.