Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11006
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorศรีวรรณ จิตรานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-09-08T03:30:47Z-
dc.date.available2009-09-08T03:30:47Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741751788-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11006-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการให้คำปรึกษาของครูคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรด้านสถานภาพส่วนตัวของครูคอมพิวเตอร์ ด้านสถานภาพส่วนตัวและลักษณะของครูผู้ขอคำปรึกษากับรูปแบบการให้คำปรึกษาของครูคอมพิวเตอร์ 3) ศึกษาตัวแปรคัดสรรที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของรูปแบบการให้คำปรึกษาของครูคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปฏิบัติการสอนใน ปีการศึกษา 2546 จำนวน 459 คน การวิจัยนี้ศึกษากรณีการให้คำปรึกษา 2 กรณี คือ การผลิตสื่อด้วยคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และศึกษารูปแบบการให้คำปรึกษา 3 รูปแบบ คือ 1) The Product Model 2) The Prescription Model และ 3) The Collaboration Model ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีรูปแบบการให้คำปรึกษา กรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ทุกรูปแบบในระดับมาก 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรกับรูปแบบการให้คำปรึกษาทั้ง 3 รูปแบบ พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนี้ กรณีที่ 1 พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับรูปแบบการให้คำปรึษาแต่ละรูปแบบจำนวน 5, 5 และ 3 ตัว ตามลำดับ ตัวแปรทางบวกที่พบซ้ำกันมากที่สุด ได้แก่ โรงเรียนขนาดใหญ่และครูผู้ขอคำปรึกษาที่มีความเป็นตัวของตัวเอง และพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบ จำนวน 4, 7 และ 3 ตัว ตามลำดับ ตัวแปรทางลบที่พบซ้ำกันมากที่สุด ได้แก่ 1) ครูคอมพิวเตอร์อายุ 31 - 35 ปี 2) ครูคอมพิวเตอร์สอนในกลุ่มวิทยาศาสตร์ และ 3) ครูคอมพิวเตอร์อายุ 41 - 45 ปี กรณีที่ 2 พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวก จำนวน 10, 2 และ 7 ตัว ตามลำดับ ตัวแปรทางบวกที่พบซ้ำกันมากที่สุด ได้แก่ 1) โรงเรียนขนาดใหญ่ 2) ครูผู้ขอคำปรึกษามีการศึกษาระดับปริญญาโท 3) ครูผู้ขอคำปรึกษาที่ปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่นได้ และ 4) ครูคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีตำแหน่งหน้าที่อื่นๆ และพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบ จำนวน 4, 6 และ 1 ตัว ตามลำดับ ตัวแปรทางลบที่พบซ้ำกันมากที่สุด ได้แก่ ครูคอมพิวเตอร์ที่สอนในกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Method) พบตัวแปรที่ร่วมกันอธิบายรูปแบบการให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนี้ กรณีที่ 1 พบตัวแปรจำนวน 23, 14 และ 13 ตามลำดับ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 49.9, 46.6 และ 38.5 กรณีที่ 2 พบตัวแปรจำนวน 15, 17 และ 14 ตามลำดับ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 42.8, 45.4 และ 46.3en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the consultation model of computer teachers in secondary schools under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission 2) to study relationships between consultation model of computer teachers and selected variables : current status of computer teachers and current status and characteristics of consultees and 3) to identify predictor variables that effect consultation model of computer teachers. The samples were 459 heads of computer teachers and computer teachers in secondary schools teaching in the academic year of 2003. The consultation cases studied were media production by computer and application program utilization. Three consultation models included in the study were The Product Model, The Prescription Model and The Collaboration Model. The findings revealed that: 1. Computer teachers in secondary school under the jurisdiction of the office of the basic education commission performed consultation in high level in all three models. 2. There were statistically sinificant relationships at .05 between each consultation model and selected variables. In case 1, there were positive relationships between each consultation model and 5, 5 and 3 variables, respectively. The positive variables mostly found were large-size school and selfindependent consultees.There were negative relationship between 4, 7 and 3 variables and three consultation model respectively. The mostly found variables were 1) computer teachers with 31-35 years of age 2) computer teachers teaching science content 3) computer teachers with 41-45 years of age. In case 2, there were negative relationships between each consultation model and 10, 2 and 7 variables respectively. The mostly found variables were 1) large-size school 2) consultees with master degree 3) well-adjusted consultees and 4) computer teachers without other responsibilities. There were negative relationships between 4, 6 and 1 variables and three consultation model respectively. The mostly found variable was computer teachers teaching social study, religion and culture content. 3. In enter multiple regression analysis at .05 level, there were variables predicting the consultation models of computer teachers as follows: In case 1, there were 23, 14 and 13 predictor variables together were able to account for 49.9%, 46.6% and 38.5% of the varience. In case 2, there were 15, 17 and 14 predictor variables together were able to account for 42.8%, 45.4% and 46.3% of the variance.en
dc.format.extent5428198 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.487-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการให้คำปรึกษาen
dc.subjectครูคอมพิวเตอร์en
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษาen
dc.titleตัวแปรคัดสรรที่ส่งผลต่อรูปแบบการให้คำปรึกษาของครูคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.title.alternativeSelected variables affecting the consultation model of computer teachers in secondary schools under the jurisdiction of the office of the basic education commissionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOnjaree.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.487-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sriwan.pdf5.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.