Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11008
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มนัสกร ราชากรกิจ | - |
dc.contributor.author | วันวิภา เผ่าสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-09-08T03:38:31Z | - |
dc.date.available | 2009-09-08T03:38:31Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741748914 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11008 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาถึงความสามารถและประสิทธิภาพของชานอ้อย ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากจากโรงงานน้ำตาลมากำจัดตะกั่ว โดยใช้ชานอ้อยที่ปรับสภาพด้วยกรดไฮโดรคลอริกดูดซับตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ จากนั้นนำชานอ้อยปรับสภาพที่ดูดซับตะกั่วแล้วมาทำเป็นก้อนแข็ง โดยการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วนในการผสมมอร์ตา โดยในส่วนของการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์เป็นการทดลองแบบแบตช์ ที่อุณหภูมิห้อง โดยหาสภาวะที่เหมาะสมของการกำจัดตะกั่วที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน แต่ละความเข้มข้นจะทำการปรับค่าพีเอชให้เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 2 ถึง 6 ผลการทดลองพบว่า ผลความเข้มข้นของตะกั่วและพีเอชเริ่มต้นที่มีต่อความสามารถในการกำจัดตะกั่ว จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือ เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของตะกั่ว ความสามารถในการดูดซับจะเพิ่มขึ้น และเมื่อเพิ่มพีเอช จะทำให้ความสามารถในการกำจัดตะกั่วจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน และที่พีเอช 6 สามารถกำจัดตะกั่วได้ดีที่สุด สภาวะที่เหมาะสมต่อการกำจัดตะกั่วที่ความเข้มข้น 80 มิลลิกรัมต่อลิตรคือ พีเอชเท่ากับ 6 มีเวลาสัมผัสเท่ากับ 3 นาที โดยจะได้ประสิทธิภาพการกำจัดเท่ากับ 56.72% ความสามารถในการดูดซับสูงสุดคิดเป็น 4.700 มิลลิกรัมต่อกรัมชานอ้อย ส่วนผลการศึกษาไอโซเทอมโดยใช้ชานอ้อยพบว่า ความสามารถในการกำจัดตะกั่วมีความสัมพันธ์กับไอโซเทอมการดูดซับ ทั้งแบบแลงมัวร์และฟรุนดลิช จากนั้นศึกษาความเป็นไปได้ในการนำชานอ้อยที่ใช้กำจัดตะกั่วแล้ว มาใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วนในการผสมมอร์ตา ซึ่งได้ศึกษาถึงสมบัติทางกายภาพและส่วนประกอบทางเคมีของมอร์ตาผสมชานอ้อย เมื่อนำมาใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์พบว่า กำลังรับแรงอัดของมอร์ตาลดลง ซึ่งในงานวิจัยนี้ ชานอ้อยที่ผ่านการดูดซับตะกั่วสามารถนำมาใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ในการผสมมอร์ตาได้ 5% โดยน้ำหนัก โดยใช้สัดส่วนระหว่างวัสดุประสานต่อทราย เท่ากับ 1:2.75 และปริมาณน้ำต่อซีเมนต์ เท่ากับ 0.45:1 ซึ่งให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุดที่อายุการบ่ม 28 วัน ประมาณ 46.45% เมื่อเทียบกับมอร์ตาธรรมดา ส่วนผลการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในน้ำชะของมอร์ตาผสมชานอ้อย ที่ผ่านการดูดซับตะกั่วพบว่า มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์กำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) | en |
dc.description.abstractalternative | To study the feasibility and efficiency of bagasse, the widely available waste from sugar factories, for adsorption of lead from synthetic wastewater and subsequent solidification. Bagasse was treated under acidic condition. Adsorption studies were conducted using the batch technique at room temperature. The adsorption studies were carried out for different contact times, initial concentrations, initial pHs (2-6). Lastly, the adsorption data were filled with isotherm models. The adsorption experimental results indicated that initial pH and initial concentration of lead in aqueous solution affected lead removal. That is the removal efficiency increased with increasing solution pH, while it decreased with increasing lead concentration. The maximum adsorption capacity was about 4.700 mg/g of bagasse and the removal efficiency was 56.72% at pH 6, initial concentration of 80 mg/L and contact time of 3 minutes. The adsorption isotherm for lead removal was best fitted both Langmuir and Freundlich model. The partial cement replacement experimental results indicated that the compressive strength of mortar decreased with increasing percent replacement of adsorbed bagasse. It was used to directly replace cement by up to 5 percent for making mortars. The maximum compressive strength was 46.45% of the with control specimen with a 1 : 2.75 ratio of binder to sand ratio, a water to cement ratio of 0.45 and curing time of 28 days. The concentrations of lead in leachate solution were within the limits set by the Notification of Ministry of Industry No.6 (1997). | en |
dc.format.extent | 2076560 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก | en |
dc.subject | ชานอ้อย | en |
dc.subject | การทำให้เป็นของแข็ง | en |
dc.subject | การดูดซับ | en |
dc.title | การนำชานอ้อยไปใช้ดูดซับตะกั่วแล้วนำไปทำเป็นก้อนแข็ง | en |
dc.title.alternative | Utilization of bagasse as adsorbent material for lead removal with subsequent solidification | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | manaskorn.r@eng.chula.ac.th, Manaskorn.R@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wanvipa.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.