Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11168
Title: แนวทางการปรับปรุงโครงการระบบข้อมูลที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ : กรณีศึกษาที่อยู่อาศัยของผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้น้อยในโรงงานอุตสาหกรรมเขตบางขุนเทียน
Other Titles: The improvement of housing information system of the National Housing Authority : a case study of low income labour housing in the industrial factory in Bang-Khunthian district
Authors: สรรชัย วัชรจิตติธรรม
Advisors: มานพ พงศทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: แรงงาน -- ที่อยู่อาศัย
ที่อยู่อาศัย -- ความพอใจของผู้อยู่อาศัย
คุณภาพชีวิต
สินเชื่อที่อยู่อาศัย
บางขุนเทียน (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540-2544) ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศใหม่ โดยมุ่งเน้น "คน" เป็นศูนย์กลางหรือจุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนา โดยให้ทุกคนในสังคมได้รับการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ ทั้งร่างกายจิตใจและสติปัญญา ทิศทางการพัฒนาเมืองและระบบชุมชนจะมุ่งเน้นการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรเมืองอย่างเป็นระบบให้เกิดความสมดุลของการพัฒนา เพื่อให้เมืองเติบโตอย่างเหมาะสมมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความเป็นระเบียบ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้ในการปรับปรุงระบบข้อมูลที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลสภาพปัจจุบันด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ความพึงพอใจในที่อยู่อาศัยของผู้ใช้แรงงานความต้องการที่อยู่อาศัยในอนาคต ตลอดจนความช่วยเหลือภาครัฐต่างๆ เช่น มาตรฐานที่อยู่อาศัย การส่งเสริมการลงทุนการให้สินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อใช้ในการกำหนดตัวแปรต่างๆ ในระบบข้อมูล ในการศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่าง 321 คนมีระดับรายได้ไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือนต่อคน จากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนผู้ใช้แรงงานมากกว่า 100 คน โดยแบ่งเฉลี่ยเป็น 3 แขวงในเขตบางขุนเทียนตามสัดส่วนของจำนวนผู้ใช้แรงงานในแต่ละแขวง จากการวิจัยพบว่า ลักษณะลูกจ้างแรงงานอยู่ในช่วงอายุประมาณ 20 ปี เป็นคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ ระดับการศึกษาค่อนข้างน้อยโดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นผลให้มีระดับรายได้ที่ค่อนข้างน้อย ซึ่งมีรายได้ประมาณ 5,225 บาท รายจ่ายประมาณ 3,000 บาท สภาพที่อยู่อาศัยในปัจจุบันส่วนใหญ่อาศัยอยู่แฟลตหรือห้องเช่า ขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 15-20 ตารางเมตร จำนวนคนที่พักโดยเฉลี่ย 2 คน การใช้พื้นที่โดยเฉลี่ย 10 ตารางเมตรต่อคน สภาพที่อยู่อาศัยในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์พอยอมรับได้ ด้านสาธารณูปโภคก็ได้รับการแก้ไขไปบ้างเนื่องจากโดยส่วนใหญ่มีมิเตอร์ไฟฟ้า และประปาใช้แล้ว ไม่มีปัญหาน้ำท่วม ความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ การเดินทางโดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการเดินไปทำงาน ในด้านความต้องการที่อยู่อาศัยในอนาคตพบว่ามีความต้องการพื้นที่ใช้สอยอย่างน้อยประมาณ 24.39 ตารางเมตรโดยแบ่งออกเป็นห้องนอนที่ 1 (ห้องนอนใหญ่), ห้องน้ำรวมที่อาบน้ำ, ห้องครัว และห้องนอนที่ 2 (สำหรับลูก) มีขนาดพื้นที่ใช้สอยต่ำกว่ามาตรฐานที่อยู่อาศัยที่ทางการเคหะแห่งชาติและสำนักงานส่งเสริมการลงทุนได้ระบุไว้ ซึ่งขนาดที่อยู่อาศัยที่ลดลงทำให้ราคาที่อยู่อาศัย มีแนวโน้มลดลง เมื่อเฉลี่ยจากพื้นที่ ทำให้ผู้มีรายได้น้อยจำนวนร้อยละ 40-50 มีโอกาสในการจัดหาที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ โดยวิธีการกู้ร่วม แต่ทั้งนี้ทางภาครัฐต้องมีนโยบายส่งเสริมในด้านวงเงินสินเชื่อ ตลอดจนมีมาตรการส่งเสริมในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้เพิ่มสูงขึ้น และในกลุ่มที่ไม่สามารถซื้อได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านรายได้และราคาที่อยู่อาศัยไม่สามารถลดต่ำลงได้อีก วิธีที่จะแก้ไขคือยกระดับฝีมือแรงงานให้เพิ่มขึ้น ให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีรายได้โดยรวมนั้นเพิ่มมากขึ้น จนสามารถที่จะซื้อให้
Other Abstract: The Eighth National Economic and Social Development Plan (1997-2001) shifts the developmen paradingm to holistic people-centred approach, by fostering and developing the full potentials of Thai, in terms of help, physical well-being, intellect and spirit, balancing the pattern of development, the developing of city and community will be in concert with quality of life of people in the community, to have a stable and sustainable economic growth and a good environmental condition society. The thesis is the introductory study which is to the improvement of housing information system of the National Housing Authority. For the collecting information used to define the variable of the information system, that is concerned in the area of physical, economy, social, affectionate, accommodation need in the future, also included the help from public sector, for example, specifying the standard regulation of housing condition, investment promotion and supporting the Government Housing Bank loan. The thesis is based on the study 321 samples with maximum salary of 7,500 baht per month, selected proportional to a number of workers from factories having more than 100 workers located at 3 Tumbol in Bang-Khunthain. According to the study, it is found that most of workers are in age of 28 coming from the north-east part of Thailand and with education up to the secondary school level. As a result, they earn a limited income of 5,200 baht per month and having the expense of 3,000 baht per month. Most of accommodations are in the form of flat and rent-room with the utilisation area around 15-20 square-metres, for average of 2 residents, which is allowed 10 square-metres per person. Most of standard of living are acceptable such as having basic utility, running water, electricity, no flooding and safety. Furthermore, the study goes through their future need, it is claimed that the comfortable area should be at least 24.39 square-meters which divided into one main bedroom, one children bedroom, on toilet and lavatory and on kitchen, nevertheless, this is still lower than the standard that the National Housing Authority and the Board of Investment assign. However, it is certain that the less the size of housing is, the cheaper the price will be, therefore, that makes 40%-50% of lower income labour can afford their own accommodation by joint borrowing. Anyway, the government sector should pay attention to the group of labour by issuing policy to support the mortgage, along with the proposition to upgrade the labour skill. About the second half, they have to continue renting the house, this is because the restriction of earning and also the price of accommodation cannot be further decreased. Therefore, the method to solve the difficulty is improving the skill and education so as to raise the standard of living of these group.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11168
ISBN: 9746388606
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanchai_Wa_front.pdf832.02 kBAdobe PDFView/Open
Sanchai_Wa_ch1.pdf758.69 kBAdobe PDFView/Open
Sanchai_Wa_ch2.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Sanchai_Wa_ch3.pdf724.49 kBAdobe PDFView/Open
Sanchai_Wa_ch4.pdf867.07 kBAdobe PDFView/Open
Sanchai_Wa_ch5.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Sanchai_Wa_back.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.