Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11186
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุติมา ไตรรัตน์วรกุล-
dc.contributor.advisorดารณี ตัณฑ์ไพโรจน์-
dc.contributor.authorขวัญฤดี วัฒนธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-09-21T02:21:08Z-
dc.date.available2009-09-21T02:21:08Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740302661-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11186-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าปริมาณแร่ธาตุของผิวเคลือบฟันบริเวณรอยผุที่จำลองขึ้นในห้องปฏิบัติการ ภายหลังการผนึกด้วยสารผนึกหลุมร่องฟันเรซินชนิดผสมฟลูออไรด์กับชนิดไม่ผสมฟลูออไรด์ เตรียมรอยผุจำลองขนาด 2x2 มม.ที่ผิวเคลือบฟันทางด้านข้างแก้มของฟันกรามน้อยจำนวน 60 ซี่ โดยแช่ฟันในสารละลายคาร์โบพอลที่ทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (Carbopol demineralizing solution) ที่มีค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 5.0 เป็นเวลา 9 วัน ฟันแต่ละซี่มีรอยผุจำลองจำนวน 2 รอบ แบ่งชิ้นตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ในกลุ่มแรก (30ซี่) ใช้เดลทอน (Delton) และเดลทอนพลัส (Delton Plus) กลุ่มที่สอง (30 ซี่) ใช้เฮลิโอซีล (Helioseal) และเฮลิโอซีลเอฟ (Helioseal-F) ผนึกทับบริเวณรอยผุจำลอง แช่ฟันในน้ำลายเทียมเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นนำชิ้นตัวอย่างมาตัดในแนวขวางผ่านบริเวณรอยผุจำลอง ขัดผิวหน้าตัดให้เรียบมัน วัดความแข็งผิววิกเคอร์ (Vickers hardness) ที่ผิวหน้าตัดโดยจุดแรกห่างผิวฟัน 20 ไมโครเมตร และจุดต่อ ๆ ไปทุก 10 ไมโครเมตร จนครบ 12 จุด แปลงค่าความแข็งผิววิกเคอร์เป็นค่าความแข็งผิวนูป (Knoop hardness number) แล้วนำไปคำนวณหาค่าเฉลี่ยปริมาณแร่ธาตุที่สูญเสียเปรียบเทียบในกลุ่มเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณแร่ธาตุที่สูญเสีย +- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มแรก ซึ่งได้แก่ เดลทอนและเดลทอนพลัสมีค่าเท่ากับ 1423+-441 และ 1287+-421 ตามลำดับ กลุ่มที่สอง ได้แก่ เฮลิโอซีลและเฮลิ-โอซีลเอฟมีค่าเท่ากับ 1223+-284 และ 1165+-267 ตามลำดับ เมื่อนำมาทดสอบทางสถิติแพร์ทีเทส (Paired t-test) พบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณแร่ธาตุที่สูญเสียของเดลทอนพลัสไม่แตกต่างจากเดลทอน และเฮลิโอซีลเอฟไม่แตกต่างจากเฮลิโอซีลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.05) โดยสรุปการใช้สารผนึกหลุมร่องฟันเรซินผสมฟลูออไรด์ชนิดเดลทอน- พลัสและเฮลิโอซีลเอฟผนึกทับรอยผุจำลอง ไม่ทำให้ปริมาณการสูญเสียแร่ธาตุที่ผิวฟันแตกต่างจากการผนึกด้วยเดลทอนและเฮลิโอซีลตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare the mineral content of incipient artificial carious lesion in enamel after being sealed with fluoride- and nonfluoride-containing resin sealants. Two 2x2 mm2 artificial lesions were created on buccal surface of 60 premolars by using Carbopol demineralizing solution. The first group (30 teeth) was sealed with Delton and Delton Plus, the second group (30 teeth) was sealed with Helioseal and Helioseal F. All teeth were immersed in artificial saliva for 7 days and sectioned through the lesions. The cross-sectioned surfaces were polished, then subjected to Vickers hardness measurements at 20 micro from the outer enamel and every 10 micro inwards across the lesion to the underlying sound enamel. Vickers hardness number was converted to Knoop hardness number (KHN). Mean mineral loss (Z Value) was calculated from KHN and was compared within each group.Mean+-SD of the mineral content for Delton, Delton Plus, Helioseal and Helioseal-F were 1423+-441, 1287+-421, 1223+-284 and 1165+-267, respectively. Paired t-test showed that the mineral content in Delton Plus and Helioseal-F groups were not significantly different from the control groups, Delton and Helioseal (P=0.05) when these fluoride-containing resin sealants were applied on incipient enamel carious lesion.en
dc.format.extent1841604 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.513-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเรซินทางทันตกรรมen
dc.subjectทันตกรรมบูรณะen
dc.titleผลของสารผนึกหลุมร่องฟันเรซินชนิดผสมฟลูออไรด์และไม่ผสมฟลูออไรด์ ต่อปริมาณแร่ธาตุของรอยผุจำลองในระยะเริ่มแรกen
dc.title.alternativeEffect of fluoride- and nonfluoride-containing resin sealants on mineral content of incipient artificial carious lesionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.513-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kwanrudee.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.