Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11190
Title: พฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดของประชากรกลุ่มเสี่ยง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: Preventive behavior for ischaemic heart disease among the risk population in Chachoengsao Province
Authors: จันทร ศรีสุรักษ์
Advisors: เกื้อ วงศ์บุญสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
Advisor's Email: Kua.W@chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
หัวใจ -- โรค -- การป้องกันและควบคุม
พฤติกรรมสุขภาพ -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยานิพนธ์
Abstract: ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคหัวใจขาดเลือดของประชากรกลุ่มเสี่ยง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ตามแบบสอบถามกับผู้ที่มีอายุ 35-59 ปี ที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 416 คน ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอบางปะกง และอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการศึกษาพบว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเลขคณิตในระดับสองตัวแปรพบว่า ตัวแปรอิสระทุกตัวมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อนำปัจจัยทางประชากรและสังคมมาเป็นตัวแปรควบคุม พบว่าตัวแปรการรับรู้อุปสรรค เมื่อคุมด้วยปัจจัยทางประชากรและสังคมทีละตัว ยังคงมีความสัมพันธ์เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนตัวแปรการรับรู้อื่นๆ เป็นไปตามสมมุติฐานบางกลุ่ม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการป้องกัน โรคหัวใจขาดเลือดกับการรับรู้ภาวะคุกคาม การรับรู้ความคาดหวัง และสิ่งชักนำให้ปฏิบัติ โดยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยการรับรู้ภาวะคุกคามสามารถอธิบายการผันแปร ของพฤติกรรมการป้องกันโรคได้ 12.0% การรับรู้ความคาดหวังอธิบายได้ 33.4% สิ่งชักนำให้ปฏิบัติอธิบายได้ 16.2% เมื่อนำปัจจัยด้านประชากรและสังคมมาศึกษาร่วมด้วย โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุพบว่า การรับรู้ภาวะคุกคามร่วมกับปัจจัยด้านประชากรและสังคม สามารถอธิบายพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้ 25.6% การรับรู้ความคาดหวังอธิบายได้ 39.8% สิ่งชักนำให้ปฏิบัติอธิบายได้ 31.5%
Other Abstract: To investigate factors affecting preventive behavior for ischaemic heart disease among the risk population. A cross-sectional survey was used in interviewing 416 people aged from 35 to 59 who had high blood pressure in Muang, Bangpakong and Banpho districts of Chachoengsao province. Results revealed that most of the samples exhibited moderate levels of preventive behavior; meanwhile, bivariate analyses showed that every independent variable was correlated with a dependent variable. After controlling for socioeconomic and demographic variables, only perceived barriers were associated with preventive bahavior as hypothesized. The correlations between preventive behavior for ischaemic heart disease and perceived threat, perceived expectations and cues to action were analyzed by simple regression. It was found that there are correlations between variables with statistical significance at 0.001. Perceived threat can explain 12.0% of the changes in preventive behavior; perceived expectations explain, 33.4%; and cues to action, 16.2%. Adding socioeconomic and demographic variables in multiple regression, it was found that perceived threat, socioeconomic and demographic variables can explain 25.6% of the changes in preventive behavior; perceived expectations, 39.8%; and cues to action, 31.5%
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยานิพนธ์, 2544
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11190
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.230
ISBN: 9740311148
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.230
Type: Thesis
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chantorn.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.