Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11227
Title: การเปรียบเทียบระดับการเคลื่อนย้ายงินทุนระหว่างประเทศช่วงก่อนและหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2540
Other Titles: The comparison of the degree of capital mobility before and after the financial crisis in 1997
Authors: ศราวรรณ ด้วงทอง
Advisors: บังอร ทับทิมทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Bangorn.T@Chula.ac.th
Subjects: วิกฤตการณ์การเงิน -- ไทย -- 2540
การเคลื่อนย้ายเงินทุน -- ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ และเพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อกำหนดอัตราผลตอบแทนภายในประเทศของไทย โดยทำการศึกษาในตลาดเงิน ตลาดหลักทรัพย์ และตลาดพันธบัตร ทั้งช่วงก่อนและหลังการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชียปี 2540 ทำการศึกษา โดยใช้แบบจำลองการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ซึ่งประมาณค่าแบบจำลอง ด้วยวิธี Cointegration และ Error Correction Models (ECM) ใช้ข้อมูลรายเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2533 ถึงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2548 รวม 184 เดือน ผลการศึกษาระดับของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศของไทย พบว่า ช่วงเวลาหลัง การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2540 ในตลาดเงินและตลาดหลักทรัพย์ มีระดับการเคลื่อนย้ายเงินทุน ระหว่างประเทศที่ต่ำลง ยกเว้นในตลาดพันธบัตรที่มีระดับการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เพิ่มขึ้น ผลจากแบบจำลอง ECM พบว่า ตลาดที่มีการปรับตัวในระยะสั้นเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวคือ ตลาดเงินทั้งช่วงก่อนและหลัง วิกฤตการณ์ทางการเงิน และตลาดพันธบัตรช่วงหลังวิกฤตการณ์ทางการเงิน แต่ตลาดที่ไม่มีการปรับตัวใน ระยะสั้น เพื่อเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวคือ ตลาดหลักทรัพย์ ทั้งช่วงก่อนและหลังวิกฤตการณ์ทางการเงิน และตลาดพันธบัตรช่วงก่อนวิกฤตการณทางการเงิน ผลการทดสอบความมีเสถียรภาพของสมการโดยวิธี Chow test แสดงให้เห็นว่าหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทาง การเงินในภูมิภาคเอเชียปี 2540 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของอัตราผลตอบแทนภายในประเทศ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราผลตอบแทนภายในประเทศของไทยจะเห็นว่าอัตราผลตอบแทน ภายในประเทศถูกกำหนดมาจากทั้งปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยนอกประเทศค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของการเลือกใช้นโยบายการเงินของภาครัฐโดยผ่านทางการกำหนดอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ เพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ เนื่องจากถูกชดเชยจากผล ของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นจึงควรที่จะพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศให้ แข็งแกร่งไปในเวลาเดียวกันด้วย
Other Abstract: The objective of this study is to compare the degree of capital mobility and find the determinants of the return in the money market, the stock market and the bond market in Thailand before and after the Asian financial crisis in 1997. This is done using the Cointegration and Error Correction Models (ECM) techniques to estimate the degree of capital mobility for the period covered 184 months starting from January 1990 to December 2005. The results find that the degree of capital mobility in the money market and the stock market are lower after the financial crisis, but it is higher in the bond market. The results from the ECM models indicate the adjustment of the short run equilibrium towards the long run equilibrium in the money market during both period, but the adjustment occurred only after the financial crisis in the bond market. But there was adjustment in the stock market and the bond market before the financial crisis. The results from the Chow test during before and after the financial crisis indicate the structure change of the rate of return in every market. The policy implication from this study shows that only monetary policy using domestic interest rate variable to stimulate capital mobility is not enough without the strong economic foundation of the country.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11227
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.390
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.390
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarawon_Du.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.