Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11264
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรพล วิรุฬห์รักษ์ | - |
dc.contributor.author | ประเมษฐ์ บุญยะชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2009-09-22T07:38:24Z | - |
dc.date.available | 2009-09-22T07:38:24Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746378198 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11264 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาพิธีไหว้ครูโขน-ละคร (พิธีหลวง) การศึกษาเน้นในเรื่องการรำของผู้ประกอบพิธีในพิธีไหว้ครูโขน-ละคร ซึ่งประกอบด้วยเพลงหน้าพาทย์สำคัญ 7 เพลง ได้แก่ พราหมณ์เข้าพราหมณ์ออก เสมอเถร เสมอสามลา เชิด (ถวายเครื่อง) โปรยข้าวตอกและกราวรำ การศึกษาได้แบ่งกลุ่มผู้ประกอบพิธีเป็น 3 ยุค ตามเกณฑ์สังกัดควบคุมบังคับบัญชาและการแต่งตั้ง ยุคที่ 1 พ.ศ. 2397-2478 เป็นยุคที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือยุคกรมมหรสพ ยุคที่ 2 พ.ศ. 2488-2527 เป็นยุคกรมศิลปากรหรือตั้งโรงเรียนนาฏศิลป์ ยุคที่ 3 พ.ศ. 2527-ปัจจุบัน เป็นยุคที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ประกอบพิธีขึ้นใหม่ ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า การประกอบพิธีไหว้ครู ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ภาค คือ ภาคพิธีสงฆ์ ภาคพิธีไหว้ครูและภาคพิธีครอบ การรำของผู้ประกอบพิธีแต่เดิมปรากฏอยู่ในภาคพิธีครอบเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันได้พบว่าการรำหน้าพาทย์บางหน้าพาทย์ไปอยู่ในภาคพิธีไหว้ครู โดยเฉพาะหน้าพาทย์พราหมณ์เข้า จากการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงเกิดจากปัจจัยในเรื่องการเพิ่มสถานภาพของผู้ประกอบพิธีจากหัวหน้าศิษย์ เป็นพราหมณ์ผู้ทรงศีลซึ่งเป็นแนวคิดของหลวงวิลาศวงงามเป็นท่านแรก นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงลำดับการรำอีกหลายหน้าพาทย์เกิดจากแนวคิดและกำหนดระยะเวลาในการประกอบพิธีอีกด้วย จุดประสงค์ในการรำของผู้ประกอบพิธี พบว่า มีอยู่ 2 ประการคือ 1. รำในฐานะหัวหน้าศิษย์เพื่อถวายพลีกรรม สักการะและสมโภชแด่ครู เช่น หน้าพาทย์เชิด โปรยข้าวตอก และกราวรำ 2. รำในฐานะพระภรตฤษีและพราหมณ์ผู้ทรงศีล เพื่อประกอบพิธีครอบในภาวะต่างๆ ได้แก่ หน้าพาทย์พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก เสมอเถร และเสมอสามลาการรำของผู้ประกอบพิธีในหน้าพาทย์ต่างๆ พบว่ากระบวนการรำตรงกับท่ารำของตัวพระและใกล้เคียงกับตัวยักษ์ในนาฎยศิลป์โขน สามารถสรุปได้ว่า ลักษณะของท่าปรากฏอยู่ในท่ารำเพลงช้า เพลงเร็ว ท่ารำแม่บทใหญ่และแม่ท่ายักษ์ รูปแบบการเคลื่อนที่ของผู้ประกอบพิธีในหน้าพาทย์ต่างๆ ในทิศทางด้านขวามือของผู้รำเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ลำดับของท่ารำเป็นการเรียงลำดับจากการใช้ระดับมือต่ำไปหาสูง เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าหน้าพาทย์ที่ผู้ประกอบพิธีร่ายรำ เป็นลักษณะรูปแบบหน้าพาทย์ของนาฏยศิลป์โขนซึ่งเป็นข้อสนับสนุนในเรื่องกฎเกณฑ์การคัดเลือกผู้ประกอบบพิธีไหว้ครูโขน-ละคร (พิธีหลวง) ในข้อที่ว่า ผู้ประกอบพิธีจะต้องเป็นครูผู้ใหญ่ฝ่ายพระเท่านั้นและที่สุดอาจใช้ครูผู้ใหญ่ฝ่ายยักษ์ แต่ไม่เคยปรากฎว่าครูผู้ใหญ่ฝ่ายยักษ์ได้เป็นผู้ประกอบพิธี ลักษณะพิธีไหว้ครูโขน-ละคร และการรำของผู้ประกอบพิธี เป็นสิ่งที่ยืนยันในประเพณีการบูชาเทพเจ้าที่เกี่ยวข้องในนาฏศิลป์ไทย ที่สำคัญที่สุดแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสืบทอดองค์ความรู้จากนาฏราช (พระอิศวร) มาสู่มวลมนุษย์ ซึ่งเป็นความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์ที่ก่อให้เกิดรูปแบบพิธีไหว้ครูเป็นสิ่งที่สำคัญและจะต้องคงอยู่ตลอดไป | en |
dc.description.abstractalternative | To sutdy the royal rite of paying homage to the teachers of Khon and Lakon. It focusses on the dance of the master of ceremony during the rite which comprises of seven dance set peices : Brahm Khao, Samue Then, Samue Sam La, Choed (Tawai Krueng), Proei Khao Tok, and Krao Ram. The study devided the rite into three periods according to the supreme master of ceremony when each of them was responsible for the rite. First period was under the royal patronage or the Royal Performing Arts Department period (1854-1935). Second period was under the Fine Arts Department or the Dramatic Arts School period (1945-1984), and the period since His Majesty the King bestowed the new master of ceremony in 1984 until today. The study finds that the rite has three important parts : Buddhistic rite, Paying homage rite, and the rite to authorise the ones to perform or to teach. The dances of the master of ceremony were mostly performed in the third part in the olden day; but some of them are performed in the second part today. This change may be based upon the fact that the master of ceremony is gaining a higher status. This was firstly laid out by luang Wilas Wong Ngam. The change may also come from the time constraint. Two objectives of the dance are found. First is the dance of the students who intend to present offerings to the teachers. The dances are Choed, Proei Kao Tok and Krao Ram. Second is the dance of Bharat Muni and other brahmins who suppose to preside over at the ceremony to authorise the ones to perform and to teach. The dances in this second part are Brahm Khao, Brahm Ok, Samue Then, Samue Sam La. Dance style in the rite is similar to the hero and the demon in Khon. Dance postures are found in the dance basic patterns. Dances mostly moves towords the stage right. Hands move from low to high positions which indicated that the dances are taken from Khon performance. Only one who performs hero role in Khon or Lakon can be the master of ceremony. The one who is demon can also be the master of ceremony but that has not happened in the history. The rite and the dances of the master of ceremony indicate the cultural tradition of worshipping the Hindu gods who are related to the dance. The rite significantly shows the continuity of dance knowledge derived from Nataraj (Shiva) which brought about the rite of paying homage to teachers of Khon and Lakon. | en |
dc.format.extent | 883065 bytes | - |
dc.format.extent | 775332 bytes | - |
dc.format.extent | 922540 bytes | - |
dc.format.extent | 1360777 bytes | - |
dc.format.extent | 2234772 bytes | - |
dc.format.extent | 2363467 bytes | - |
dc.format.extent | 932714 bytes | - |
dc.format.extent | 761541 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โขน | en |
dc.subject | การไหว้ครู | en |
dc.subject | การไหว้ครู | en |
dc.subject | พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม | en |
dc.subject | ละคร -- ไทย | en |
dc.subject | การรำ | en |
dc.title | การรำของผู้ประกอบพิธีในพิธีไหว้ครูโขน-ละคร | en |
dc.title.alternative | Master of ceremony's dances in the rite of paying homage to teachers of Khon and Lakon | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Surapone.V@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pramate_Bo_front.pdf | 862.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pramate_Bo_ch1.pdf | 757.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pramate_Bo_ch2.pdf | 900.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pramate_Bo_ch3.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pramate_Bo_ch4.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pramate_Bo_ch5.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pramate_Bo_ch6.pdf | 910.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pramate_Bo_back.pdf | 743.69 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.