Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11300
Title: ระบบบริหารการใช้โลหิตและส่วนประกอบของโลหิต ของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Management system of blood and blood component of public and private hospitals in Bangkok metropolis
Authors: ชัชวาล ประภาวิทย์
Advisors: ทัสสนี นุชประยูร
องอาจ วิพุธศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: คลังเลือด -- ไทย
คลังเลือด -- การบริหาร
โรงพยาบาล -- ไทย -- การบริหาร
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: 60% ของโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยจัดหาได้ ได้แจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วกรุงเทพมหานคร ในรูปแบบของโลหิตครบส่วน (Whole blood) และเม็ดโลหิตแดงอัดแน่น (Packed red cells) เป็นส่วนใหญ่โรงพยาบาลเหล่านี้มีระบบบริหารการใช้โลหิต และส่วนประกอบของโลหิตอย่างไร ไม่เคยมีการศึกษามาก่อน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระบบบริหารการใช้โลหิตและส่วนประกอบของโลหิต โดยสำรวจโรงพยาบาลทั่วกรุงเทพมหานครที่ขอใช้โลหิต และส่วนประกอบของโลหิตจากศูนย์ฯทั้งหมดจำนวน 104 แห่งโดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูลใช้ทั้งวิธีการสัมภาษณ์ การให้เจ้าหน้าที่งานธนาคารโลหิตของโรงพยาบาลตอบเอง และบันทึกปริมาณโลหิตที่ใช้ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2540 ถึง 31 มกราคม 2540 ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 13.79 ของโรงพยาบาลรัฐเท่านั้นที่มีคณะกรรมการโดยเฉพาะดูแลการใช้โลหิต ของโรงพยาบาล ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนไม่มี โรงพยาบาลรัฐและเอกชนต่างก็มีการบันทึกการรับ-จ่ายโลหิตใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 80) โรงพยาบาลรัฐร้อยละ 34.48 รับบริจาคโดยทั่วไปด้วย แต่โรงพยาบาลเอกชนรับบริจาคโดยทดแทนจากญาติ (ร้อยละ 43.06) การตรวจโลหิตที่รับบริจาคเองนั้นโรงพยาบาลรัฐ (ร้อยละ 91.30) และโรงพยาบาลเอกชน (ร้อยละ 58.07) มีการตรวจคัดกรองโลหิตครบ 5 ชนิดเหมือนกับศูนย์ฯ ชนิดของโลหิตที่โรงพยาบาลรัฐใช้มาก ได้แก่ เม็ดโลหิตแดงอัดแน่น, โลหิตครบส่วนและเกร็ดโลหิตเข้มข้น (Platelet concentrates) คิดเป็นร้อยละ 30.62, 30.25 และ 15.72 ตามลำดับ ส่วนโรงพยาบาลเอกชนใช้เม็ดโลหิตแดงเข้มข้น, โลหิตครบส่วนและพลาสมาสดแช่แข็ง (Fresh frozen plasma) คิดเป็นร้อยละ 35.26,25.30 และ 23.56 ตามลำดับอัตราการรับการถ่ายโลหิตมากที่สุดในโรงพยาบาลรัฐ คือเม็ดโลหิตแดงอัดแน่น (ร้อยละ 96.45) ส่วนโรงพยาบาลเอกชนเป็นไครโอปรีซิปิเตท (ร้อยละ 97.61) อัตราการจำหน่ายทิ้งเกร็ดโลหิตเข้มข้นในโรงพยาบาลรัฐ มีถึงร้อยละ 6.20 ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนจำหน่ายทิ้งโลหิตครบส่วนร้อยละ 13.81 อัตราการเก็บรักษาโลหิตประเภทพลาสมาสดแช่แข็งในโรงพยาบาลรัฐในระยะ 2 เดือนเป็นจำนวน 567 หน่วย (คิดเป็นร้อยละ 17.36 จากที่มีใช้) ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนมี 746 หน่วย (คิดเป็นร้อยละ 33.54 จากที่มีใช้) จากการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลรัฐและเอกชนมีความแตกต่างกันในเรื่อง ปริมาณการจัดหา, การรับการถ่าย, การจำหน่ายทิ้งและเหลือเก็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และพบว่าโลหิตและส่วนประกอบของโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยแจกจ่ายให้โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานครยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ทั้งนี้อาจเป็นผลจากระบบบริหารการใช้โลหิตของโรงพยาบาลต่างๆ ในกรุงเทพมหานครทั้งของรัฐและเอกชนยังไม่ดีพอ ควรนำข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ไปพัฒนาให้มีการใช้อย่างเหมาะสมทั้งประสิทธิภาพคุณภาพและความปลอดภัย
Other Abstract: Sixty percent of blood and blood component from The National Blood Center (NBC), Thai Red Cross Society is supplied to hospitals in Bangkok, mostly in the forms of whole blood and packed red cells. This study determines how these hospitals managed their Blood Transfusion Service(BTS)system. A survey of all 104 hospitals (without sampling technique)in Bangkok Metropolis which use blood from the NBC was done during December 1, 1996 to January 31, 1997 by using a three-part questionnaire. In the first part of the questionnaire, the hospital blood bank technicians were interviewed. In the second part, the information about the blood used of all blood units in a hospitals was collected. The third part was used to record volume of blood and blood components used in each month during 1 December, 1996 to 31 January, 1997 Only 13.79% of public hospitals had a blood transfusion comittee but none of the private hospitals had. About 80% of exither public and private hospitals did have a blood record system. To keep up with blood transfusion need in each individual hospital, voluntary blood donation program existed in 34.48% of public hospitals while replacement donation occured in 43.06% of private hospitals. After local collection, 91.30% of public hospitals and only 58.07% of private hospitals performed a complete screening test (5 specific tests) as that of NBC The most common blood products used in the public hospitals were packed red cells (PRC), whole blood (WB) and platelet concentrates(30.62%, 30.25% and 15.72 respectively).In private hospitals, these were PRC, WB and fresh frozen plasma(FFP) (35.26%,25.30% and 23.56% respectively) Regarding blood wastage, 6.20% of Platelet concentrates expired in public hospitals, while 13.81% of WB expired in private hospitals. 96.45% of blood transfusion in public hospitals was PRC, while in private hospital was cryoprecipitate (97.61%s). 567 units or 17.36% of all FFP has been left in the stock in public hospitals, while 746 units or 33.54% of all FFP in the private hospitals during the past 2 months. There are significant difference in management of BTS(recruit, transfusion, wastage and storage) between public and private hospitals in Bangkok Metropolis(P<0.05). There are a large room for improvement in both public and private hospitals blood bank to efficiently manage BTS.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11300
ISBN: 9746363824
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutchawal_Pr_front.pdf779.99 kBAdobe PDFView/Open
Chutchawal_Pr_ch1.pdf755.25 kBAdobe PDFView/Open
Chutchawal_Pr_ch2.pdf786.03 kBAdobe PDFView/Open
Chutchawal_Pr_ch3.pdf706.56 kBAdobe PDFView/Open
Chutchawal_Pr_ch4.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Chutchawal_Pr_ch5.pdf792.62 kBAdobe PDFView/Open
Chutchawal_Pr_back.pdf807.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.