Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11356
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชัยศักดิ์ หรยางกูร-
dc.contributor.authorพีรเดช พัฒนจันทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2009-09-28T09:41:08Z-
dc.date.available2009-09-28T09:41:08Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743325433-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11356-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงลักษณะพิเศษของกลไกในการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาททางการลงทุนระหว่างรัฐกับคนชาติของรัฐอื่น (The convention on the settlement of investment disputes: ICSID) โดยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของการระงับข้อพิพาทด้วยการอนุญาโตตุลาการระบบนี้ เปรียบเทียบกับการระงับข้อพิพาทที่ดำเนินการโดยองค์กรการระงับข้อพิพาทที่สำคัญอื่นๆ พร้อมทั้งศึกษาถึงองค์ประกอบในการที่อนุญาโตตุลาการของ ICSID จะสามารถเข้ามามีอำนาจพิจารณาเหนือข้อพิพาทนั้นๆ ได้ โดยพิจารณาจากบทบัญญัติ มาตรา 25 แห่งอนุสัญญาฉบับดังกล่าวเป็นหลัก การที่กรณีพิพาทใดๆ จะสามารถนำเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทที่ดำเนินการโดยศูนย์การระงับข้อพิพาททางการลงทุนระหว่างรัฐกับคนชาติของรัฐอื่นได้นั้น จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยอนุสัญญาฯ ซึ่งองค์ประกอบในเรื่องดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หลักการใหญ่ๆ กล่าวคือ หลักความยินยอมของคู่สัญญา (consent of the parties) หลักอำนาจพิจารณาตามประเภทของข้อพิพาท (jurisdiction ratione meteriae) และหลักอำนาจพิจารณาตามประเภทของคู่กรณี (jurisdiction ratione personae) การศึกษาทั้งจากบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาฯ ข้อเท็จจริงแห่งคดี และเทียบเคียงกับหลักกฎหมายอื่นที่มีความใกล้เคียงกัน จะสามารถทำให้ทราบได้ถึงลักษณะพิเศษต่างๆ ของหลักการที่กำหนดไว้เช่นนั้น เป็นต้นว่า ความยินยอมซึ่งมีลักษณะที่ไม่อาจจะเพิกถอนได้แต่เพียงฝ่ายเดียว การจำกัดเฉพาะแต่ประเภทข้อพิพาททางกฎหมายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการลงทุน การเข้ามาเป็นผู้ทรงสิทธิในทางกฎหมายระหว่างประเทศ (subject of international law) ของนักลงทุนเอกชนต่างประเทศ เป็นต้น ลักษณะพิเศษที่ได้รับการสร้างขึ้นโดยอนุสัญญาฯเหล่านี้ ล้วนแต่มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้อนุสัญญฯ ฉบับนี้สามารถบรรลุผลสำเร็จสมดังวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ในการใช้เป็นเครื่องสร้างบรรยากาศที่ดีทางการลงทุน และเป็นเครื่องมือในการระงับข้อพิพาททางการลงทุนระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพที่ได้รับความเชื่อถือจากประเทศภาคีสมาชิกแห่งอนุสัญญาฯ ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งได้ลงนามต่ออนุสัญญาฯ ฉบับนี้ไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2528 แต่กระทั่งปัจจุบัน ขั้นตอนในการแสดงความจำนงค์เพื่อที่จะเข้าผูกพันโดยสมบูรณ์ต่ออนุสัญญาฯ ก็ยังมิได้มีเกิดขึ้นไม่ว่าด้วยการให้สัตยาบัน การยอมรับหรือการให้ความเห็นชอบต่ออนุสัญญาฯ การศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับขอบบอำนาจพิจารณาโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของศูนย์ฯ จะทำให้สามารถทราบได้ว่ารัฐบาลหรือหน่วยงานราชการของประเทศไทยซึ่งต่อไปประสงค์จะเข้าทำสัญญาทางการลงทุนกับนักลงทุนต่างประเทศนั้น จะได้รับผลกระทบใดๆ ที่ประเทศไทยควรจะนำมาใช้สำหรับการตระเตรียมเพื่อรองรับต่อกรณีดังกล่าวให้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อปรากฎว่าประเทศไทยได้เข้าภาคีสมาชิกแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาททางการลงทุนระหว่างรัฐกับคนชาติของรัฐอื่นนี้โดยสมบูรณ์แล้วen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to analyze the mechanism of the settlement of dispute undertaken by the arbitration procedure under the Convention on the Settlement of Investment Dispute: ICSID. Emphasis is placed upon the comparison of the arbitration provided by the Centre on the Settlement of Investment Disputes between States and Nationals of Other States (CID) with other significant settlement disputes institutions. It also includes the study on the term "Jurisdiction of the Centre" which provides facilities for arbitration over an investment dispute according to the article 25 of the convention. ICSID provides the three principles in the settlement procedure provided i.e. consent of the parties, jurisdiction ratione materiae and jurisdiction ratione personae. The provision of convention, cases and comparison with applicable legal principles are the areas of this study. For example, unilateral withdrawal consent, the legal issues arising directly out of investment and international law aspect of an individual private investor are closely reviewed. These aforementioned principles are the principle tool in creating the international investment climate and providing an effective and trustful dispute settlement mechanism for the contracting states. For Thailand, the convention has been signed since December 6, 1985 but no progress has been made on the productive use of this law. The convention is still pending ratification, acceptance or approval. Prior to entry into force of the convention, how Thailand can plan to avail herself for the application of such international treaty when the government or its official agencies have entered into any foreign investment contracts with the nationals or enterprises of other contracting states. How to maximize the benefit of the treaty and at the same time commit herself to the obligation thereunder.en
dc.format.extent1096587 bytes-
dc.format.extent1288111 bytes-
dc.format.extent1412239 bytes-
dc.format.extent975964 bytes-
dc.format.extent1744054 bytes-
dc.format.extent873030 bytes-
dc.format.extent778851 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการระงับข้อพิพาทen
dc.subjectอนุญาโตตุลาการen
dc.subjectการลงทุนen
dc.titleขอบอำนาจพิจารณาโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของศูนย์การระงับข้อพิพาททางการลงทุนระหว่างรัฐกับคนชาติของรัฐอื่น : พิจารณากรณีผลกระทบต่อประเทศไทยen
dc.title.alternativeJurisdiction of ICSID arbitration : a case study of impacts on Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peradach_Pa_front.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Peradach_Pa_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Peradach_Pa_ch2.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Peradach_Pa_ch3.pdf953.09 kBAdobe PDFView/Open
Peradach_Pa_ch4.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Peradach_Pa_ch5.pdf852.57 kBAdobe PDFView/Open
Peradach_Pa_back.pdf760.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.