Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11551
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์-
dc.contributor.authorพลาวัสถ์ เลาหรุ่งพิสิฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-10-26T02:27:42Z-
dc.date.available2009-10-26T02:27:42Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741753772-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11551-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractศึกษาความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่าง เรซินซีเมนต์สามระบบ และไอพีเอสเอมเพรสทู เปรียบเทียบอิทธิพลของกลไกการเกิดปฏิกิริยาการก่อตัวของเรซินซีเมนต์ และอิทธิพลของระยะเวลาทดสอบหลังจากสิ้นสุดเวลาทำงาน โดยเตรียมชิ้นงานเซรามิกทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 และ 9 มม. หนา 2 มม. อย่างละ 120 ชิ้น ปรับสภาพผิวด้วยกรดกัดแก้ว ซีเลน และยึดติดกันด้วยเรซินซีเมนต์ ทั้ง 3 ระบบ ตามขั้นตอนที่ผู้ผลิตกำหนด ชิ้นทดสอบแบ่งเป็น 12 กลุ่ม กลุ่มที่ 1- 4 ยึดด้วยวาลิโอลิงค์ทู ที่เวลา 24 ชั่วโมง 120, 90 และ 60 นาที ตามลำดับ กลุ่มที่ 5-8 ยึดด้วยพานาเวียเอฟ และกลุ่มที่ 9-12 ยึดด้วยซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี ที่เวลาเดียวกัน นำข้อมูลมาทดสอบทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและทางเดียว แล้วเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบทูกีย์ ได้ผลดังนี้ ชนิดซีเมนต์และเวลาต่างมีผลต่อความแข็งแรงยึดเฉือนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กลุ่มซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีมีความแข็งแรงยึดเฉือนต่ำกว่ากลุ่มพานาเวียเอฟ และวาลิโอลิงค์ทูอย่างมีนัยสำคัญทุกช่วงเวลา (p<0.05) กลุ่มซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีมีความแข็งแรงยึดเฉือนต่ำกว่ากลุ่มพานาเวียเอ ฟและวาลิโอลิงค์ทู อย่างมีนัยสำคัญทุกช่วงเวลา (p<0.05) กลุ่มพานาเวียเอฟมีความแข็งแรงยึดเฉือนฉลี่ยไม่แตกต่างกันในทุกเวลา (p>0.05) กลุ่มวาลิโอลิงค์ทู 24 ชั่วโมง มีความแข็งแรงยึดเฉือนเฉลี่ยแตกต่างจากอีก 3 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มพานาเวียเอฟ และวาลิโอลิงค์ทู ที่ระยะเวลาต่างๆ พบว่ามีความแข็งแรงยึดเฉือนเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) กลุ่มที่มีความแข็งแรงยึดเฉือนสูงที่สุดคือ กลุ่มที่ 1 ซึ่งมีค่ามากกว่า กลุ่มที่ 5 แต่ค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนกลุ่มที่ค่าความแข็งแรงยึดเฉือนต่ำที่สุดคือ กลุ่มที่ 12 ซึ่งมีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ 11 และกลุ่มที่ 10 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสามกลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05)ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มซึ่งทดสอบก่อน 24 ชั่วโมง ที่ใช้ วาลิโอลิงค์ทู และพานาเวียเอฟ คือกลุ่มที่ 6, 2, 3, 7, 8 และ 4 จากมากไปน้อยตามลำดับ ซึ่งทั้งหกกลุ่มกลางมีค่าทางสถิติต่ำกว่าสองกลุ่มแรก แต่ก็มีค่าสูงกว่าทุกกลุ่มที่ใช้ซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กลุ่มทดสอบที่ 9 มีค่าสถิติที่แตกต่างจากทุกกลุ่มทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่าเมื่อใช้เรซินซีเมนต์ยึดชิ้นงานไอพีเอสเอมเพรสทู ควรใช้เรซินที่มีบีสจีเอมเอ หรือเอมดีพีเป็นองค์ประกอบหลัก และควรทิ้งระยะเวลาก่อนขัดแต่งอย่างน้อย 60 นาทีen
dc.description.abstractalternativeTo evaluate shear bond strength for IPS Empress 2 using resin cement 3 systems having different polymerization process and different periods that specimens were stored after working time. IPS Empress 2 cylindrical specimens were prepared in two sizes 120 piece each. The adhesion surfaces were treated with HF, silane before apply resin cements 3 systems following as manufacture instructions. All specimens were divided in 12 groups. Group 1-4 used Valiolink II in the difference period of storage time that was 24 hours, 120, 90 and 60 minutes. Group 5-8 used Panavia F for the same 4 different of storage too. Group 9-12 used Super Bond C&B for 4 different of storage times too. All specimens were subjected to shear bond strength (SBS) evaluation. All data were statistically analysed with two-way ANOVA, one-way ANOVA and Tukey's analysis. After analysis found that type of cements and times affected to SBS statistically (p<0.05). Super Bond C&B groups have lower SBS than Panavia F groups and Variolink II groups in every periods of time statistically (p<0.05). In Variolink II groups, the 24 hours group had SBS different from other 3 groups statistically (p<0.05). All Panavia F groups compared to Variolink II groups had no statistically difference (p>0.05). Group 1 had the maximum SBS, greater than group 5 but no significant difference (p<0.05). The minimum SBS was in group 12 that had less SBS than group 11 and 10 but not a significant difference (p<0.05). No significant differences were observed in group 6, 2, 3, 7, 8 and 4 in descending order. These middle 6 groups were groups of Variolink II and Panavia F that tested before 24 hours. The middle 6 groups had significant difference (p>0.05) with the 2 maximum groups and had SBS more than all group that used Super Bond C&B. Group 1 had significant difference (p>0.05) with all other groups. This study recommended that Bis-GMA or MDP based resin cement should be used and store restoration for 60 minutes before adjusted when making IPS Empress 2 restorations.en
dc.format.extent1446298 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเรซินทางทันตกรรมen
dc.subjectทันตกรรมประดิษฐ์en
dc.subjectการยึดติดทางทันตกรรมen
dc.titleความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างไอพีเอส-เอมเพรสทู และเรซินซีเมนต์ 3 ระบบen
dc.title.alternativeShear bond strength between IPS-empress 2 and resin cement 3 systemsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChairat.W@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Palawat.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.