Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11569
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัญชริดา อัครจรัลญา-
dc.contributor.advisorวราภรณ์ ลีพิพัฒน์ไพบูลย์-
dc.contributor.authorพรพิมล เปรมชัยพร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-10-26T03:41:55Z-
dc.date.available2009-10-26T03:41:55Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746361112-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11569-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractเมื่อใช้ไดเบนโซไธโอฟีนเป็นตัวแทนของกำมะถันอินทรีย์ในถ่านหินลิกไนต์ สามารถแยกแบคทีเรียที่ย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนได้ 342 สายพันธุ์ เป็นแบคทีเรียที่ย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนด้วยวิถี 4S หรือวิถีที่ย่อยสลายเอาเฉพาะโมเลกุลกำมะถันออกมาจากโมเลกุลของไดเบนโซไธโอ ฟีนเพียง 1 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ K10 เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 45 ํC เมื่อเพาะเลี้ยงในอาหาร NBYE แต่เมื่อเพาะเลี้ยงในอาหารที่ปราศจากสารกำมะถัน อุณหภูมิสูงสุดที่สามารถเจริญได้คือ 25-30 ํC จากองค์ประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากกำมะถัน การเพิ่มปริมาณสารสกัดจากยีสต์มีผลทำให้การเจริญของเชื้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มปริมาณการเจริญของเชื้อนี้อาจใช้วิตามินไบโอติน ไซยาโนโคบาลามิน วิตามินรวม กรดอะมิโนอะลานีน ทริปโตเฟน กรดอะมิโนรวม แหล่งไนโตรเจนอินทรีย์ เช่น เคซีน สารสกัดจากเนื้อ เปปโตน และทริปโตน แทนสารสกัดจากยีสต์ ผลการวิเคราะห์น้ำเลี้ยงเชื้อ พบ 2-ไฮดรอกซีไบฟีนิล ซึ่งเป็นสารตัวกลางที่บ่งชี้ว่าแบคทีเรียย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนโดยวิถี 4S เฉพาะในน้ำเลี้ยงเชื้อปราศจากกำมะถันที่เติมสารสกัดจากยีสต์ เคซีน และสารสกัดจากเนื้อ ภาวะที่แบคทีเรีย K10 สามารถย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนให้ได้เป็น 2-ไฮดรอกซีไบฟีนิลสูงสุดคือ เมื่อเพาะเลี้ยงไว้ในอาหารที่ปราศจากสารกำมะถันที่เติมไดเบนโซไธโอฟีน และเติมเคซีนความเข้มข้น 0.20% แทนสารสกัดจากยีสต์ที่อุณหภูมิ 30 ํC บนเครื่องเขย่าความเร็ว 200 รอบ/นาที เป็นเวลา 3 วัน ปริมาณ 2-ไฮดรอกซีไบฟีนิลที่ได้คือ 18.0 ไมโครกรัม/100 มล. NADH มีผลทำให้กิจกรรมของเอนไซม์ย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนของแบคทีเรียสายพันธุ์ K10 สูงขึ้น พบความสัมพันธ์ระหว่างการลดลงของไดเบนโซไธโอฟีนและการเพิ่มขึ้นของ 2-ไฮดรอกซีไบฟีนิล ไม่พบพลาสมิดใดๆ ในเซลล์ของแบคทีเรียสายพันธุ์ K10 แสดงว่ายีนที่เป็นรหัสของเอนไซม์ย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนอยู่บนโครโมโซมen
dc.description.abstractalternativeBy using dibenzothiophene as the representative of organic sulfur in lignite, 342 bacterial strains capable of degrading dibenzothiophene were isolated. Only one strain isolated, K10, degraded dibenzothiophene by 4S pathway which removed only sulfur molecule from the molecule of dibenzothiophene. Bacterial strain K10 had an optimal growth temperature at 45 ํC, when grown in nutrient broth-yeast extract medium, but showed maximum growth at 25-30 ํC sulfur free mineral medium. Among the ingredient of sulfur free mineral medium, when more higher yeast extract was added the higher growth was obtained. Similar results can also be obtained by the addition of biotin, cyanocobalamin, vitamin mixture, alanine, tryptophan, casein, beef extract, peptone and tryptone in place of yeast extract. Analysis of the culture filtrate revealed the present of 2-hydroxybiphenyl, an intermediate indicating that dibenzothiophene was degrading via 4S pathway, only in sulfur free mineral medium that further supplemented with yeast extract, casein and beef extract. Optimal condition for the degradation of dibenzothiophenene to 2-hydroxybiphenyl by strain K10 in sulfur free mineral medium containing dibenzothiophene was 0.20% (w/v) casein in place of yeast extract, 200 rpm shaking at 30 ํC for 3 days, with 2-hydroxybiphenyl obtained was 18.0 ug/100 ml. The activity of dibenzothiophene degrading enzyme was found activated by NADH. A reverse relationship between dibenzothiophene and 2-hydroxybiphenyl was observed. There was no any plasmid found in strain K10 cell, therefore, the gene encoded dibenzothiophene degrading enzyme must be located in the chromosome.en
dc.format.extent986199 bytes-
dc.format.extent1355188 bytes-
dc.format.extent1071573 bytes-
dc.format.extent1328271 bytes-
dc.format.extent854143 bytes-
dc.format.extent987934 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไดเบนโซไทโอฟีนen
dc.subjectการย่อยสลายทางชีวภาพen
dc.subjectบาซิลลัสen
dc.titleการสลายไดเบนโซไธโอฟีนโดย Bacillus K10en
dc.title.alternativeDegradation of dibenzothiophene by bacillus k10en
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpimol_Pr_front.pdf963.08 kBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_Pr_ch1.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_Pr_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_Pr_ch3.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_Pr_ch4.pdf834.12 kBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_Pr_back.pdf964.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.