Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11570
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีชา คุวินทร์พันธุ์-
dc.contributor.authorโสมรัตน์ หุตาคม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-10-26T03:46:38Z-
dc.date.available2009-10-26T03:46:38Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741715145-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11570-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและโลกทัศน์ของบุคลากรในองค์กรเอกชน ที่มีบทบาทในการดูแลผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ โดยได้ทำการศึกษา บ้านพักใจ กรุงเทพมหานคร วิธีวิจัยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิจัยภาคสนาม วิธีการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยตนเองในบ้านพักใจ กรุงเทพมหานคร จากการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ของบุคลากร ด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์บุคลากรจำนวน 5 คน ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆ ชัดเจนขึ้น ในการวิจัยครั้งนี้ยังได้ทำการศึกษา ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ได้รับการดูแลจากบุคลากรอีกจำนวน 5 คน ผลการวิจัยสามารถแบ่งช่วงของการรับรู้เกี่ยวกับตนเองของบุคลากรในองค์กร เอกชนได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1 ช่วงก่อนเข้าสู่องค์กร บุคลากรเริ่มมีการรับรู้และเรียนรู้จากประสบการณ์เกี่ยวกับโรคเอดส์ด้วยตน เอง และการมีปฏิสังสรรค์กับผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานด้านเอดส์มาก่อน ซึ่งช่วยให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง เรียนรู้การปฏิบัติตัวเบื้องต้น และเกิดโลกทัศน์ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อโรคเอดส์ของคนอื่นๆ ในสังคม 2 ช่วงขณะที่ทำงานอยู่ในองค์กร เมื่อบุคลากรเข้ามาใช้ชีวิตภายในองค์กร มีการเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสังคมของผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ และเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยผ่านกระบวนการปฏิสังสรรค์กับผู้ติดเชื้อเอดส์ และบุคลากรด้วยกันเอง ซึ่งปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรมในการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม 3 ช่วงหลังจากที่ทำงานอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ เป็นช่วงเวลาที่บุคลากรรับรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและผู้ติดเชื้อ เอดส์ โดยบุคลากรแต่ละคนจะมีการรับรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ให้กับผู้ติดเชื้อเอดส์สามารถกลับสู่สังคมปกติ ภายนอก โดยการปฏิสังสรรค์กับบุคคลภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ที่พวกเขาเข้าไปอยู่ และการได้รับการยอมรับจากสังคมปกติ ที่ไม่มีการแบ่งแยกผู้ติดเชื้อเอดส์ออกจากคนปกติธรรมดาทั่วไปให้สามารถอยู่ ร่วมกันได้อย่างปกติสุข โดยบุคลากรมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ผู้ติดเชื้อเอดส์สามารถกลับไปอยู่ใน สังคมได้ กรณีศึกษาผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีทัศนะต่อการดูแลของบุคลากรแสดงให้เห็นว่า การที่ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้รับการดูแลจากบุคลากรในองค์กรเอกชนมีผลต่อการ ดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างปกติ ซึ่งการดูแลของบุคลากรช่วยให้เข้าใจปัญหาและพฤติกรรมของผู้ติดเชื้อเอดส์ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมต่อการยอมรับผู้ติดเชื้อเอดส์ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study self-perception and world view of NGO personnels in taking care of HIV infected people in Welcome House Bangkok Metropolis. This research is based on a documentary research and field survey.Data collection is carried out at Welcome House Bangkok Metropolis.The study concentrates on NGO personnel’s caring for HIV infected people.Five NGO personnels were interviewed in depth as well as some others concerned people in order to obtain more relevant information.In addition five more HIV infected people which were treated by NGO personnels were also interviewed. The result can be considered with in three broad phases concerning NGO personnels’ self-perception : 1. Before getting into the Welcome House NGO personnels began to learn and perceive their selves from personal experiences derived from interactions with other people who had work with AIDS infected people.This helped them to construct their self-perception, their behavior, and their ideas about the patients.Their attitudes towards AIDS have changed and have significant influence towards other people in society. 2. Entering the Welcome House NGO personnels learn and live with HIV infected people at Welcome House as members of AIDS community.HIV infected people are kindly treated through interaction with the NGO personnels. 3. The present at the Welcome House. NGO personnels perceive their selves as members of the community and prepare the HIV infected people to be able to return to the normal life with other people outside.Different people have different perceptions on identity of HIV infected people.Under a new atmosphere with understanding from outside society.HIV infected people hopefully will be welcome to their normal life without discrimination. Caring for HIV infected people by NGO personnels influence the idea and thought of other people to accept the HIV infected people to live their normal in society.They are more welcome nowadays.en
dc.format.extent2307005 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบ้านพักใจ (กรุงเทพฯ)en
dc.subjectการรับรู้ตนเองen
dc.subjectโรคเอดส์en
dc.subjectโรคเอดส์ -- ผู้ป่วยen
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอดส์en
dc.subjectองค์การ -- การบริหารen
dc.titleการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและโลกทัศน์ของบุคลากรในองศ์กรเอกชนเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ : ศึกษากรณีบ้านพักใจ กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeSelf-perception and world view of NGO personnel in aids care : a case study of Welcome House Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPreecha.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sommarat.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.