Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11585
Title: การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกห้องเรียน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาล
Other Titles: A development of an outdoor education program for promoting science process skills of preschoolers
Authors: สุวรรณี ขอบรูป
Advisors: ศรินธร วิทยะสิรินันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน
การศึกษานอกสถานที่
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาล ประชากรประกอบด้วย นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 30 คน จากโรงเรียนบ้านทุ่งท่าช้าง จังหวัดลพบุรี จำนวน 15 คน และโรงเรียนบ้านด่านจันทร์ จังหวัดลพบุรี จำนวน 15 คน จับฉลากได้โรงเรียนบ้านทุ่งท่าช้างเป็นกลุ่มทดลอง และได้โรงเรียนบ้านด่านจันทร์เป็นกลุ่มควบคุม ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมฯ มีดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 สร้างโปรแกรมการศึกษานอกห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาล ขั้นที่ 3 ทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาล และ ขั้นที่ 4 ปรับปรุงโปรแกรมการศึกษานอกห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาล ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเวลา 10 สัปดาห์ แบ่งเป็น การทดสอบก่อนทดลองใช้โปรแกรมฯ 2 สัปดาห์ ทดลองใช้โปรแกรมฯ 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 2 ชั่วโมง และทดสอบหลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ 2 สัปดาห์ การทดสอบก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฯ วัดโดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาลที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียน กลุ่มควบคุม และนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ 2) โปรแกรมฯ ที่ปรับปรุงแล้วเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการที่มีระยะ เวลาในการเรียนแต่ละหน่วยประมาณ 2 สัปดาห์ โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นไปตามกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์ ได้แก่ (1) ขั้นให้ประสบการณ์ก่อนออกทำกิจกรรมนอกห้องเรียน (2) ขั้นเตรียมการก่อนออกนอกห้องเรียน (3) ขั้นนำสำรวจและกระตุ้นให้พบปัญหา (4) ขั้นนำให้วางแผนและเก็บรวบรวมข้อมูล (5) ขั้นฝึกให้สรุปและบันทึกผลสาระสำคัญของโปรแกรมฯ ประกอบด้วย ความเชื่อพื้นฐาน หลักการ ผู้ใช้โปรแกรมฯ และกลุ่มเป้าหมาย โครงสร้างและลักษณะของโปรแกรมฯ และเอกสารและสื่อของโปรแกรมฯ ซึ่งได้แก่ 1) คู่มือการใช้โปรแกรมฯ จำนวน 1 เล่ม 2) แผนการจัดกิจกรรม แผนละ 1 หน่วย จำนวน 6 หน่วย ซึ่งได้แก่ หน่วยแมลง : ผีเสื้อและมด หน่วยนก หน่วยต้นไม้ หน่วยดิน หน่วยน้ำ และหน่วยลมฟ้าอากาศ และ 3) เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ (1) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (2) แฟ้มรวบรวมหลักฐานการดำเนินกิจกรรมของนักเรียน และ (3) แฟ้มรวบรวมผลงานของนักเรียนแต่ละบุคคล
Other Abstract: The purpose of this research was to develop an outdoor education program for promoting science process skills of preschoolers. The subjects were thirty preschoolers, 15 from Bantungtachang School and 15 from Bandanchan School. The preschoolers from Bantungtachang School was randomly assigned to the experimental group and the preschoolers from Bandanchan School to the control group. The method of study consisted of 4 phases namely, studying preliminary information, constructing the program, field testing and revising the program. The duration of field testing was 10 weeks, 2 weeks of pre-testing, 6 weeks of conducting the experiment, and 2 weeks of post-testing. The pre-testing and post-testing were measured by the science process skills test constructed by the researcher. The research results were as follows : 1) after the field testing, the scores on science process skills of the experimental group were significantly higher than that of the contrlo grorp and after the field testing the scores on science process skills of the experimental group were significantly higher than before at the .01 level. 2) the revised outdoor education program for promoting science process skills of preschoolers was the guideline for organizing integrated and thematical instruction requiring about 2 weeks for each unit. The steps of instructional activities based on science process were 1) providing background experiences, 2) preparation of the outdoor activities, 3) guiding topic investigation and problem identification, 4) guiding to plan and collect information, and 5) guiding to conclude and record the results. The content of the program consisted of its underlying theoretical approach, principles, roles and responsibilities of the program user and the students, program structure and features, and program materials which were 1) a teacher's handbook for implementing the program, 2) six sets of activities plans for six units of study on insects ; butterflies and ants, birds, plants, soil, water, and weather and climate, and 3) tools for instructional evaluation : a form for evaluating science process skills, a file for collecting evidences of instructional activities, and a file for collecting products of each individual student.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11585
ISBN: 9746391321
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwannee_Kh_front.pdf922.45 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Kh_ch1.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Kh_ch2.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Kh_ch3.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Kh_ch4.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Kh_ch5.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Kh_back.pdf8.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.