Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1167
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบัณฑิต เอื้ออาภรณ์-
dc.contributor.authorพิทักษ์ ทางรัตนสุวรรณ, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-27T09:11:53Z-
dc.date.available2006-07-27T09:11:53Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740314643-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1167-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractในปัจจุบันการก่อสร้างและการขยายระบบส่งไฟฟ้ากำลังให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นมักจะถูกจำกัดโดยเงื่อนไขทางด้านสิ่งแวดล้อมและเงื่อนไขทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทำให้เกิดแนวความคิดในการใช้ประโยชน์จากระบบส่งไฟฟ้ากำลังที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณและทิศทางการไหลของกำลังไฟฟ้าระหว่างแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าและศูนย์กลางความต้องการพลังงานไฟฟ้าไปอย่างมากและรวดเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดำเนินงานควบคุมการไหลของกำลังไฟฟ้าให้ไหลผ่านโครงข่ายสายส่งอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ความก้าวหน้าในการพัฒนาอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์กำลังทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบไฟฟ้ากำลังซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีระบบส่งไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูงและเทคโนโลยี FACTS ซึ่งสามารถใช้จัดการกับปัญหาข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ระบบไฟฟ้ากำลังมีสมรรถนะที่สูงขึ้น ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการนำเสนอวิธีการปรับปรุงสมรรถนะของระบบไฟฟ้ากำลังด้วยระบบส่งไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูงและอุปกรณ์ FACTS ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การควบคุมการไหลของกำลังไฟฟ้า การแก้ไขปัญหากำลังเกินในสายส่ง การเพิ่มความสามารถในการส่งผ่านกำลังไฟฟ้าสูงสุด และการลดราคาต้นทุนการผลิตกำลังไฟฟ้า โดยอาศัยการวิเคราะห์เพาเวอร์โฟลว์เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลกระทบของอุปกรณ์ควบคุมชนิดต่างๆ ที่มีต่อระบบ นอกจากนั้นในวิทยานิพนธ์นี้ได้นำเสนออัลกอริธึมสำหรับการคำนวณเพาเวอร์โฟล์วที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพสูงโดยใช้วิธีของนิวตัน-ราฟสัน สำหรับโปรแกรมการคำนวณที่ได้พัฒนาขึ้นนี้อาศัยเทคนิค SPARSE และเทคนิคการจัดเรียงบัสอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มความเร็วในการคำนวณและลดจำนวนหน่วยความจำที่ใช้ วิธีการที่นำเสนอทั้งหมดจะนำมาทดสอบกับระบบทดสอบมาตรฐานของ IEEE ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการติดตั้งระบบส่งไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูงและอุปกรณ์ FACTS เพิ่มเข้าไปในระบบไฟฟ้ากำลังจะช่วยปรับปรุงสมรรถนะของระบบไฟฟ้ากำลังให้สูงขึ้นเป็นอย่างมากen
dc.description.abstractalternativeIn recent years, the construction and expansion of new transmission systems to serve the increased electricity demand has been limited by environmental and economic constraints. Therefore, it is necessary to efficiently utilize the existing transmission system capabilities. However, the locations of generation and the load centers can change dramatically and rapidly in deregulated and power pool market. So, it becomes more important to control the power flow along the transmission network efficiently. The fast development of power electronic devices has led to innovative technologies such as High Voltage Direct Current (HVDC) transmission systems and Flexible Alternating Current Transmission Systems (FACTS) which provide better impact to electric power system considerably. Using these technologies, the entire problems described above can be handled efficiently. This thesis presents an alternative approach to improve the electric power system performance with HVDC transmission systems and FACTS devices. Thesystem performance improvement consists of controlling the power flow, relieving the line overload, increasing the power transfer capability and decreasing generation costs. Since HVDC transmission systems and FACTS devices are new control devices employed within the electric power systems, there is a need for developing tools to investigate their impacts on the systems. Using power flow analysis as a tool, this thesis presents a systematic and efficient algorithm for performing power flow calculation of a generalised power system configuration. The proposed power flow program is based on the Newton-Rhapson method, complemented with sparsity and optimal bus ordering techniques. Using these programming techniques, the proposed program has become faster and uses the storage requirements lower than the conventional program. The proposed methods have been tested with the standard IEEE test systems. The obtained results demonstrate that the proposed methods can be used to verify the effects of HVDC transmission systems and FACTS devices on the power system and we can use these control devices to improve the power system performance with satisfied results.en
dc.format.extent1326531 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectระบบไฟฟ้ากำลังen
dc.subjectการส่งกำลังไฟฟ้าen
dc.titleการปรับปรุงสมรรถนะของระบบไฟฟ้ากำลังด้วยระบบส่งไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูงและอุปกรณ์ FACTSen
dc.title.alternativePower system performance improvement by HVDC transmission systems and facts devicesen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorBundhit.E@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pitak.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.