Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11891
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรพล วิรุฬห์รักษ์ | - |
dc.contributor.author | เนาวรัตน์ เทพศิริ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2009-12-23T08:00:18Z | - |
dc.date.available | 2009-12-23T08:00:18Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746355791 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11891 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเครื่องแต่งกายตัวชุดพระและนางของละครรำ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่ตั้งกรุงในสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงปีที่ 50 ในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2325-2539) โดยใช้กระบวนการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบ จากข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดีบทละคร งานศิลปกรรม และภาพถ่าย ตลอดจนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการสร้างและการแต่งเครื่องแต่งตัวละคร ทั้งนี้ในการเปรียบเทียบด้านความงาม ได้ใช้หลักสุนทรียศาสตร์ของศิลปะไทย เป็นแนวทางในการพิจารณาเปรียบเทียบ ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า เครื่องแต่งตัวชุดพระและนางนั้นต่างมี "รูปแบบ" ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละชุดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งยังคงยึดถือเป็น "แบบฉบับ" มาจนถึงทุกวันนี้ แม้จะมีการเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงไปบ้างในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนกลาง ซึ่งก็เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยในรายละเอียด แต่ในที่สุดก็กลับไปใช้ใน "รูแบบ" เดิม ดังนั้นสิ่งที่เห็นได้ในการเปลี่ยนแปลงจึงไม่ได้อยู่ที่ "รูปแบบ" หากแต่อยู่ที่ "รูปทรง" และ "รายละเอียด" รวมทั้ง "ความงาม" ที่เกิดจากการสร้างและการแต่งที่เบี่ยงเบนไปจากเดิม ความแตกต่างในด้านการสร้างชิ้นส่วนเครื่องแต่งตัวที่เป็นผ้าปักพบว่า ในปัจจุบันมีขนาดเล็ก แคบสั้น และหนากว่าในอดีต ทำให้มีผลกระทบต่อสัดส่วนในการแต่ง ส่วนในด้านการสร้างเครื่องประดับพบว่า มีการลดรายละเอียดลงจากเดิมมาก จนบางชิ้นบางอย่างเหลือเพียงรูปร่างลักษณะโดยรวมเท่านั้น ส่วนความแตกต่างในด้านการแต่งพบว่า การแต่งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีลักษณะตรงข้ามกับการแต่งในอดีต สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านการสร้างและการแต่งนั้นได้ข้อสรุปว่า นอกจาก "วัสดุ" จะเปลี่ยนแปลงแล้ว "ความรู้ด้านศิลปะไทย" ของกลุ่มช่างผู้สร้างและผู้ที่ทำหน้าที่แต่ง ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การสร้างและการแต่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมด้วย ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาในส่วนความรู้ด้านศิลปะไทยของช่างเหล่านั้นให้ดีขึ้น เพื่อจะได้สร้างสรรค์แต่ผลงานที่มีคุณค่าทางศิลปะดังเดิม | en |
dc.description.abstractalternative | Aims at studying the change of male and female costumes of dance-drama between 1782-1996. It is a comparative study based upon historical documents, literature, plays, paintings and photographs including the interview with persons involving in making costumes. Thai aesthetic principles are the basis for comparison. The research finds that the costumes had a particular style of the period since the late Ayudhaya. They are still remain as their traditional pattern until today. The alteration during the early Bangkok period was only minor. Finally, the former pattern was revived but the details are slightly different in form, details and its aesthetic quality. The different of the parts of costumes is seen in the size of the embroided clothes which are generally smaller, thicker. This effect is overall appearance. The decorative pieces are less detailing. The dress technique has a different sequence from former day. The change in costume making and dress technique may be derived from the new materials, handicraft quality and the craftmans' knowledge in Thai arts. Thus, these people should be developed in their knowledge and skill in order to produce artistic quality of their theater costume." | en |
dc.format.extent | 776378 bytes | - |
dc.format.extent | 759375 bytes | - |
dc.format.extent | 2304801 bytes | - |
dc.format.extent | 1221126 bytes | - |
dc.format.extent | 795944 bytes | - |
dc.format.extent | 883419 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ละครรำ | en |
dc.subject | เครื่องแต่งกายละคร | en |
dc.title | เครื่องแต่งตัวชุดพระและนางของละครรำ (พ.ศ. 2325-พ.ศ. 2539) | en |
dc.title.alternative | Male and female standard costume of Thai classical dance-drama (1782-1996) | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Surapone.V@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nowwarat_Te_front.pdf | 758.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nowwarat_Te_ch1.pdf | 741.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nowwarat_Te_ch2.pdf | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nowwarat_Te_ch3.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nowwarat_Te_ch4.pdf | 777.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nowwarat_Te_back.pdf | 862.71 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.