Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/119
Title: ผลการฆ่าเชื้อของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่พี-เอช ต่างๆ ต่อเชื้อที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในห้องปฏิบัติการ
Other Titles: The antimicrobial effect of calcium hydroxide at different pH on aerobic and anaerobic bacteria in vitro
Authors: กิตติยา สัจจะปกาสิต, 2517-
Advisors: สุรสิทธิ์ เกียรติพงศ์สาร
จินตกร คูวัฒนสุชาติ
อัญชนา พานิชอัตรา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Panchana@chula.ac.th
Kjintako@chula.ac.th
Subjects: สารต้านการติดเชื้อ
แคลเซียมไฮดรอกไซด์
คลองรากฟัน
แบคทีเรีย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แคลเซียมไฮดรอกไซด์เป็นยาใส่ในคลองรากฟันที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากประสิทธิภาพในการ ฆ่าเชื้อที่ดีซึ่งสัมพันธ์กับความเป็นด่างที่สูง แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ หลายประการที่ทำให้ความเป็นด่างของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ไม่อยู่ในระดับที่สามารถทำลายเชื้อได้ นอกจากนั้นเชื้อแต่ละชนิดยังมีความทนทานต่อความเป็นกรด-ด่างที่แตกต่างกันไป การศึกษาในห้องปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฆ่าเชื้อของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ระดับความเป็นกรด-ด่างต่างๆ ต่อเชื้อ Porphylomonas gingivalis Actinomyces viscosus Streptococcus mitis Staphylococcus aureus และ Enterococcus faecalis โดยทดสอบกับปริมาณของแบคทีเรียที่หลงเหลืออยู่จากการขยายคลองรากฟัน (10[superscript 3] โคโลนี) พบว่าระดับความเป็นกรด-ด่างที่มีผลในการทำลายเชื้อ Actinomyces viscosus และ Streptococcus mitis คือระดับความเป็นกรด-ด่างสูงกว่า 10.50 โดยใช้เวลา 6 และ 12 ชั่วโมง ตามลำดับ ในขณะที่ความเป็นกรด-ด่างที่มีผลต่อการทำลายเชื้อ Staphylococcus aureus และ Porphylomonas gingivalis คือระดับความเป็นกรด-ด่างสูงกว่า 10.50 โดยใช้เวลา 12 ชั่วโมง และที่ระดับความเป็นกรด-ด่าง 11.00 ใช้เวลา 6 ชั่วโมง นอกจากนั้นพบว่าเชื้อ Enterococcus faecalis ถูกทำลายที่ระดับความเป็นกรด-ด่างสูงที่สุดคือที่ระดับความเป็นกรด-ด่างสูงกว่า 11.50 โดยใช้เวลา 24 ชั่วโมง
Other Abstract: Calcium hydroxide is one of the most effective antimicrobial agent due to its highly alkaline properties. However, there efficacy is limited due to reduced alkaline. Furthermore, each bacterial strain tolerates in different pH level. The objective of this study was to determine the antimicrobial effect of calcium hydroxide at different pH levels on Porphylomonas gingivalis Actinomyces viscosus Streptococcus mitis Staphylococcus aureus and Enterococcus faecalis by testing with quantity of bacteria after root canal instrumentation (10[superscript 3] cfu.). The result of this study shown that the pH higher than 10.50 after 6 and 12 hours incubation had and antimicrobial effect on Actinomyces viscosus and Streptococcus mitis respectively. Whereas Staphylococcus aureus and Porphylomonas gingivalis reported the pH at 10.50, 12 hours and 11.00 at 6 hours. In addition Enterococcus faecalis reported the highest pH (higher than 11.50 at 24 hours).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาเอ็นโดดอนต์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/119
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1299
ISBN: 9741734859
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1299
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittiya.pdf913.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.