Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1205
Title: ผลกระทบของสเวิร์ลนัมเบอร์ต่อคุณลักษณะการผสม ของเจ็ตร้อนที่หมุนควงในกระแสลมทวน
Other Titles: Effects of the swirl number on mixing characteristics of a heated swirling jet in counterflow
Authors: พงศ์พฤทธิ์ อุปถัมภ์นรากร, 2520-
Advisors: อศิ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: basi@chula.ac.th
Subjects: เจ็ต -- พลศาสตร์ของไหล
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาคุณลักษณะการไหลของเจ็ตร้อนที่หมุนควงในกระแสลมทวน ซึ่งมุ่งเน้นที่ผลกระทบของความเร็วในการหมุนควงต่อคุณลักษณะการผสมของเจ็ต โดยใช้ค่า Swirl ratio (Sr) เป็นตัวบ่งชี้ถึงระดับการหมุนควง สำหรับเจ็ตร้อนที่หมุนควงนั้นได้จากการเป่าอากาศร้อนผ่านชุดท่อหมุน ซึ่งภายในบรรจุ Honeycomb ทำให้การไหลมีความเร็วตามแนวสัมผัสของเจ็ตที่ขอบปากเจ็ตและผลรวมของค่า Circulation รอบปากเจ็ตไม่เป็นศูนย์ ในการทดลองได้วัดการกระจายตัวของอุณหภูมิโดยเฉลี่ย บนระนาบหน้าตัดตั้งฉากกับทิศทางการไหลของเจ็ตที่ตำแหน่งต่างๆ ตามแนว Downstream เพื่อศึกษาคุณลักษณะการผสมเฉพาะหน้าตัดและคุณลักษณะการผสมโดยรวม โดยทดลองที่อัตราส่วนความเร็วประสิทธิผลคงที่ที่ 4.62 และเปลี่ยนค่า Swirl ratio เพื่อศึกษาผลของการหมุนควงทั้งหมด 4 ค่าคือที่ Swirl ratio เท่ากับ 0 (กรณีที่เจ็ตไม่มีการหมุนควง), 0.11, 0.22 และ 0.33 และที่ค่าเรย์โนลด์นัมเบอร์ของเจ็ตประมาณ 10,000สำหรับผลการทดลองดังกล่าวได้นำมาเปรียบเทียบกับผลการทดลอง ในกรณีการไหลแบบเจ็ตหมุนควงอิสระ ซึ่งได้ทำควบคู่กันไปเพื่อใช้เป็นกรณีพื้นฐานสำหรับการเปรียบเทียบ จากผลการทดลองในกรณีการไหลแบบเจ็ตหมุนควงอิสระพบว่า การหมุนควงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผสมของเจ็ตให้ดียิ่งขึ้น โดยเจ็ตจะมีการกระจายตัวเพิ่มขึ้น และมีอุณหภูมิตามแนวแกนลดลงอย่างรวดเร็วขึ้น เมื่อการไหลมีระดับการหมุนควงเพิ่มขึ้น แต่การหมุนควงจะไม่ส่งผลให้รูปร่างการกระจายตัวของเจ็ต เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยในกรณีที่มีการหมุนควง เจ็ตจะมีรูปร่างการกระจายตัวที่มีลักษณะค่อนข้างกลม และมีความสมมาตรเช่นเดียวกับการไหลในกรณีที่ไม่มีการหมุนควง สำหรับผลการทดลองในกรณีการไหลแบบเจ็ตหมุนควงในกระแสลมทวนพบว่า การหมุนควงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผสมของเจ็ตในกระแสลมทวนให้ดียิ่งขึ้น โดยทำให้การไหลแบบเจ็ตในกระแสลมทวนมีการกระจายตัวเพิ่มขึ้น มีอุณหภูมิตามแนวแกนลดลงได้รวดเร็วขึ้น และมีระยะ Penetration depth สั้นลง เมื่อการไหลมีระดับการหมุนควงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า การหมุนควงจะไม่ส่งผลต่อรูปร่างการกระจายตัวเฉลี่ย ของการไหลแบบเจ็ตหมุนควงในกระแสลมทวน ซึ่งได้ผลเช่นเดียวกับการไหลแบบเจ็ตหมุนควงอิสระ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาผลของการหมุนควงในการไหลแบบเจ็ตหมุนควงอิสระ เปรียบเทียบกับในการไหลแบบเจ็ตหมุนควงในกระแสลมทวนพบว่า การหมุนควงจะส่งผลต่อการไหลแบบเจ็ตอิสระมากกว่า การไหลแบบเจ็ตในกระแสลมทวน โดยเมื่อเพิ่มระดับการหมุนควงในปริมาณที่เท่ากันแล้ว การไหลแบบเจ็ตหมุนควงอิสระจะมีการลดลงของอุณหภูมิตามแนวแกนมากกว่า ซึ่งสังเกตได้จากในกรณีการไหลแบบเจ็ตหมุนควงอิสระจะมีระยะทางในการสลายตัวของอุณหภูมิหดสั้นลงได้มากกว่าในกรณีการไหลแบบเจ็ตหมุนควงในกระแสลมทวน โดยเมื่อเพิ่มระดับการหมุนควงจาก Swirk ratio เท่ากับ 0 (ไม่มีการหมุนควง)เป็น 0.33 นั้น การไหลแบบเจ็ตหมุนควงอิสระจะมีระยะที่อุณหภูมิส่วนเกินที่แกนเจ็ตลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของอุณหภูมิส่วนเกินทั้งหมด ((ระยะที่ C [subscript T]=0.5) สั้นลงประมาณ 27% ในขณะที่การไหลแบบเจ็ตหมุนควงในกระแสลมทวนจะมีระยะที่ C [Subscript T] =0.5 สั้นลงไปเพียง 17 % เท่านั้น นอกจากนี้ในการศึกษาวิจัยในกรณีการไหลแบบเจ็ตหมุนควงในกระแสลมทวนยังพบว่า ระยะ Penetration depth (X [Subscript P] กับค่า Swirl ratio (Sr) จะมีความสัมพันธ์กันประมาณเป็นฟังก์ชันพาราโบลา ตามสมการ X [Subscript p]/d = -10.33 Sr [Superscript 2] - 2.5 Sr + 12.63 โดยที่ d คือ เส้นผ่านศูนย์กลางปากเจ็ต
Other Abstract: Experiments for the investigation of the effect of swirl on the mixing characteristics of a heated swirling jet in counterflow were conducted. The heated swirling jet with non-zero tangential velocity, non-zero circulation was generated by passing hot air through a rotating pipe with honeycomb. Temperature distributions in the cross planes downstream of the jet were surveyed in order to investigate both local and global mixing characteristics. The experiments were conducted at a fixed effective velocity ratio of 4.62 and the swirl ratios (Sr) of 0 (no swirl), 0.11, 0.22, and 0.33, at a Reynolds number of approximately 10,000. The results were compared with those of the investigation of the effect of swirl on the mixing characteristics of a free swirling jet that were conducted in parallel. For free swirling jet, the results indicated that swirl enhanced jet mixing further from that of non-swirling jet. This was shown through increases in jet spreading and centerline temperature decay as swirl ratio was increased. On the other hand, swirl had little influence on the shape of average temperature distribution, both free swirling jet and non-swirling jet had symmetric, circular temperature distribution. For swirling jet in counterflow, the results indicated that swirl enhanced jet mixing even further from that of a jet in counterflow. This was shown through increases in jet spreading and centerline temperature decay and decrease in penetration depth as swirl ratio was increased. Similar to the free swirling jet case, swirl had little influence on the shape of average temperature distribution, being symmetric and circular as in the case of a jet in counterflow. When the effects of swirl on free swirling jet were compared to those on swirling jet in counterflow, they revealed that swirl had more influence on free swirling jet than swirling jet in counterflow. Specifically, the centerline temperature of free swirling jet decayed faster than that of swirling jet in counterflow, when comparison was made at the same amount of increase in swirl ratio. In particular, as swirl ratio increased from 0 (no swirl) to 0.33, the fifty-per-cent decay length, the length at which the excess temperature reduced to half of the original value at the jet exit (CT = 0.5), was shortened by 27% in swirling jet case and by 17% in swirling jet with counterflow case. In addition, the present study revealed that the effect of swirl on the penetration depth (xp) of a swirling jet in counterflow could be approximated by a parabolic relation: xp/d=-10.33Sr2-2.5Sr+12.63, where d was a diameter of the jet exit.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1205
ISBN: 9740315143
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongput.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.