Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12186
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิโรจ ศศิปรียจันทร์-
dc.contributor.advisorประจักษ์ พุ่มวิเศษ-
dc.contributor.advisorอัจฉรา ธวัชสิน-
dc.contributor.authorกาญจน์ เชื้อศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-03-15T02:55:13Z-
dc.date.available2010-03-15T02:55:13Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741724942-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12186-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการทดลองที่ 1 ศึกษาผลของวิธีการให้วัคซีนต่อการสร้างแอนติบอดีและการป้องกันโรค โดยแบ่งไก่เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับวัคซีนใดๆ ไก่กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับวัคซีนป้องกันโรคเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อ(Infectious Bursal Disease, IBD) เมื่อไก่อายุ 21 วัน โดยการหยอดปากและโดยการหยอดทวารร่วมตามลำดับ ให้เชื้อเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อ (IBDV) เมื่อไก่อายุ 35 วัน ผลการทดลองพบว่าระดับแอนติบอดีของไก่กลุ่มที่ 3 สูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ 1 (P<0.05) อัตราส่วนของน้ำหนักต่อมเบอร์ซ่าต่อน้ำหนักตัว (Bursa to body weight ratio; B:Bw) ของไก่กลุ่มที่ 3 สูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ 1 (P<0.05) คะแนนรอยโรคทางจุลพยาธิ (Histopathological Lesion Score; HLS) ของไก่กลุ่มที่ 3 ต่ำกว่ากลุ่มที่ 2 และ 1 (P<0.05) อัตราการตายของไก่กลุ่มที่ 2 และ 3 ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของวิธีการให้วัคซีนต่อการกดภูมิคุ้มกันโรคโดยแบ่งไก่เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับวัคซีนใดๆ กลุ่มที่ 2 ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล (ND) โดยวิธีหยอดตา กลุ่มที่ 3 ให้วัคซีน IBD โดยวิธีการหยอดปากและวัคซีน ND และกลุ่มที่ 4 ให้วัคซีน IBD โดยวิธีการหยอดทวารร่วมและวัคซีน ND และให้เชื้อนิวคาสเซิล (NDV) เมื่อไก่อายุ 42 วัน ผลการทดลองพบว่า ระดับแอนติบอดีต่อโรคนิวคาสเซิลในกลุ่มที่ 4 ต่ำกว่ากลุ่มที่ 3 และ 2 (P<0.05) B:Bw กลุ่มที่ 3 สูงกว่ากลุ่มที่ 4 (P<0.05) HLS กลุ่มที่ 3 และ 4 ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) อัตราการตายในกลุ่มที่ 2 3 และ 4 ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) การทดลองที่ 3 ศึกษาผลของวิธีการให้วัคซีนที่อายุต่างๆต่อการสร้างแอนติบอดีและการป้องกัน โรค โดยแบ่งไก่เป็น 9 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับวัคซีนใดๆ กลุ่มที่ 2-5 ให้วัคซีน IBD โดยวิธีการหยอดปากเมื่อไก่อายุ 1 7 14 และ 21 วันตามลำดับ กลุ่มที่ 6-9 ได้รับวัคซีน IBD โดยวิธีการหยอดทวารร่วมเมื่อไก่อายุ 1 7 14 และ 21 วันตามลำดับ ให้เชื้อ IBDV เมื่อไก่อายุ 35 วัน ผลการทดลองพบว่า ระดับแอนติบอดีในกลุ่มที่ 4 5 8 และ 9 สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ B:BW ไม่แตกต่างกัน HLS ในกลุ่มที่ 5 8 และ 9 ต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) อัตราการตาย กลุ่มที่ 5 ต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) การทดลองที่ 4 ศึกษาผลของวิธีการให้วัคซีนต่อระยะเวลาในการสร้างแอนติบอดีและการป้องกันโรค โดยแบ่งไก่ออกเป็น 11 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับวัคซีนใดๆ กลุ่มที่ 2-6 ให้วัคซีน IBD โดยวิธีหยอดปากเมื่อไก่อายุ 21 23 26 29 และ 32 วันตามลำดับ กลุ่มที่ 7-11 ให้วัคซีน IBD โดยวิธีการหยอดทวารร่วมเมื่อไก่อายุ 21 23 26 29 และ 32 วันตามลำดับ และให้เชื้อ IBDV เมื่อไก่อายุ 35 วัน ผลการทดลองพบว่าระดับแอนติบอดี กลุ่มที่ 4 7 8 และ 10 สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) B:Bw กลุ่มที่ 1 2 และ 7 สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ HLS กลุ่มที่ 1 และ 2 สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) อัตราการตาย กลุ่มที่ 1 สูงกว่ากลุ่มที่ 3-11 (P<0.05)en
dc.description.abstractalternativeIn experiment 1 was to determine the effect of vaccination route on the immune response. Chicks were divided into 3 groups. Group 1 was control. Group 2 was received infactious bursal disease (IBD) vaccine by oral route. Group 3 was received IBD vaccine by cloacal route. All 3 groups were challenged with IBDV 2 weeks post vaccination. The results revealed that. The serum titer from group 2 was higher (P<0.05) than group 3 and 1. Bursa to body weight ratio (B:Bw) of group 3 was higher (P<0.05) than group 1 and 2. Bursa histopathological lesion score (HLS) of group 3 was lower (P<0.05) than group 1 and 2. No statistical significant difference in mortality rate between group 2 and 3. In experiment 2 was to determine effect of vaccination route on the immunosuppression. Chicks were divided into 4 group. Group 1 was control. Group 2 was received Newcastle Disease (ND) vaccine. Group 3 was received IBD vaccine by oral route and ND vaccine by eye –drop route. Group 4 was received IBD vaccine by cloacal route and ND vaccine by eye-drop route. All chicks were challenged with ND virus 2 weeks post ND vaccination. The results revealed ND-HI titer of group 4 was lower (P<0.05) than group 3 and 2. B:Bw of group 3 was higher (P<0.05) than group 4. HLS was no difference between group 3 and 4 (P>0.05). No statistical significant difference in mortality rate between group 2, 3 and 4. In experiment 3 was to determine the effect of vaccination route in various age on the immune response. Chicks were divided into 9 group. Group 1 was control. Group 2-5 were received IBD vaccine once by oral route at the age of 1, 7, 14 and 21 day-old, respectively. Group 6-9 were received IBD vaccine once by cloacal route at the age of 1, 7, 14 and 21 day-old, respectively. Chicks were challenged with IBD virus at 35 day-old. The results revealed titer of group 4, 5, 8 and 9 were higher (P<0.05) than other. There were no difference (P>0.05) in B:Bw. HLS of group 5,8 and 9 were lower (P<0.05) than other. Mortality rate of group 5 was lower (P<0.05) than other. In experiment 4 was to determine the effect of vaccination route on time to develop the immune response. Chicks were divided into 11 groups. Group 1 was control. Group 2-6 were received IBD vaccine by oral route at 21, 23, 26, 29 and 32 day-old, respectively. Group 7-11 was received IBD vaccine by cloacal route at 21, 23, 26, 29 and 32 day-old, respectively. Chicks were challenged with IBD virus at 35 day-old. The results revealed ELISA titer of group 4, 7, 8 and 10 were higher (P<0.05) than other. B:Bw of group 1, 2 and 7 were lower (P<0.05) than others. HLS of group 1 and 2 was higher (P<0.05) than others. Mortality rate of group 1 higher (P<0.05) than group 3-11.en
dc.format.extent1589588 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการให้วัคซีนสัตว์en
dc.subjectไก่ -- การให้วัคซีนen
dc.subjectต่อมเบอร์ซาen
dc.titleการศึกษาการให้วัคซีนป้องกันโรคเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อโดยวิธีหยอดปากและหยอดทวารร่วมen
dc.title.alternativeStudies on infectious bursal disease vaccination via oral and cloacal routesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์สัตว์ปีกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJiroj.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorAchara.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Garn.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.