Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12217
Title: การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอกโรคหัวใจขาดเลือดที่โรงพยาบาลราชบุรี
Other Titles: Pharmaceutical care for ischemic heart disease outpatients at Ratchaburi Hospital
Authors: สุภาพร หอมดี
Advisors: อัจฉรา อุทิศวรรณกุล
ธนศักดิ์ พัทมุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Achara.U@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรงพยาบาลราชบุรี
การบริบาลทางเภสัชกรรม
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเมินผลการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอกโรคหัวใจขาดเลือด ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึง 31 ธันวาคม 2545 โดยสุ่มผู้ป่วย 98 รายจากคลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชบุรี กิจกรรมการบริบาลทางเภสัชกรรม ได้แก่ การค้นหา ป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการรักษาด้วยยา ติดตามการใช้ยาและให้ข้อมูลแก่แพทย์และผู้ป่วย ผลการศึกษาพบว่า สืบค้นปัญหาจากการรักษาด้วยยาได้ 171 ปัญหาในผู้ป่วย 90 ราย ปัญหาที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาตามสั่ง พบ 111 ปัญหา (64.9%) ในผู้ป่วย 70 ราย (71.4%) ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาเพิ่มเติม พบ 28 ปัญหา (16.4%) ในผู้ป่วย 28 ราย (28.6%) และผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา พบ 14 ปัญหา (8.2%) ในผู้ป่วย 12 ราย (12.2%) ตามลำดับ สาเหตุของปัญหาที่พบมากเรียงตามลำดับคือ ผู้ป่วยขาดความรู้ในเรื่องยาและโรค แพทย์ขาดข้อมูลที่สมบูรณ์ของผู้ป่วย และความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา ตามลำดับ จากปัญหาทั้งหมดนี้ สามารถป้องกันได้ 37 ปัญหา (21.6%) ปัญหาที่แก้ไขได้มี 111 ปัญหา (64.9%) และมีปัญหาที่ยังแก้ไขไม่สำเร็จ 23 ปัญหา (13.5%) เมื่อผู้วิจัยประสานงานกับแพทย์พบว่า แพทย์เห็นด้วยกับปัญหาและแนวทางแก้ไข 54 ปัญหา (85.7%) แพทย์เห็นด้วยกับปัญหาและแนวทางแก้ไขบางส่วน 7 ปัญหา (11.1%) และปัญหาที่แพทย์ไม่เห็นด้วย 2 ปัญหา (3.2%) แพทย์มีทัศนคติที่ดีและพึงพอใจต่อการบริบาลทางเภสัชกรรมเช่นเดียวกับผู้ป่วย และทั้งแพทย์และผู้ป่วยมีความเห็นว่า น่าจะมีการดำเนินการต่อเนื่องต่อไป สรุปได้ว่าการบริบาลทางเภสัชกรรม เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ป่วยนอกโรคหัวใจขาดเลือดได้รับการดูแลรักษาที่ดี ขึ้น และเกิดประโยชน์จากการรักษาสูงสุด
Other Abstract: To evaluate the outcomes of pharmaceutical care for ischemic heart disease outpatients at Ratchaburi hospital during 1 September to 31 December, 2002. Ninety-eight randomised patients were recruited from outpatient clinic. The activities in pharmaceutical care include: identifying, preventing and resolving all actual and potential drug therapy problems; monitoring to drug therapy, providing drug information to physicians and counseling to patients.The result of study showed 171 drug therapy problems (DTP) in 90 patients. The most three common types of DTP were noncompliance 111 DTP(64.9%) in 70 patients(71.4%), need for additional drug therapy 28 DTP(16.4%) in 28 patients(28.6%), and adverse drug reaction 14 DTP (8.2%)in 12 patients(12.2%), respectively. The most common causes of DTP in descending order were: patients lacked knowledge about drugs and disease, physicians lacked complete information about patients, and medication errors respectively. Of all the DTPs, 37 DTPs(21.6%) were prevented, 111 DTP(64.9%) were resolved and 23 DTP (13.5%) were unsolved. After pharmacist's intervention, 54 interventions (85.7%) were accepted, 7 interventions (11.1%) were partially accepted and 2 interventions (3.2%) were unaccepted. Physicians had good attitude and satisfied with the pharmaceutical care as well as the patients and the project should be continued. This study can be concluded that this pharmaceutical care process can improve the patient care of heart disease and the patients will receive maximum benefit from drug therapy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12217
ISBN: 9741724241
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SuphapornHom.pdf840.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.