Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12414
Title: การยึดเกาะของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเหงือกของคนบนพื้นผิวรากฟันที่ถูกปรับสภาพด้วยเตตราไซคลีนไฮโดรคลอไรด์และกรดซิตริก
Other Titles: Attachment of human gingival fibroblasts on root surfaces conditioned with tetracycline hydrochloride and citric acid
Authors: ศิริชัย ตันตระกูลเจริญ
Advisors: นพดล ศุภพิพัฒน์
สมพร สวัสดิสรรพ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Somporn.S@Chula.ac.th
Subjects: โรคปริทันต์
คลองรากฟัน -- การรักษา
เซลล์สร้างเส้นใย
เตตราไซคลินไฮโดรคลอไรด์
กรดซิตริก
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การยึดเกาะของเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อปริทันต์มีความสำคัญอย่างมากต่อการซ่อมแซมและงอกใหม่ของอวัยวะปริทันต์ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบลักษณะพื้นผิวรากฟันและการยึดเกาะของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเหงือกของคนบนพื้นผิวของชิ้นรากฟันที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบที่ได้รับการปรับสภาพด้วยการทาสารละลายเตตราไซ-คลีนไฮโดรคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 75 มก./มล. สารละลายกรดซิตริกอิ่มตัว และนอร์มัลเซลายน์ โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดร่วมไปกับการเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องปฏิบัติการ จากการศึกษาขั้นต้นซึ่งเป็นการประเมินลักษณะของพื้นผิวขึ้นรากฟันที่ผ่านการปรับสภาพแล้วด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด พบว่าพื้นผิวภายหลังการปรับสภาพด้วยเตตราไซคลีนไฮโดรคลอไรด์มีลักษณะเป็นเส้นใยเมทริกซ์โปรตีนภายนอกเซลล์สานต่อกันเป็นร่างแหอย่างชัดเจน พื้นผิวมีลักษณะคล้ายพรม ไม่พบชั้นสเมียร์ เผยให้เห็นรูเปิดท่อเนื้อฟันในบางบริเวณเพียงเล็กน้อย ส่วนลักษณะพื้นผิวรากฟันที่ปรับสภาพด้วยกรดซิตริกอิ่มตัวมีลักษณะ เรียบ แบน สามารถกำจัดชั้น สเมียร์ได้หมดและเผยให้เห็นรูเปิดท่อเนื้อฟันในบางบริเวณ พบเส้นใยเมทริกซ์โปรตีนภายนอกเซลล์เพียงเล็กน้อย ในขณะที่พื้นผิวรากฟันที่ถูกปรับสภาพด้วยนอร์มัลเซลายน์พบว่ามีพื้นผิวขรุขระไม่เรียบ มีลักษณะเป็นลูกคลื่นถูกปกคลุมด้วยชั้นสเมียร์ และพบแบคทีเรียรูปแท่งเป็นจำนวนมาก จากการศึกษาด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่อดูการยึดเกาะของเซลล์บนชิ้นรากฟันภายหลังการปรับสภาพด้วยสารละลายแต่ละชนิด พบว่าเซลล์ส่วนใหญ่ที่พบในชิ้นรากฟันที่ได้รับการปรับสภาพด้วยเตตราไซคลีนไฮโดรคลอไรด์มีการยึดเกาะที่ดีและมีจำนวนมากกว่าเซลล์ที่ยึดเกาะบนผิวรากฟันที่ได้รับการปรับสภาพด้วยกรดซิตริกและนอร์มัลเซลายน์ ส่วนพื้นผิวรากฟันที่ถูกปรับสภาพด้วยนอร์มัลเซลายน์พบเซลล์ยึดเกาะไม่ดีในจำนวนที่มากกว่าที่พบบน ชิ้นรากฟันที่ได้รับการปรับสภาพด้วยเตตราไซคลีนไฮโดรคลอไรด์และกรดซิตริก จากการวิเคราะห์ทางสถิติของจำนวนเซลล์ที่ยึดเกาะบนพื้นผิวรากฟันที่ได้รับการปรับสภาพด้วยสารละลายแต่ละชนิด พบว่าจำนวนเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่ยึดเกาะดีและยึดเกาะทั้งหมดในกลุ่มเตตราไซคลีนไฮโดรคลอไรด์มีมากกว่ากลุ่มกรดซิตริกและกลุ่มนอร์มัลเซลายน์ และมีเซลล์ยึดเกาะไม่ดีในกลุ่มนอร์มัลเซลายน์มากกว่ากลุ่มเตตราไซคลีนไฮโดรคลอไรด์และกลุ่มกรดซิตริก อย่างมีนัยสำคัญในบางการทดลอง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารละลายเตตราไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ที่มีความเข้มข้น 75 มก./มล. สามารถนำมาปรับสภาพพื้นผิวรากฟันที่เป็นโรคปริทันต์ ได้ลักษณะพื้นผิวที่เหมาะสมต่อการยึดเกาะของเซลล์ไฟโบรบลาสต์
Other Abstract: The attachment of progenitor cells from periodontal tissue plays an important role in regeneration of the periodontium. The aims of this study were to compare the surface structures as well as the cell attachment of diseased root surfaces conditioned with 75 mg/ml tetracycline hydrochloride solution (TTC), saturated citric acid solution (CA) and normal saline (NS) by using scanning electron microscopy and cell culture techniques. Initial investigation with scanning electron microscopy, we found that the TTC-conditioned root surfaces showed clearly network of interconnecting extracellular matrix protein fibers, mat-like texture, free-of smear layer with some dentinal tubule exposure. The morphological characteristic of root surfaces treated with saturated citric acid was smooth, flat, free-of smear layer with less extracellular matrix protein fibers. The dentinal tubules were also exposed in some areas. In control group, the NS-conditioned root surfaces exhibited irregular, undulating surfaces covered with smear layer and a lot of rod-shaped bacteria. In comparative study and statistical analysis of the cell attached on differently treated root surfaces, the result showed a significantly greater number of well-attached and total-attached fibroblasts on the TTC-conditioned root surfaces than on the CA-and NS-conditioned root surfaces, and greater number of poorly attached fibroblasts on NS-conditioned root surfaces than on TTC- and CA- conditioned root surfaces in some experiments of this study. The results from this study suggested that application of 75 mg/ml tetracycline hydrochloride solution to the diseased root surface offered a hospitable surface for the fibroblast attachment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปริทันตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12414
ISBN: 9743317775
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirichai_Ta_front.pdf658.06 kBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Ta_ch1.pdf444.5 kBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Ta_ch2.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Ta_ch3.pdf622.01 kBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Ta_ch4.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Ta_ch5.pdf637.67 kBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Ta_back.pdf908.67 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.