Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12469
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิวัฒน์ ก่อกิจ | - |
dc.contributor.author | สุนิดา ยุทธโยธิน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2010-04-05T08:38:22Z | - |
dc.date.available | 2010-04-05T08:38:22Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746381504 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12469 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงบทบาทของ epidermal Langerhans' cell (LC) ในพยาธิกำเนิดของผื่น pruritic papular eruption (PPE) ที่พบร่วมกับการติดเชื้อ HIV โดยได้ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านจำนวน, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในและตรวจหาหลักฐานของเชื้อไวรัส HIV ภายในรวมทั้งรอบๆ เซลล์ชนิดนี้ในผิวหนังจากผื่น PPE ด้วยวิธีการทางอิมมูโนพยาธิวิทยาและกล้องจุลทรรศ์อิเลคตรอน ในผู้ป่วยจำนวน 20 ราย ซึ่งอยู่ในระยะ B3 9 ราย, C3 9 ราย, A3 และ B2 อย่างละ 1 ราย (แบ่งตามหลักเกณฑ์ของ CDC ในปี 2536) ทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณผื่น PPE จำนวน 2 ชิ้น โดยเลือกรอยโรคที่เกิดใหม่และรอยโรคเก่าร่วมกับผิวหนังปรกติบริเวณข้างเคียงจากผู้ป่วยรายเดียวกันอีก 1 ชิ้น เป็นกลุ่มควบคุม หลังจากนั้นแบ่งชิ้นแต่ละชิ้นออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกนำไปย้อมด้วย hematoxylin & eosin stain เพื่อตรวจดูพยาธิสภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์ ส่วนที่สองนำไปศึกษาทางอิมมูโนพยาธิวิทยาด้วย avidin-biotin-peroxidase complex method ตรวจหา CD 1 a antigen เพื่อนับจำนวนของ epidermal LC และตรวจหา HIV core protein p 24 antigen เพื่อหาหลักฐานของเชื้อไวรัส HIV ส่วนที่สามนำไปตรวจดูรูปร่างลักษณะของ epidermal LC และตรวจหาเชื้อไวรัส HIV ภายในและรอบๆ เซลล์ดังกล่าวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน ผลค่ามัธยฐานความหนาแน่นของ epidermal LC ในผื่น PPE ชนิดผื่นใหม่มีค่า 151.80 เซลล์/มม.2 สูงกว่าความหนาแน่นในผื่นเก่าและผิวหนังปรกติบริเวณข้างเคียงซึ่งมีค่า 108.95 เซลล์/มม2 และ 83.25 เซลล์-มม.2 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ผลโดยใช้การทดสอบวิลคอกซันแบบอันดับที่มีเครื่องหมาย พบว่าความหนาแน่นของเซลล์ดังกล่าวในผิวหนังชั้นหนังกำพร้าจากผื่นใหม่มีค่าสูงกว่าผื่นเก่าและผิวหนังปรกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับการศึกษาด้วยวิธีการเดียวกันตรวจไม่พบ HIV core protein p 24 antigen ในชิ้นเนื้อทุกชิ้นที่นำมาศึกษา ผลการศึกษาทางกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนพบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของ epidermal LC ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการทำลายเซลล์ทั้งในผื่น PPE และผิวหนังปกติ โดยไม่พบ HIV viral particles ภายในและรอบๆ เซลล์ชนิดนี้เลย การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของ epidermal LC ที่ตรวจพบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน ในการศึกษานี้ เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การทดสอบแมคนีมาร์ พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดมีความสัมพันธ์กับการเกิดผื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเลย (P>0.05) จากผลการศึกษาทั้งหมดนี้ บ่งชี้ว่า ตัวเชื้อไวรัส HIV และการติดเชื้อของ epidermal LC รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนของเซลล์ดังกล่าวไม่น่าจะมีบทบาทสำคัญในพยาธิกำเนิดของผื่น PPE พยาธิกำเนิดของผื่นชนิดนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันในผิวหนังมากกว่าการติดเชื้อไวรัส HJV ในผิวหนังโดยตรง ซึ่งได้ตั้งสมมุติฐานของพยาธิกำเนิดของผื่น PPE ที่เกี่ยวข้องกับ Epidemal LC ไว้ดังนี้ "ในผิวหนังของผู้ป่วย HIV ที่พบผื่น PPE ร่วมด้วยนั้น น่าจะมีสิ่งแปลกปลอมบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกหรือจากภายในร่างกายเอง ทำหน้าที่เป็นปัจจัยเฉพาะที่กระตุ้นเซลล์ชนิดต่างๆ ในผิวหนังเช่น Keratinocyte หรือแม้แต่ epidemal LC เอง ให้มีการหลั่งของสาร (cytokines) ซึ่งทำหน้าที่เป็น LC chemoattractant ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมมีผลให้มีการเพิ่มจำนวนของ epiermal LC ในผิวหนังบริเวณนั้น นอกจากนี้ยังเชื่อว่า CD4+5+cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่พบมากในผื่นชนิดนี้ น่าจะมีบทบาทในพยาธิกำเนิดของผื่นด้วย โดยในระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV ซึ่งมักพบผื่น PPE ร่วมด้วยนั้น เซลล์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีการหลัง Th [subscript 1] cytokines รวมทั้ง IL-5 ซึ่งเป็น eosinophil chemotactic factor เพิ่มขึ้น เป็นผลให้มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์ cosinophil ในผิวหนังบริเวณนั้น และจากผลของ cytokines ชนิดต่างๆ จากเซลล์อักเสบที่เพิ่มจำนวนขึ้นนี้เอง ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบของผิวหนังและเกิดผื่น PPE ในที่สุด" เพื่อยืนยันสมมุติฐานนี้ควรจะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมอีกไม่ว่าจะเป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส HIV ในผื่นด้วยวิธีการที่มีความไวและความจำเพาะสูงกว่า ตรวจหา cytokines ซึ่งคาดว่าน่าจะเกี่ยวข้อในปฏิกิริยานี้ทั้งหมด เช่น LC chemoattractant, eosinophil chemotactic factor, Th [subscript 1] cytokines รวมทั้งทำการศึกษาเพิ่มเติมในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะอื่นๆ ของการติดเชื้อ HIV ด้วย ผลการศึกษาพบว่า พยาธิกำเนิดของผื่น PPE น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันภายในผิวหนังซึ่งมีผลให้มีการเพิ่มจำนวนของ epidermal LC, cosinophil และเซลล์อักเสบอื่นๆ ในผิวหนังบริเวณนั้น และจากผลของการเพิ่มขึ้นของเซลล์ดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบของผิวหนัง และเกิดผื่น PPE ในที่สุด ส่วนเชื้อไวรัส HIV การติดเชื้อไวรัส HIV ของ epidermal LC หรือการเปลี่ยนแปลงทางกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนที่ตรวจพบในเซลล์ดังกล่าวไม่น่าจะมีบทบาทสำคัญในพยาธิกำเนิดของผื่นชนิดนี้ | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is to study the possible role of epidermal Langerhans' cells (LC) in pathogenesis of pruritic papular eruption (PPE) associated with HIV infection. Density and structural changes of this cell in epidermis including evidence of HIV virus were studied by immunohistochemistry and electronmicroscope in 20 HIV-infected patients. Nine patients belonged to group C3, nine to group B3, one to group A3 and one to group B2 of the revised classification system of the HIV disease, Centers for the Disease Control and Prevention (1993). Three biopsy specimens were obtained from a new erythematous papule, an old lesion and a normal adjacent skin in the same patient as control. Each of the specimen was devided into three pieces. The first piece was stained by hematoxylin & eosin stain for histopathologic study. The second piece was frozen at 80 ํC for immunohistochemical study. Monoclonal antibodies to CD 1a antigens and HIV core protein p 24 antigens were applied on frozen skin sections using avidin-biotin-peroxidase complex method to find the density of epidermal LC and evidence of HIV virus, respectively. The third piece was analyzed by electron microscope to reveal structural changes of these cells and HIV viral particles. The median epidermal LC density in new lesions of PPE which was 151.80 cells/mm2 was greater than 108.95 cell/mm2 obtained from old lesions and 83.25 cell/mm2 from normal adjacent skin. The result was statistically significant using Wilcoxon-matched pairs Signed-rank test (P<0.05). There was no statistical difference between LC density in epidermis of old lesions and normal skin. HIV core protein p 24 antigen was not found in all biopsy specimens. Detailed electron microscopic analysis revealed signs of morphologic damage in some epidermal LC from both lesional and normal skin. Using Mc Nemar Chi-square test, there was no sastistically significant correlation between these findings and the occurrence of the skin lesions (P>0.05). Evidence of HIV viral particles in association with these cells was not found. From the results mentioned above, it is less likely that direct HIV infection and morphologic damage of epidermal LC plays part in pathogenesis of PPE. PPE was suspected to be due to an immunologic basis. The possible hypothesis about role of epidermal LC in pathogenesis of PPE was proposed : it is believed that there are some unknown antigens which may be from endogenous or exogenous sources in the skin of HIV-infected patients with PPE. These antigents may act as local factors that stimulate epidermal cells, both keratinocytes and LC, to release cytokines including GM-CSF which is LC chemoattractant by direct or indirect pathway. The secretion of this cytokine results in the recruitment of epidermal LC found in new PPE lesions. Moreover CD+T-cells were also believed to play an important role because they are predominant cells in the lesions. In advanced stage of HIV infection which patients always have PPE, these cells appear to be preferentially produce Th2 cytokines including IL-5, a potent eosinophil chemotactic factor, mediating tissue eosinophilia seen in histopathology of PPE. The effects of various cytokines secreted by these cells initiate an inflammatory process that induce the occurrence of PPE lesions. To confirm this hypothesis, the study about involved cytokines, detection of HIV virus by more sensitive and specific methods are also important to further elaborate the immunopathogenesis of PPE. Moreover the study should be done in patients of all stages of HIV disease. This study shows that PPE is likely to be due to an immunopathogenesis resulting in the recruitment of epidermal LC, eosinophils and other inflammatory cells found in the skin lesions. The result of this process may initiate an inflammation inducing the occurrence of PPE lesions. HIV virus itself, HIV infection and ultrastructural changes of epidermal LC were not believed to play an important role. However further studies are required to confirm this hypothesis. | en |
dc.format.extent | 556190 bytes | - |
dc.format.extent | 491879 bytes | - |
dc.format.extent | 674285 bytes | - |
dc.format.extent | 1514926 bytes | - |
dc.format.extent | 414639 bytes | - |
dc.format.extent | 1486878 bytes | - |
dc.format.extent | 797375 bytes | - |
dc.format.extent | 261373 bytes | - |
dc.format.extent | 582579 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผิวหนัง -- โรค | en |
dc.subject | โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย | en |
dc.subject | วิทยาภูมิคุ้มกัน | en |
dc.subject | จุลทรรศน์อิเล็กตรอน | en |
dc.title | บทบาทของการเปลี่ยนแปลงทางกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน และอิมมูโนพยาธิวิทยาของ epidermal Langerhans' cells ในผื่น pruritic papular eruption ในผู้ป่วยโรคเอดส์ | en |
dc.title.alternative | Role of epidermal Langerhans' cells in pruritic papular eruption of the acquired immunodeficiency syndrome : an electron microscopic and immunohistochemical study | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunida_Yu_front.pdf | 543.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunida_Yu_ch1.pdf | 480.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunida_Yu_ch2.pdf | 658.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunida_Yu_ch3.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunida_Yu_ch4.pdf | 404.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunida_Yu_ch5.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunida_Yu_ch6.pdf | 778.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunida_Yu_ch7.pdf | 255.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunida_Yu_back.pdf | 568.92 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.