Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12487
Title: การหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกรดไฮยาลูโรนิคโดย Streptococcus zooepidemicus ATCCC 35246
Other Titles: Optimization for the production of hyaluronic acid by streptococcus zooepidemicus ATCC 35246
Authors: จุรารัก ศรีวงษ์
Advisors: สุเทพ ธนียวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fscisth@chulkn.car.chula.ac.th
Subjects: กรดไฮยาลูโรนิค
สเตรปโตคอคคัส
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คัดเลือกและหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกรดไฮยาลูโรนิค เพื่อใช้เป็นสูตรอาหารตั้งต้นในการหาภาวะที่เหมาะสม สำหรับการผลิตกรดไฮยาลูโรนิค โดย Streptococcus zooepidemicus ATCC 35246 จากสูตรอาหารต่างๆ ที่ค้ดเลือกพบว่า สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดที่ 2 ของ Nimrod ให้การผลิตกรดดังกล่าวสูงสุดคือ 252 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรที่ชั่วโมงที่ 24 ของการเลี้ยงเชื้อ ส่วนภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกรดไฮยาลูโรนิค ได้แก่ ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดด่าง เริ่มต้น 6.8 ให้อากาศโดยการเขย่าที่ 250 รอบต่อนาทีแล้วลดเป็น 200 รอบต่อนาทีที่ชั่วโมงที่ 12 ของการเลี้ยงเชื้อ อายุของหัวเชื้อที่ใช้จะอยู่ในระยะกึ่งกลางการเจริญในช่วงลอกาลิทิมิกที่ 25 เปอร์เซนต์ (ปริมาตรต่อปริมาตร) สูตรอาหารที่ปรับปรุงมาจากสูตรของ Nimrod จะประกอบด้วยซูโครสเกรดอาหาร 5 กรัมต่อลิตรแอมโมเนียมซัลเฟต 0.65 กรัมต่อลิตร เมื่อผลิตกรดโดยใช้ภาวะที่กล่าวมาข้างต้นสามารถให้กรดไฮยาลูโรนิค 543 micrograms/ml. ซึ่งมากกว่าก่อนการปรับภาวะประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้ ยังพบว่าเชื้อนี้มีการสร้างเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสได้ ดังนั้นในการเก็บรักษากรดไฮยาลูโรนิค ควรนำกรดดังกล่าวมาต้มทำลายเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสที่ 100 องศาเซลเซียส 20 นาที แล้วเก็บที่ 4 องศาเซลเซียส การเก็บเกี่ยวกรดไฮยาลูโรนิค สามารถทำได้โดยการตกตะกอนด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ต่างๆ ทั้งนี้วิธีแต่ละวิธีให้ผลผลิตและความบริสุทธิ์ที่แตกต่างกัน การใช้งานจึงควรเลือกใช้วิธีที่ให้ความบริสุทธิ์ และหรือผลผลิตตามวัตถุประสงค์ที่จะนำไปประยุกต์ใช้
Other Abstract: The present study is engaged in the selection and optimization of culture medium for the production of hyaluronic acid by Streptococcus zooepidemicus ATCC 35246. Among the cultivating media selected, the one by Nimrod gave highest yield of 252 micrograms/ml at 30 ํC, when cultivated at initial pH of 6.8, agitation rate of 250 rpm then reduced to 200 rpm at 12 hour of cultivation. Inoculum size at the age of mid-log phase was 25% (v/v). The modified Nimrod medium consisted of 5 g/l sucrose (food grade), 0.65 g/l ammonium sulfate. When such cultivation was carried out the hyaluronic acid yield was found to be 543 micrograms/ml which was almost twice of the original one. It was also observed that S.zooepidemicus ATCC 35246 could also produced hyaluronidase into cultivation medium, therefore, heat inactivated at 100 ํC, 20 minutes should be performed prior to the storage of such acid at 4 ํC. Product recovery could be done via organic solvent precipitation with various degree of purity as well as yield obtained depending on method emploved. Thus, the method of choice would depend upon the application planed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12487
ISBN: 9746388894
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jurarak_Sr_front.pdf715.43 kBAdobe PDFView/Open
Jurarak_Sr_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Jurarak_Sr_ch2.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Jurarak_Sr_ch3.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Jurarak_Sr_ch4.pdf815.87 kBAdobe PDFView/Open
Jurarak_Sr_back.pdf865.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.