Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12590
Title: การปรับปรุงคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลานิล ด้วยระบบถังกรองทรายแบบไหลไม่ต่อเนื่อง
Other Titles: Water quality improvement in Tilapia nilotica ponds by intermittent sand filter system
Authors: มลวิภา ลือชัย
Advisors: มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปลานิล -- การเลี้ยง
คุณภาพน้ำ
บ่อเลี้ยงปลา
เครื่องกรองและการกรอง
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลานิล ที่เกิดจากการใช้ระบบถังกรองทรายแบบไหลไม่ต่อเนื่อง ในการกำจัดแพลงค์ตอนพืชออกจากน้ำหมุนเวียนของบ่อเลี้ยงปลาในอัตราต่างๆ และศึกษาหาอัตราการหมุนเวียนน้ำที่เหมาะสม สำหรับใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อ ให้สามารถเลี้ยงปลานิลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การทดลองประกอบด้วยบ่อเลี้ยงปลานิล 4 บ่อ ทดลองเปรียบเทียบกัน การเลี้ยงปลาเป็นแบบระบบปิดจำนวน 50 ตัว/บ่อ โดยบ่อเลี้ยงปลาบ่อที่ 2,3 และ 4 ทดลองปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยการหมุนเวียนน้ำออกจากบ่อ แล้วนำไปบำบัดในถังกรองทรายแบบไหลไม่ต่อเนื่องในอัตรา 5,10 และ 20% หรือเท่ากับ 21,42 และ 84 ลิตร/วัน ตามลำดับ และทดลองเปรียบเทียบกับบ่อเลี้ยงปลาบ่อที่ 1 ที่ไม่มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ จากการทดลองพบว่า อุณหภูมิของทุกบ่อตลอดการทดลองมีค่าอยู่ระหว่าง 25.6-33.4 องศาเซลเซียส ค่าเฉลี่ยของออกซิเจนละลายน้ำในทุกบ่อ มีค่าอยู่ในระดับที่ปลานิลสามารถเจริญเติบโตได้ดี (มากกว่า 5 มก./ล.) และค่าออกซิเจนละลายน้ำต่ำสุดเกิดขึ้นในบ่อที่ 1 ผลการทดลองของการปรับปรุงคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลา ด้วยการหมุนเวียนน้ำออกจากบ่อ แล้วนำไปบำบัดในถังกรองทรายแบบไหลไม่ต่อเนื่องในอัตรา 0,5,10 และ 20% ของบ่อที่ 1,2,3 และ 4 พบว่า ปริมาณสารอินทรีย์หรือของเสียต่างๆ ที่สะสมอยู่ในบ่อที่ 1 มีค่าสูงมากกว่าบ่ออื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ และสารต่างๆ เหล่านี้มีปริมาณลดน้อยลงในบ่อที่ 2, 3 และมีปริมาณน้อยที่สุดในบ่อที่ 4 โดยมีปริมาณแอมโนเนียเท่ากับ 2.1,1.41,0.86 และ 0.76 มก./ล.ไนโตรเจน ปริมาณไนไตรต์เท่ากับ 3.2,2.1,2.4 และ 0.79 มก./ล.ไนโตรเจน ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด 13.1,13.5,15.5 และ 5.4 มก./ล.ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสทั้งหมดเท่ากับ 13.7,10.5,9.7 และ 0.99 มก./ล. ตามลำดับ ส่วนค่าซีโอดีละลายน้ำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าเท่ากับ 87.3,86.8,79.0 และ 71.4 มก./ล. ของน้ำในบ่อที่ 1,2,3 และ 4 ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบผลผลิตปลานิล พบว่าบ่อที่ 3 ให้ผลผลิตสุทธิสูงที่สุดเท่ากับ 4.81 กก./บ่อ รองลงมาคือ บ่อที่ 4,2 และ 1 โดยให้ผลผลิตสุทธิเท่ากับ 4.15,3.62 และ 3.01 กก./บ่อ ตามลำดับ ส่วนอัตรารอดพบว่า บ่อที่ 4 มีค่าสูงสุดเท่ากับ 77.6% รองลงมาคือบ่อที่ 3,1 และ 2 โดยมีค่าเท่ากับ 70.5,63.5 และ 53.8% ตามลำดับ สรุปได้ว่า การปรับปรุงคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลานิล ด้วยการกำจัดแพลงค์ตอนออกจากน้ำหมุนเวียนของบ่อในอัตรา 5,10 และ 20% ช่วยลดการสะสมของสารอินทรีย์และของเสียต่างๆ รวมทั้งสารที่เป็นพิษต่อปลานิล พบว่าที่อัตราการหมุนเวียนน้ำ 20% มีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับของสารพิษ สารอินทรีย์และของเสียให้เหลือสะสมอยู่ในบ่อน้อยที่สุด และมีประสิทธิภาพรองลงมาคือที่อัตราการหมุนเวียนน้ำ 10 และ 5%
Other Abstract: To monitor the water quality variation in Tilapia nilotica ponds treated by intermittent sand filter system at different recirculation rates, and to determine the optimum recirculation rate for maximum efficiency of tilapia culture. Four ponds with 50 tilapias for each were comparably conducted on closed system. The first pond was operated without any water quality improvement while others had been treated by intermittent sand filters with 5, 10 and 20% water recirculation equalling 21, 42 and 84 liter/day respectively. From the experimental results, the water temperature varied from 25.6 to 33.4 ํC and the average dissolved oxygen at all ponds was more than 5 mg/l which was suitable for cultivation of tilapia and the minimum dissolved oxygen found in the first pond. The greatest amount of accumulated organic substance or waste appeared significantly in the first pond and decreasingly declined from the second pond to the fourth pond. Especially in the fourth pond, the accumulated organic substance was the least. The mean nutrient concentrations in all ponds were as followed : 2.1, 1.4, 0.86 and 0.76 mg/l N for ammonia, 3.2, 2.1, 2.4 and 0.79 mg/l N for nitrite, 13.1, 13.5, 15.5 and 5.4 mg/l N for total nitrogen, and 13.7, 10.5, 9.7 and 0.99 mg/l for total phosphorus. The mean dissolved COD concentrations were not significantly different (87.3, 86.8, 79.0 and 71.4 mg/l consequently). The maximum net production of tilapia was found in pond 3 (4.81 kg/pond) and the net production of tilapia in the pond 4, 2 and 1 were 4.15, 3.62 and 3.01 kg/pond respectively. The highest survival rate, 77.6%, appeared in pond 4 and the rate of 70.5, 63.5 and 53.8% appeared in pond 3, 2 and 1 respectively. In conclusion, the 20% water recirculation rate was the optimal rate which brought the minimum accumulated organic substance or waste while the 10 and 5% water recirculation gave the lower and lowest efficiency respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12590
ISBN: 9746372645
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monwipha_Lu_front.pdf774.68 kBAdobe PDFView/Open
Monwipha_Lu_ch1.pdf262.97 kBAdobe PDFView/Open
Monwipha_Lu_ch2.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
Monwipha_Lu_ch3.pdf749.51 kBAdobe PDFView/Open
Monwipha_Lu_ch4.pdf6.55 MBAdobe PDFView/Open
Monwipha_Lu_ch5.pdf284.7 kBAdobe PDFView/Open
Monwipha_Lu_back.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.