Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12801
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรา พงศาพิชญ์-
dc.contributor.authorธมลวรรณ ตั้งวงษ์เจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialนครปฐม-
dc.date.accessioned2010-06-09T03:21:40Z-
dc.date.available2010-06-09T03:21:40Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743326723-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12801-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการศึกษาเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายจีนในชุมชนอ้อมใหญ่ มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปทางสังคมและวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนในชุมชนอ้อมใหญ่ (2) เพื่อศึกษากระบวนการรักษาเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายจีนและ (3) เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายจีนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพและการศึกษา งานวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลการศึกษาจากครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนที่มีสมาชิก 3 รุ่นในครอบครัวจำนวน 10 ครอบครัว ใช้เทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ประวัติครอบครัวเป็นหลัก ผลการศึกษามีดังนี้ การธำรงวัฒนธรรมจีนพบว่า ชาวจีนรุ่นแรกมีสำนึกความเป็นจีนอยู่มากและเลือกธำรงวัฒนธรรมจีนไว้ สมาชิกรุ่น 2 ของครอบครัวสามารถรักษาวัฒนธรรมจีนที่พ่อแม่ถ่ายทอดไว้ให้ ขณะเดียวกันเริ่มมีการปรับตัวบางอย่าง เช่น พูดภาษาไทย เรียนรู้วัฒนธรรมไทยจากโรงเรียนและกลุ่มเพื่อน การปรับตัวนี้ปรากฏชัดในรุ่นที่ 3 เมื่อสมาชิกของครอบครัวมีเป้าหมายที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมไทย ประกอบกับรัฐบาลไทยในช่วงเวลานั้นมีนโยบายพยายามกดดันให้ชาวจีนในประเทศกลายเป็นไทยเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยเหตุนี้คนไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 จึงมีแนวโน้มตัดสินใจเลือกเป็นไทยและเลือกธำรงเอกลักษณ์วัฒนธรรมจีนไว้ในฐานะสมาชิกของครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนตามแนวคิดการเลือกอย่างมีเหตุผล การเลือกประกอบอาชีพและการศึกษา พบว่า ชาวจีนรุ่นแรกส่วนใหญ่เลือกประกอบอาชีพเกษตรมากกว่าการค้าขาย เนื่องจากไม่มีเงินทุนสำหรับการค้า แต่สมาชิกรุ่น 2 กลับมีแนวโน้มออกจากอาชีพเกษตรไปสู่อาชีพที่ดีกว่า ได้แก่ อาชีพช่างฝีมือและอาชีพค้าขาย นอกจากนี้ยังพบว่าชาวจีนรุ่นแรกไม่พยายามแสดงบทบาทการเป็นคนกลางทางการค้าดังที่ Bonacich ได้กล่าวไว้ ส่วนด้านการศึกษาพบว่า พ่อแม่ชาวจีนสมัยก่อนไม่นิยมให้ลูกเรียนหนังสือเพราะสนใจแต่เรื่องทำมาหากิน เมื่อฐานะครอบครัวดีขึ้นจึงยอมให้ลูกเรียนหนังสือ คนไทยเชื้อสายจีนที่จบระดับการศึกษาภาคบังคับมักจะเลือกประกอบอาชีพตามพ่อแม่ ส่วนผู้ที่มีการศึกษาสูงมีโอกาสเลือกประกอบอาชีพที่ดีกว่า แนวโน้มการประกอบอาชีพของคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่จึงมีความหลากหลาย ความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งถิ่นฐานและอาชีพ พบว่า หลังจากที่ชาวจีนตัดสินใจตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยแล้ว ลักษณะอาชีพก่อนและหลังการตัดสินใจตั้งถิ่นฐานยังไม่เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนอาชีพจากการทำเกษตรมาเป็นค้าขายจะเกิดขึ้นในรุ่น 2 หรือรุ่น 3 หลังจากตัดสินใจตั้งถิ่นฐาน ตามค่านิยมของคนไทยเชื่อสายจีนที่ชอบค้าขาย ดังนั้นการเลือกที่อยู่อาศัยของคนไทยเชื่อสายจีนจึงมักตั้งอยู่ในเขตชุมชนเมืองหรือชุมชนที่มีความเจริญตามลักษณะการประกอบอาชีพ ด้านเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนไทยเชื่อสายจีน พบว่า เมื่อประเทศจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลไทยมีความวิตกกังวลและต้องการสลายความเป็นจีนเพื่อส่งเสริมลัทธิชาตินิยมไทย จึงมีมาตรการควบคุมชาวจีนในประเทศไทยอย่างเข้มงวด ชาวจีนต้องยอมละทิ้งเอกลักษณ์ชาติพันธุ์จีนบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับณัฐบาลและปรับเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ใหม่ให้สอดคล้องกับประเทศที่ตนเข้าไปอยู่โดยมีลักษณะที่เรียกว่า ทวิลักษณ์ (Double identity) กลายเป็นลักษณะเฉพาะของคนไทยเชื้อสายจีนในเวลาต่อมาen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study are as follows: (1) to study socio-cultural aspect of Chinese-Thai in Omyai Community, (2) to study process which Chinese ethnic identity is maintained among Chinese-Thai in Omyai Community, and (3) to study education attainment and career path of Chinese-Thai in Omyai Community. Qualitative research method was adopted using mainly life history in-depth interview and participant observation techniques. Ten families with at least 3 generations of Chinese descendants were selected as case studies. In term of cultural identity it was found that the first generation Chinese who immigrated to Thailand was conscious of Chineseness and decided to keep their cultural identity. Members of second generation Chinese followed Chinese tradition similar to the parents. At the same time, they learn Thai tradition and culture from schools and friends. This adjustment to Thai culture was clear in the third generation when they decided to live in Thailand. During that time the Thai government tried to promote Thai nationality for national security reasons. Therefore Chinese-Thai people decided to maintain Chinese cultural identity and adopted Thai nationality based on rational choice theory. The research found that most of the Chinese in the case studies started making their livelihood in agriculture which required less capital investment than trade. The first generation Chinese in the study did not play the middleman role as suggested by Bonacich. Some second generation Chinese left agriculture for other career. In terms of education attainment, Chinese parents put emphasis on trade more than schooling for their children. Chinese-Thai who completed compulsory education decided to follow the occupation of their parents, while Chinese-Thai with higher education attainment gain better opportunity and seek other type of employment. In terms of relationship between settlement and career pattern, the study found that after the Chinese decided to settle in Thailand, career before and after the decision to settle remained the same. Change of career happened in the second and the third generation as Chinese-Thai prefer trade to agriculture. The selection of occupation also reflects settlement choice. Many moved to urban areas. After triumph of the Communist Party in China in 1949, the Thai government adopted nationalistic policy opposing the allegiance of ethnic Chinese to Mainland China. Many Chinese decided to settle in Thailand and made adjustment by abandoning some Chinese identity and adopting Thai nationality. Chinese-Thai has assumed double identity by maintaining both Chinese and Thai ethnic identity simultaneously.en
dc.format.extent385981 bytes-
dc.format.extent1112671 bytes-
dc.format.extent1256442 bytes-
dc.format.extent1020241 bytes-
dc.format.extent2189329 bytes-
dc.format.extent2372738 bytes-
dc.format.extent355208 bytes-
dc.format.extent796712 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ -- ไทยen
dc.subjectชาวจีน -- ไทยen
dc.subjectชาวไทยเชื้อสายจีน -- เอกลักษณ์ชาติพันธุ์en
dc.subjectชุมชนอ้อมใหญ่en
dc.subjectอ้อมใหญ่ (นครปฐม) -- ความเป็นอยู่และประเพณีen
dc.titleเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายจีนในชุมชนอ้อมใหญ่en
dc.title.alternativeEthnic identity of Chinese Thai in omyai communityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameมานุษยวิทยามหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมานุษยวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAmara.P@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thamolwan_Tu_front.pdf376.93 kBAdobe PDFView/Open
Thamolwan_Tu_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Thamolwan_Tu_ch2.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Thamolwan_Tu_ch3.pdf996.33 kBAdobe PDFView/Open
Thamolwan_Tu_ch4.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Thamolwan_Tu_ch5.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open
Thamolwan_Tu_ch6.pdf346.88 kBAdobe PDFView/Open
Thamolwan_Tu_back.pdf778.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.