Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12816
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา ธาดานิติ-
dc.contributor.authorธีระ เยี่ยงวิศวกูร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.coverage.spatialบางลำพู (กรุงเทพฯ)-
dc.date.accessioned2010-06-10T09:51:57Z-
dc.date.available2010-06-10T09:51:57Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743336052-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12816-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยวในย่านบางลำภู รวมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการลงพื้นที่สำรวจทางกายภาพในเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครอบคลุมพื้นที่ 6 แขวงในเขตพระนคร ได้แก่ แขวงชนะสงคราม ตลาดยอดบวรนิเวศ วัดสามพระยา บ้านพานถม และบางขุนพรหม โดยศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยโดยสิ้นเชิง ซึ่งใช้เป็นพาณิชยกรรมเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรมอยู่รวมกัน และกลุ่มที่ 3 ลักษณะยังคงใช้เป็นที่อยู่อาศัยแบบเดิมเพียงอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย พบว่า มีการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารขึ้นใหม่แทนอาคารที่อยู่อาศัยเดิม โดยมีการขออนุญาตก่อสร้างอาคารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529-2538 เพิ่มขึ้น ส่วนในปี พ.ศ. 2538-2542 มีการขออนุญาตลดลง การใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2529-2542 มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในลักษณะพาณิชยกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินในลักษณะที่พักอาศัยลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแขวงชนะสงคราม และตลาดยอด และจำนวนที่พักอาศัยหรือจำนวนบ้านเปรียบเทียบระหว่างปี 2529 กับปี 2542 ลดลงในทุกๆ แขวง 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยเป็นสถานประกอบการ พบว่า เป็นผลมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยวที่พำนักอาศัยในย่านบางลำภู ความได้เปรียบของย่านบางลำภูในเชิงทำเลที่ตั้งและผลตอบแทนของผู้ประกอบการ 3. แนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา 3.1 ปัญหาของย่านบางลำภูในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหาด้านกายภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ปัญหาการแก้ไขปรับปรุงต่อเติมอาคารโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนจากที่จะควบคุม 3.2 แนวโน้มปัญหาของพื้นที่ย่านบางลำภูในอีก 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ จำนวนที่อยู่อาศัยหรือบ้าน (หลังคาเรือน) มีจำนวนลดลง การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมจะเต็มพื้นที่ย่านบางลำภูและมีแนวโน้มขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยรอบ ปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม เสียง อากาศ และปัญหาจราจร และที่จอดรถ 3.3 ความต้องการของผู้อยู่อาศัยในย่านบางลำภู พบว่า การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยในกลุ่ม 1 และ 2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยในกลุ่มที่ 3 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแขวงชนะสงคราม บวรนิเวศ บ้านพานถม ส่วนแขวงวัดสามพระยาจะเปลี่ยนแปลงหากมีนักท่องเที่ยวมีมากขึ้น ผู้อยู่อาศัยต้องการให้ย่านบางลำภูมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความเจริญทางเศรษฐกิจ มีพื้นที่สีเขียว ปราศจากมลภาวะ มีระบบการจราจรที่ดี และคงสภาพพื้นที่อนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ 3.4 ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยย่านบางลำภู ได้แก่ ควบคุมและเข้มงวดในการแก้ไข ปรับปรุง ต่อเติมอาคาร ส่งเสริมอนุรักษ์อาคารดั้งเดิมและพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ จัดให้มีระบบรถไฟฟ้าใต้ดนิ แก้ไขปัญหาจราจรและที่จอดรถ กำหนดมาตรการในการจัดระเบียบ ความสะอาด และลดมลภาวะen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the housing alteration due to tourism development in Bang Lum-Poo district and its effects following the alteration. This study also offers criteria for development and suggestions for solving the current problems in the district and those that may arise in the future. Random sampling interviews, questionnaires and land utilization surveys were used in this study. Data were gathered from 6 areas of Bang Lum-Poo district: Chana Songkram, Tahlardyod, Borwonnivej, Wat Sampraya, Ban Panthom and Bang Khum Phrom. Housing alteration in the area is classified into three categories: 1. Total alteration for commercial purposes (no living quarters) 2. Alteration for both living and commercial purposes. 3. No alteration; houses are used as living quarters only. Results of the study: 1. Requests for construction permits increased from 1986 to 1995, and decreased between 1995 and 1999. During 1986-1999, land exploitation for commercial purposes increased dratically while land use as living quarters decreased, especially in the Chana Songkram and Tahlardyod areas. The number of housing units in all areas of the district declined in 1996 when compared to 1986. 2 Factors leading to housing alteration for commercial purposes are: the increasing number of tourists to the district, the advantage of the district as a prime location, and the high profit of business. 3. Criteria for development and suggestions: 3.1 The current problems in the district are physical, social, environmental and economic. Others include illegal housing alteration and the uncontrollable increase of land utilization for commercial purposes. 3.2 Expected problems within the district over the next 10 years are: decrease in housing units, saturation of land utilization for commerce within the district and the eventual expansion to the nearby areas, air and noise pollution, and traffic and parking problems. 3.3 Needs of the district residents are: increase in categories 1 and 2 due to the growing number of tourists, more housing alteration in category 3 in the areas of Chana Songkram, Boreonnivej and Ban Panthom while Wat Sampraya will follow the trend if there is more demand, better organized and more orderly neighborhoods, growing business, more green areas, no pollution, a better traffic system and historic site conservation. 3.4 Suggestions for improvement and development of the district: effective law enforcement on construction control, encouragement of more historic site conservation, introduction of a subway system to the district, organization of a better traffic system and parking areas, a campaign on sanitation, orderliness of the district and pollution reduction.en
dc.format.extent488394 bytes-
dc.format.extent378605 bytes-
dc.format.extent1327078 bytes-
dc.format.extent363953 bytes-
dc.format.extent1409585 bytes-
dc.format.extent3993894 bytes-
dc.format.extent1892489 bytes-
dc.format.extent407720 bytes-
dc.format.extent470565 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยวen
dc.subjectการย้ายที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectการใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectบางลำภู (กรุงเทพฯ)en
dc.subjectการใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectที่อยู่อาศัยen
dc.titleการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยในย่านบางลำภู อันเนื่องมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยวen
dc.title.alternativeHousing alteration due to tourism development in Bang Lum-Poo districten
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuwattana.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Treetra_Yi_front.pdf476.95 kBAdobe PDFView/Open
Treetra_Yi_ch1.pdf369.73 kBAdobe PDFView/Open
Treetra_Yi_ch2.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Treetra_Yi_ch3.pdf355.42 kBAdobe PDFView/Open
Treetra_Yi_ch4.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Treetra_Yi_ch5.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Treetra_Yi_ch6.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Treetra_Yi_ch7.pdf398.16 kBAdobe PDFView/Open
Treetra_Yi_back.pdf459.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.