Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12838
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ | - |
dc.contributor.author | ภาธินี ศรีอาจ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2010-06-11T09:39:54Z | - |
dc.date.available | 2010-06-11T09:39:54Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12838 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | นับตั้งแต่เศรษฐกิจเกิดวิกฤตในกลางปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างงาน ทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ได้มีการนำเสนอแนวคิดหลากหลายในการแก้ปัญหา เพื่อดึงเงินตราต่างประเทศเข้ามา โดยหนึ่งในแนวคิดที่น่าสนใจ คือ การทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจดูแลผู้สูงอายุระดับโลก ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในตลาด Silver Market ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้อีกวิธีหนึ่ง และมีนโยบายในการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวในกลุ่มที่พำนักระยะยาว (Long Stay) โครงการริเออิ ลุมพินี เรสซิเดนซ์เป็นโครงการที่พักอาศัยรองรับชาวญี่ปุ่นโครงการหนึ่ง ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป และยังได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวระยะยาว วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อสังเกตสภาพกายภาพสถานที่พักอาศัยและพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ซึ่งจะนำมาวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาความสอดคล้องของสภาพกายภาพและพฤติกรรมของผู้พักอาศัย จากผลการศึกษาพบว่า ผู้พักอาศัยมีความต้องการพักอาศัยเฉพาะชาวญี่ปุ่น, มาพักอาศัยเพื่อการพักพื้นร่างกาย มาเพื่อการท่องเที่ยวและใช้ชีวิตในต่างแดน ในประเทศที่มีค่าครองชีพต่ำกว่าประเทศตน อาจเข้ามาพักอาศัยร่วมกับบุตรที่เข้ามาทำงานยังประเทศไทย หรือมาพักอาศัยเพียงลำพังแต่ใช้บริการการดูแลสุขภาพของทางบริษัททริเออิ การดำเนินงานวิจัย เก็บข้อมูลเดือน ก.ย. 2549-ก.พ. 2550 กับผู้ที่อยู่อาศัยเกิน 1 เดือนขึ้นไป และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในโครงการฯ ผลการศึกษาทั้งหมด จะสะท้อนให้เห็นความต้องการในอนาคตของที่พักอาศัยประเภทท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกิจกรรมและพื้นที่ใช้สอยเดิมให้ตอบสนองต่อความต้องการอย่างแท้จริง เพื่อคุณภาพชีวิตและเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในด้านนี้ จากการศึกษาพฤติกรรมการพักอาศัย พบว่า เป็นผู้ที่มีการศึกษาดี ร่างกายแข็งแรง สนใจวิถีชีวิต ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมไทย เลือกพักที่ประเทศไทย เพราะค่าครองชีพต่ำ, บริการสุขภาพ, สภาพภูมิอากาศ โดยแหล่งที่มาของเงิน ที่นำมาใช้จ่ายในแต่ละเดือนของผู้พักอาศัยนั้น ส่วนใหญ่มาจากเงินออมและเงินเกษียณ และยังมีกลุ่มผู้ที่ยังทำงานอยู่หลังจากเกษียณอายุงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับคนไทยทำให้มีรายได้ที่แน่นอนในแต่ละเดือน เมื่อเทียบเป็นค่าเงินบาทของไทยถือว่าเป็นผู้ที่มีกำลังซื้อสูง จะใช้ไปเพื่อการท่องเที่ยว พักผ่อน และการพักฟื้นร่างกาย การตรวจสุขภาพ กิจกรรมที่นิยมเล่นภายในโครงการคือ เข้าห้องฟิตเนต ผู้อยู่อาศัยกลุ่มนี้ชอบการงีบหลับโดยเฉพาะเพศหญิง ด้านงานเทศกาลรื่นเริงงานประเพณีที่ทางโครงการจัดขึ้นนั้นพบว่า ชอบร่วมกิจกรรม การศึกษาความต้องการเรื่องที่พักอาศัย พบว่าต้องการที่พักใกล้ชุมชน ใกล้โรงพยาบาล สิ่งอำนวยความสะดวก และระบบคมนาคมที่สะดวก ต้องการสวนเพื่อการพักผ่อนภายในโครงการ หรืออยู่ใกล้สวนสาธารณะ ปัญหาที่พบ คือ ปัญหาขณะเดินทางออกไปทำธุระข้างนอกโครงการฯ พบในเรื่องการสื่อสารเป็นอันดับหนึ่ง, การไม่รู้จักเส้นทาง, และด้านอาหาร พื้นที่ส่วนกลางนั้นต้องการห้องสปาหิน แบบญี่ปุ่น ในพื้นที่ห้องพักอาศัย พบว่า ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขห้องน้ำ ที่ปัจจุบันมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมสำหรับการใช้รถเข็น และยังขาดอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานสำหรับบริการผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะต่อโครงการริเออิ ลุมพินี เรสซิเดนซ์ ในเรื่องการปรับปรุงองค์ประกอบภายนอกอาคาร เช่น สวนพักผ่อน ที่พบปะเพื่อน พื้นที่ใช้สอยส่วนกลางภายในอาคารต้องเหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้ของผู้พักอาศัย ส่วนพื้นที่ใช้สอยภายในห้องพักต้องมีการปรับปรุงให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน เหมาะสมกับการใช้สอยของผู้ใช้ และการบริการในส่วนกิจกรรมการท่องเที่ยวของโครงการนั้นควรมีทางเลือกที่หลากหลายส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ดีต่อสภาพร่างกายและจิตใจ เรื่องที่ตั้ง และสิ่งแวดล้อมนั้นควรอยู่ในพื้นที่ที่มีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ มีแหล่งจับจ่ายใช้สอยสินค้าญี่ปุ่น รวมถึงมีการคมนาคมที่สะดวกสบาย | en |
dc.description.abstractalternative | Since the economic crisis in 1997, Thailand has had to face various economic problems resulting in termination of employment. Various ideas have been raised to solve these problems by attracting foreign currency. One of the interesting ideas is making Thailand a center of elderly care in the world to generate income in the country. The Riei Lumpini Residence is one of the projects to accommodate elderly Japanese. The purpose of the study was to investigate the physical characteristics of the residence and the living behaviors of the Japanese elderly to determine their compatibility. The findings indicated that the residents, especially the Japanese, had a need to reside in Thailand for various purposes including physical rehabilitation, tourism, and living in a foreign country with a lower cost of living. These elderly may live with their expatriate children or live alone using the healthcare services of the Riei Company. Data was collected during the period of time between September 2006 and February 2007. The study findings should shed light on the needs of long-stay residents in the future, that a guideline for the improvement of activities and space utilization to best serve the needs of the residents and hence to increase their quality of life in Thailand. They chose Thailand because of the low costs of living, the availability of healthcare services. As for the sources of their spending money, most financial support came from their savings and pensions. Moreover, there were some residents who continued to work after retirement such as running their own business or teaching the Japanese language to Thai people. Thus, they were able to earn a steady monthly income. Favorite activities in the residence were using the sauna and fitness club. They also liked to take a nap and they enjoyed festivities and cultural activities organized in the residence. In terms of the needs of residents, it was discovered that they needed a residence in the community with proximity to a hospital and transportation. They also wanted a garden in dwelling place or near a community park for relaxation, a living room for neighbor and a Japanese-styled rock spa. The problems they had when they went out were communication problems, a lack of knowledge about how to get around Bangkok, and food-related. Finally, what they wanted to see improved was the size of the bathroom which was too small for a wheelchair and lacked the standard equipment required by the elderly residents. Based on findings, the common space should suit the living behaviors of the residents, and the space in the unit should be improved to meet living standards and to satisfy the needs of the residents. Finally, this type of project should be located in an area where there are a lot of Japanese residents, shopping centers for Japanese products, and ease of transportation. | en |
dc.format.extent | 3944438 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.175 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ริเออิ ลุมพินี เรสซิเดนซ์ | en |
dc.subject | ชาวญี่ปุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en |
dc.title | สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในสถานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว : กรณีศึกษาโครงการริเออิ ลุมพินี เรสซิเดนซ์ กรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | A dwelling of Japanese elderly living in longstay accomodation : a case study of Riei Lumpini Residence, Bangkok | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เคหการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Trirat.j@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.175 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phathini.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.