Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12877
Title: ผลของการใช้รูปแบบการเสริมแรงทางบวกในการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานบนเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีสมาธิสั้นและมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง
Other Titles: Effects using different types of positive reinforcement in game-based learning via upon mathematics achievement of attention deficit hyperactivity disorder second grade students
Authors: ปิยนันท์ ปานนิ่ม
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Praweenya.S@Chula.ac.th
Subjects: การเสริมแรง (จิตวิทยา)
เด็กสมาธิสั้น
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เกมในการศึกษาคณิตศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเสริมแรงทางบวกในการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานบนเว็บ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีสมาธิสั้นและมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนขณะเล่นเกมจากการสังเกตของครูและผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการประเมินจากโรงเรียนว่าเป็นนักเรียนที่มีอาการสมาธิสั้นและมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาจำนวน 24 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงแบ่งเข้ากลุ่มทดลองโดยวิธีจับคู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากัน แล้วจัดนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองที่ 1 เรียนด้วยเกมบนเว็บแบบการเสริมแรงทางสังคม กลุ่มทดลองที่ 2 เรียนด้วยเกมบนเว็บแบบการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมเกมบนเว็บแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้รูปแบบการเสริมแรงทางบวกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. จากการสังเกตของครูและผู้ปกครองถึงพฤติกรรมของผู้เรียนขณะเล่นเกมบนเว็บของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ผู้เรียนมากกว่า 50% ขึ้นไปไม่มีพฤติกรรม อาการบิดตัวไปมายุกยิก ไม่อยู่เฉย, วอกแวกง่าย, ไม่รอฟังคำสั่งในเกม, และเล่นเกมโดยไม่คิดไตร่ตรองขาดความยับยั้งชั่งใจ ผู้เรียนมากกว่า 80% ขึ้นไปไม่มีพฤติกรรม อาการระเบิดอารมณ์โกรธเมื่อเสียคะแนนหรือทำผิด และมีพฤติกรรมการเล่นเกมอย่างตั้งใจ และผู้เรียนทั้งหมดไม่มีพฤติกรรม อาการลุกขึ้นเดินเมื่อเบื่อ หยุดเล่นเกมชั่วขณะปรากฏให้เห็นขณะเล่นเกม และมีพฤติกรรมการเล่นเกมอย่างสนุกสนาน และเล่นเกมจนจบโดยไม่ยอมหยุดพัก.
Other Abstract: The purposes of this study were 1) to study the effects of different types of positive reinforcement in game-based learning via web upon mathematics learning achievement of attention deficit hyperactivity disorder second grade students and 2) to study the behavior of students while playing game by teachers and parents’ observation. The samples were, purposefully selected, 24 ADHD second grade students of Kasetsart University Laboratory School Center for educational research and development. They were randomly assigned into two groups in a matched pair design; 12 students were in each group. The first group studied in game-based learning via web using social reinforcement, and the second group studied in game-based learning via web using token economy reinforcement. The research instruments were online web-based games, lesson plans, learning achievement test, and observation form. Data were analyzed by using the descriptive statistics and the t-test statistics. The major findings were as follows: 1. There was found no difference at .05 level of significant between social reinforcement and token economy reinforcement in game-based learning via web upon mathematics learning achievement of ADHD students. 2. The observe of teachers and parents about ADHD students’ behavior when playing online web-based games found that more than50% of ADHD students had no restless, overactive, distractible, difficulty awaiting before game instruction had been completed, and impulsive. More than 80% of ADHD students had no tempers and outburst when lost tasks or scores; and they showed attention during played game. All ADHD students did not leave seat and stop playing game; they enjoyed playing and completed game with no rest.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12877
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1470
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1470
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyanan.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.