Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13204
Title: พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรม ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Health promotion behaviors of the elderly paticipating in activities at Lumpinee Park, Bangkok Metropolis
Authors: ชลธิชา จันทคีรี
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
สุวิณี วิวัฒน์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: wwattanaj@ yahoo.com
suvinee@hotmail.com
Subjects: พฤติกรรมสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพ
ผู้สูงอายุ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การจูงใจตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจูงใจตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มารับกิจกรรม ณ สวนลุมพินี โดยศึกษาในกลุ่มผู้สงอายุจำนวน 400 คน ที่มาร่วมกิจกรรม ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร เครื่องมือวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการจูงใจตนเอง แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามในแต่ละส่วน จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .78, .73, .73, .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และสถิติวิเคราะห์คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's product-moment correlation coefficient) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (x-bar = 146.82) 2. ผู้สูงอายุมีการจูงใจตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง (x-bar = 3.53) 3. ผู้สูงอายุมีการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (x-bar = 3.87) 4. ผู้สูงอายุมีการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับสูง (x-bar = 4.07) 5. อายุ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสรมสุขภาพของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. การจูงใจตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .200, .223, .485 ตามลำดับ)
Other Abstract: To study health promotion behaviors, self-motivation, perceived health status, social support and relationships between self-motivation, perceived health status, social support and health promotion behaviors of the elderly.Participants were 400 elderly participating in activity at Lumpinee Park, Bangkok Metropolis, and were selected by stratified random sampling technique. Research instruments were health promotion behaviors, self-motivation, perceived health status and social support which were tested for content validity and reliability. The reliabilities were .78, .73, .73, .88, respectively. Data were analyzed by using SPSS for Windows, including frequency, mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA, and Pearson's product-moment correlation coefficient. Findings were as follows 1. Health promotion behaviors of elderly was at the good level (x-bar = 146.82). 2. Self-motivation of elderly was at the high level (x-bar = 3.53). 3. Perceived health status of elderly was at the good level (x-bar = 3.87). 4. Social support of elderly was at the high level (x-bar = 4.07). 5. Age, gender, marital status, education, and income were not significantly correlated with health promotion behaviors for elderly.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13204
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1143
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1143
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chonticha.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.