Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13212
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุษบง ตันติวงศ์-
dc.contributor.advisorโสรีช์ โพธิแก้ว-
dc.contributor.authorหฤทัย อนุสสรราชกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-08-03T10:34:58Z-
dc.date.available2010-08-03T10:34:58Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13212-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาเด็กอย่างใคร่ครวญสำหรับครูการศึกษาปฐมวัย 2) ศึกษาผลการปรับเปลี่ยนมุมมองและการปฏิบัติของครูที่เข้าร่วมกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นใน 3 ด้าน คือ ต่อตนเอง ต่อเด็ก และต่อผู้อื่น ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาลของโรงเรียนอนุบาลขนาดเล็กในเขตจังหวัดทางภาคตะวันออกของประเทศไทย จำนวน 3 คน การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีการแทรกแซง ประกอบด้วย 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การพัฒนาต้นแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ ช่วงที่ 2 การทดลองใช้ต้นแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ และช่วงที่ 3 การวิเคราะห์และปรับกระบวนการและระยะที่ 2 การสรุปและนำเสนอผลการวิจัย ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาเด็กอย่างใคร่ครวญสำหรับครูการศึกษาปฐมวัยส่งเสริมให้ครูรู้ตัวเอง รับรู้ความจริงในปัจจุบัน มีสติ และส่งผลให้ครูสามารถรับรู้เด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติตามจริง เป็นกระบวนการที่บูรณาการทั้ง 3 ส่วนของชีวิต คือ ความรู้ วิชาชีพ และจิตวิญญาณ และประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การเปิดใจรับรู้ ยอมรับทั้งตนเองและผู้อื่น 2) การพัฒนาภายในตนเองด้วยการฝึกสติ สมาธิ ประสาทสัมผัส การรู้เท่าทันปัจจุบัน 3) การศึกษาเด็กที่เน้นการสังเกตเด็กและการใคร่ครวญในชีวิตประจำวันและ 4) การสะท้อนการเรียนรู้ วิพากษ์ประสบการณ์เดิม นำสู่การเกิดประสบการณ์ใหม่ 2. การปรับเปลี่ยนมุมมองและการปฏิบัติของครู 3 คนที่มีลักษณะการเรียนรู้ที่ต่างกัน มีการปรับเปลี่ยนต่างกัน คือ 1) ครูที่ใช้ความรู้สึก เชื่อมโยงการเรียนรู้จากใจ โดยเรียนรู้ผ่านความงามของศิลปะ มาสู่การปฏิบัติทางกาย การปรับเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง มีการปรับเปลี่ยนที่เด่นชัด คือ การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติต่อเด็กที่ผุดขึ้นมาจากใจ ไม่รู้ตัว ในภาวะที่ใจนิ่งและสอดคล้องพอดีกับเด็ก 2) ครูที่ยึดมั่นกับความคิดของตนเอง การปรับเปลี่ยนปรากฏในเรื่องการเข้าใจตนเอง และไม่ปรากฏการปรับเปลี่ยนในด้านที่เกี่ยวกับเด็กและผู้อี่น และ 3) ครูที่เป็นนักปฏิบัติ เชื่อมโยงการเรียนรู้จากกายเข้าสู่ใจ คือเกิดความตระหนัก รับรู้ตนเอง เชื่อมโยงสู่การรับรู้เด็ก ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติต่อตนเอง ต่อเด็กและต่อผู้อื่นตามการรับรู้ที่เกิดขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThis research was 1) to develop a learning process of the early childhood teachers based on contemplative child study approach, and 2) to study the transformation of the teachers' perspectives and practices towards oneself, children and others. The research participants were three early childhood teachers from a small-sized school in an Eastern province of Thailand. This study was a qualitative research with intervention. The research consisted of two phases: 1) the development of learning process consisting of three steps: (1) construction of the initial process, (2) preliminary field study of the process, and (3) analysis and revision of the process, and 2) the conclusion of the research results. The findings were as follows: 1. The learning process of the early childhood teachers based on contemplative child study approach enhanced self-awareness, clear perception of the reality of present moment, and mindfulness which affected the teachers' ability to perceive children truly. This learning process integrated three main parts of life: knowledge, profession and spirituality and consisted of four steps: 1) mind opening for acceptance of oneself and others, 2) inner development-practices of mindfulness, meditation, and deep senses 3) child study-child observation and meditative work in daily life, and 4) reflection of their learning by reviewing the past experience leading to new ones. 2. The transformation of the perspectives and practices of the three teachers varied according to their ways of learning: 1) the first teacher mainly transformed her practice through feeling. Aesthetics of arts played an important role in her contemplative practice. Her creative acts of teaching often unconsciously arose when she was peacefully and harmoniously one with the mood of the children, 2) the second teacher's contemplative practice mainly focused around the thinking of her own thoughts. Her transformation emerged in the area of self-understanding and was not evident in the area of understanding children and others, and 3) the third teacher who mainly acted unconsciously transformed her perspectives and practices through feeling, especially from listening to storytelling, which awakened her self-understanding and clear perception of the children and others.en
dc.format.extent1913471 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.747-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเรียนรู้en
dc.subjectการศึกษาปฐมวัยen
dc.titleการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาเด็กอย่างใคร่ครวญเพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองและการปฏิบัติของครูการศึกษาปฐมวัยen
dc.title.alternativeDevelopment of learning process organization based on the contemplative child study approach for the transformation of early childhood teacher's perspectives and practicesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorBoosbong.T@chula.ac.th-
dc.email.advisorPsoree@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.747-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
haruethai.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.