Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1328
Title: การพัฒนาระบบการจัดตารางการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตล้ออัลลอย
Other Titles: Development of a production scheduling system in alloy wheel industry
Authors: ปาริฉัตร ปั้นทอง, 2523-
Advisors: สมชาย พัวจินดาเนตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.Pua@chula.ac.th
Subjects: การกำหนดงานการผลิต
การควบคุมการผลิต
อุตสาหกรรมการผลิตล้ออัลลอย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาระบบการจัดตารางการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดเปอร์เซ็นต์จำนวนงานล่าช้า โดยทำการสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดตารางการผลิตและเสนอการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยลดเวลาในการวางแผนการผลิต วิธีการจัดตารางการผลิตสำหรับการผลิตแบบการไหลของสายงานได้ถูกนำมาใช้ โดยเสนอวิธีการในแบบฮิวริสติก 3 วิธีได้แก่ วิธีการของพาลเมอร์ วิธีการของกุปต้า และวิธีการของซีดีเอส มาทดสอบด้วยข้อมูลคำสั่งซื้อจริงโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จัดทำขึ้น จากนั้นจะนำวิธีการทั้งสามมาเปรียบเทียบกับวิธีการจัดตารางการผลิตของโรงงานตัวอย่าง ในส่วนขององค์ประกอบของโปรแกรมประกอบด้วย 4 ส่วนหลักคือ ส่วนของฐานข้อมูลจำเพาะของโรงงานตัวอย่าง ส่วนข้อมูลหลักที่ใช้ในการจัดตารางการผลิต ส่วนระบุวิธีการในการจัดตารางการผลิต และส่วนดำเนินการประมวลผล โดยโปรแกรมจะทำการรายงานผลออกมาเป็นค่าของตัววัดผลต่างๆที่จะใช้นำมาเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกวิธีการจัดตารางการผลิตที่เหมาะสมได้ โดยตัววัดผลที่โรงงานตัวอย่างให้ความสำคัญคือ จำนวนงานล่าช้า เวลาล่าช้าของงานโดยเฉลี่ย และเวลาสายของงานโดยเฉลี่ย ในการเปรียบเทียบผลการจัดตารางการผลิตด้วยวิธีการทางฮิวริสติกทั้ง 3 วิธี พบว่าวิธีการของกุปต้าเป็นวิธีที่ให้ตารางการผลิตที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด โดยเมื่อทำการเปรียบเทียบกับวิธีการจัดตารางการผลิตแบบเดิม ตารางการผลิตที่ได้จากวิธีการของกุปต้าให้ค่าจำนวนงานล่าช้า ค่าเวลาล่าช้าของงานโดยเฉลี่ย และค่าเวลาสายของงานโดยเฉลี่ยลดลงจากวิธีการแบบเดิม 57.14% 26.77% และ 34.03% ตามลำดับ และยังลดเวลาที่ใช้ไปในการเตรียมเครื่องจักรในจุดที่เป็นคอคอดของการผลิตลง 2400 นาทีหรือ 11.3% จากวิธีการแบบเดิม และจากการใช้โปรแกรมการจัดตารางการผลิตมาช่วยในการประมวลผลทำให้ลดเวลาในการจัดตารางการผลิตลงได้ถึง 9 ชั่วโมง
Other Abstract: The objective of this research was to developing the effective scheduling system in order to reduce the tardy jobs percentage, by constructed the necessary database and proposed the scheduling software to reduce time used for planning. This research proposed 3 heuristic methods, which are used in Flow Shop scheduling; consist of Palmer's, Gupta's and CDS's heuristic approaches. Actual purchase orders were used as input for testing with these 3 methods in proposed scheduling software, then compared to the conventional approach of the factory. The scheduling software composes of 4 parts, which are specific database of the factory, main data for production scheduling, method specification and compiling parts. The scheduling report was shown in case of performance measurement values, used for comparing and helping user to select the most appropriate schedule. However, for this factory, focused only on the tardy jobs, mean tardiness and mean lateness. The comparison of the scheduling using 3 methods was found that Gupta's heuristic approach generated the most effective schedule. Gupta's heuristic resulted in reduction of number of the tardy jobs, mean tardiness and mean lateness from the conventional approach by 57.14%, 26.77% and 34.03%, respectively. Moreover, setup time at the production line bottleneck reduced by 2400 minutes as improving 11.3% from the conventional approach. Finally, the time used for scheduling reduced by 9 hours when compared to existing procedure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1328
ISBN: 9741798601
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parichat.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.