Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13386
Title: การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นชุมชนนักปฏิบัติ ของครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งโรงเรียนในฝันของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Development of an information technology and communication knowledge sharing model using a collaborative learning approach for developing communities of practice of lab school teachers in Bangkok Metropolis
Authors: สุภณิดา ปุสุรินทร์คำ
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
วิชุดา รัตนเพียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Vichuda.R@chula.ac.th
Subjects: โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน
การบริหารองค์ความรู้
การเรียนรู้ร่วมกัน
ชุมชนนักปฏิบัติ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สร้างรูปแบบการแบ่งปันความรู้ ศึกษาผลการใช้รูปแบบการแบ่งปันความรู้ และนำเสนอรูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นชุมชนนักปฏิบัติของครูในโรงเรียน ที่เข้าร่วมในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันของกรุงเทพมหานคร การดำเนินการวิจัย 4 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 การศึกษาความคิดเห็นของครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ของกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ปฏิบัติการสอน อยู่ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 350 คน ขั้นที่ 2 สร้างรูปแบบการแบ่งปันความรู้ จากความคิดเห็นของครู และหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับชุมชนนักปฏิบัติ และวิธีการเรียนแบบร่วมมือ ขั้นที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการแบ่งปันความรู้ เครื่องมือที่ใช้คือ รูปแบบการแบ่งปันความรู้ สื่อเว็บ แบบประเมินผลการปฐมนิเทศ แบบประเมินผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการแบ่งปันความรู้ แบบบันทึกพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ และการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บ แบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงความสัมพันธ์ และความร่วมมือในการทำงานในขณะเข้าร่วมกิจกรรม แบบประเมินผลการทำงานกลุ่ม และแบบบันทึกและประเมินกิจกรรมในรูปแบบการแบ่งปันความรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ปฏิบัติการสอนอยู่ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 20 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 5 คน ใช้เวลาดำเนินกิจกรรมเป็นเวลา 10 สัปดาห์ และขั้นที่ 4 รับรองรูปแบบการแบ่งปันความรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ครูที่เข้าฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่ได้นำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนครู นักเรียนไม่สนใจทำแบบฝึกหัด/แบบทดสอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และครูต้องการสนทนากับเพื่อนครูผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างไม่เป็นทางการ 2. รูปแบบการแบ่งปันความรู้ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) องค์ประกอบของรูปแบบการแบ่งปันความรู้ ประกอบด้วย ชุมชนนักปฏิบัติ การดำเนินกิจกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ และทรัพยากรสนับสนุนการแบ่งปันความรู้ 2) ขั้นตอนการแบ่งปันความรู้ ประกอบด้วย การปฐมนิเทศเชิงปฏิบัติการ การดำเนินการจัดกิจกรรมการแบ่งปันความรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือและการประเมินผล และ 3) ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมการแบ่งปันความรู้ ประกอบด้วย ผลงานกลุ่ม และผลการประเมินตนเองเกี่ยวกับการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นชุมชนนักปฏิบัติของครู 3. ในภาพรวมของการประเมินตนเองเกี่ยวกับการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นชุมชนนักปฏิบัติ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณลักษณะความเป็นชุมชนนักปฏิบัติในระดับมาก
Other Abstract: To study the opinions of teachers concerning an information technology and communication knowledge sharing, to develop an information technology and communication knowledge sharing model, to tryout a model and to propose an information technology and communication knowledge sharing model using a collaborative learning approach for developing communities of practice of lab school teachers in Bangkok Metropolis. The research methodology consisted of four steps: step 1: study teachers' opinions, problems and needs on an information technology and communication in teaching by a questionnaire. The samples were 350 teachers teaching in lab schools in second semester of academic year 2005. Step 2: develop a knowledge sharing model from teachers' opinions and principles and theory of communities of practice and collaborative learning appraoach. Step 3: tryout the model with 20 teachers teaching in second semestic year 2006. They were divided into four groups with five members. Each group conducted knowledge sharing practice for 10 weeks. The research tools consisted of 1) Knowledge sharing model 2) website 3) orientation evaluation form 4) workshop evaluation form 5) self evaluation form on knowlege sharing 6) knowledge sharing behavior check list 7) self evaluation form on group relation and collaboration in group process 8) group evaluation form and 9) check list and evaluation form on knowledge sharing. And step 4: verifying of the model by five experts. The data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. The research results were as follows 1. The samples agreed that training participants did not share their knowledge with peers, students were not interested in doing exercises, testing in CAI and teachers wanted informal Chat with peers via internet. 2. The model consisted of three main parts: 1) components of knowledge sharing model: communities of pracitice, activities process and ICT resources to support knowledge sharing. 2) knowledge sharing process: orientation, perform knowledge sharing activity using a collaborative learning approach and evaluation and 3) knowledge sharing activity output: work output and self evaluation in ICT knowledge sharing of communities of practice development. 3. The samples evaluated themselves toward information technology and communication knowledge sharing using a collaborative learning approach for developing communities of practice in high level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13386
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.691
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.691
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supanida.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.