Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13407
Title: การนำเสนอเกณฑ์การพิจารณาในการจัดระดับหนังสือการ์ตูนที่แปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยในฐานะสื่อการศึกษาสำหรับเยาวชน
Other Titles: Proposed criteria for rating Thai-translated Japanese comic books as educational media for youth
Authors: พรวลัย เบญจรัตนสิริโชติ
Advisors: ชื่นชนก โควินท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chuenchanok.K@Chula.ac.th
Subjects: การ์ตูนญี่ปุ่น -- ไทย
การวิเคราะห์เนื้อหา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อจำแนกประเภทการ์ตูนที่แปลจากภาษาญี่ปุนเป็นภาษาไทยที่จำหน่ายอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน 2) เพื่อเสนอเกณฑ์การพิจารณาในการจัดระดับหนังสือการ์ตูนที่แปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยในฐานะสื่อการศึกษาสำหรับเยาวชน โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับสาระของประเภทเนื้อหาการ์ตูนที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่น รวมทั้งเกณฑ์การจัดระดับสื่อต่างๆ จากทั้งในและนอกประเทศ แล้วจึงทำการสำรวจระดับหนังสือการ์ตูนที่แปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยที่มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า 1. การ์ตูนที่แปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย สามารถจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มการ์ตูนที่สะท้อนภาพความรุนแรง สามารถจำแนกประเภทย่อยได้ 4 แนวเนื้อหา ได้แก่ แนวการต่อสู้ แนวเรื่องผจญภัย แนวภูตผีปีศาจ และแนววรรณกรรมที่มีชื่อเสียง (2) กลุ่มที่เกี่ยวกับความรักและความสัมพันธ์ทางเพศ สามารถจำแนกประเภทย่อยได้ 4 แนวเนื้อหา ได้แก่ แนวรักโรแมนติก แนวโป๊ แนวความรักชายกับชาย และแนวพฤติกรรมเบี่ยงเบนแบบต่างๆ (3) กลุ่มที่มีการนำเสนอสาระเฉพาะด้าน สามารถจำแนกประเภทย่อยได้ 6 แนวเนื้อหา ได้แก่ แนววิทยาศาสตร์ แนวอิงประวัติศาสตร์ แนวสืบสวนสอบสวน แนวกีฬา แนวชีวประวัติ และแนวเกี่ยวกับอาชีพ (4) กลุ่มการ์ตูนด้านอื่นๆ ที่ไม่เข้ากับ 3 กลุ่มที่กล่าวมา สามารถจำแนกประเภทย่อยได้ 2 แนวเนื้อหา ได้แก่ แนวเกี่ยวกับสัตว์ และแนวตลก 2. เกณฑ์การพิจารณาในการจัดระดับหนังสือการ์ตูนที่แปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย มีดังนี้ คือ (1) ความรุนแรง (2) ความสัมพันธ์ทางเพศ (3) การแต่งกาย (4) ฉากสยองขวัญ (5) สิ่งผิดกฎหมาย ยาเสพติดและของมึนเมา (6) การใช้ภาษา (7) ความถี่ที่พบในแต่ละประเด็นรวมกัน เกณฑ์การพิจารณาในการจัดระดับหนังสือการ์ตูนที่แปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยอิงตามระดับอายุได้เป็น 3 ระดับ คือ (1) ระดับที่เหมาะกับผู้อ่านทุกวัย (2) ระดับที่เหมาะสำหรับผู้อ่านที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป (3) ระดับที่เหมาะสำหรับผู้อ่านที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป 3. ผลการสำรวจระดับหนังสือการ์ตูนที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย ที่มียอดจำหน่ายสูงสุด 5 อันดับ ในช่วงตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549-เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ของ 5 สำนักพิมพ์ใหญ่ คือ วิบูลย์กิจ สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย เนชั่นอินเตอร์คอมิก บงกช พับลิชชิ่ง และบูรพัฒน์ พบว่าหนังสือการ์ตูนเล่มที่จัดอยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับผู้อ่านทุกวัยมี 1 เล่ม หนังสือการ์ตูนเล่มที่จัดอยู่ในระดับที่เหมาะสำหรับผู้อ่านที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป มี 2 เล่ม และหนังสือการ์ตูนเล่มที่จัดอยู่ในระดับที่เหมาะสำหรับผู้อ่านที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มี 19 เล่ม นอกจากนี้ยังพบ หนังสือการ์ตูนที่ไม่สามารถจัดระดับได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด อีก 3 เล่ม ไม่สามารถจัดระดับได้ตามเกณฑ์กำหนด ทั้งนี้เนื่องจากมีเนื้อหาบางฉาก บางตอนที่มีเนื้อหา ภาพ หรือบทบรรยายที่เกินจากเกณฑ์ที่กำหนด
Other Abstract: The purposes of this research were to classify Thai-translated Japanese comic books distributed in Thailand and to propose criteria for the rating of Thai-translated Japanese comic books as educational media for youth, by means of studying relevant materials concerning the contents and classification of Japanese comic books as well as materials concerning the media rating at national and international levels. Then, the criteria developed were used to survey Thai-translated Japanese comic books in Thailand to test its practicality and appropriateness. Research findings were as follows: 1. Thai-translated Japanese comic books can be classified into four groups according to their key aspects as follows: a. Violence, which can be further classified into: fighting, adventure, ghosts and well known literature. b. Romance and sexual relationship, which can be further classified into: romance, pornography, homosexuality and sexual deviation. c. Specific subjects, which can be further classified into: science, history, detective story, sport, biography and professions. d. Any other aspects, which can be further classified into: animals and comedy. 2. The criteria developed for the rating of Thai-translated Japanese comic books employ the following key aspects in consideration: (a) violence; (b) sex; (c) costume; (d) horror scene; (e) illegal items, drugs, and alcohol; (f) language use; and (g) frequency of the previously mentioned aspects in total. The criteria for the rating of Thai-translated Japanese comic books according to the readers' age help categorize comic books into three levels: (a) suitable for all readers; (b) suitable for 13 year old or older readers; (c) suitable for 18 year old or older readers. 3. The result of the survey of the top five bestsellers Thai-translated Japanese comic books distributed in Thailand during June 2006-February 2007 from five major publishers, namely Vibulkij, Siam Inter Multimedia, Nation Inter Comic, Bongkotch Publishing and Burapat showed that there was only one comic that was suitable for all readers, two were suitable for 13 year old or older readers, and 19 were suitable for 18 year old or older readers. The other three comic books could not be rated, using the criteria developed, as some contents, illustrations or narration did not meet the mentioned criteria.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13407
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.779
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.779
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pronvalai_Be.pdf19.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.