Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13508
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพินิจ ลาภธนานนท์-
dc.contributor.authorฝนทิพย์ โพธิวิรัตนานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2010-09-20T04:47:32Z-
dc.date.available2010-09-20T04:47:32Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13508-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสถาบันสังคมในการขัดเกลาจริยธรรมของเยาวชนและคุณลักษณะทางจริยธรรมของเยาวชน โดยศึกษาเปรียบเทียบเยาวชนผู้ที่เข้าเรียนและไม่เข้าเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เยาวชนผู้ที่เข้าเรียนและไม่เข้าเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีอายุระหว่าง 14-18 ปี และกลุ่มแวดล้อมทางสังคมของเยาวชนทั้งสองกลุ่ม ได้แก่ ผู้ปกครอง ครูโรงเรียนสามัญ พระอาจารย์โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระสงฆ์ในวัดที่เยาวชนมีโอกาสไปร่วมกิจกรรมทางศาสนา และ กลุ่มเพื่อน รวมจำนวน 260 คน โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการศึกษา พบว่า สถาบันสังคมที่เยาวชนและกลุ่มแวดล้อมทางสังคมของเยาวชนทั้งที่เข้าเรียนและ ไม่เข้าเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้ความสำคัญในการขัดเกลาจริยธรรมมากที่สุดเป็นอันดับแรก คือ สถาบันครอบครัว รองลงมา ได้แก่ สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน กลุ่มเพื่อน และสถาบันศาสนา ตามลำดับ ซึ่งแต่ละสถาบันสังคมจะมีวิธีการขัดเกลาจริยธรรมทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับเยาวชนที่แตกต่างกันไปตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง นอกจากนั้นยังพบว่า กลุ่มแวดล้อมทางสังคมของเยาวชนทั้งสองกลุ่มให้ความสำคัญในการปลูกฝังคุณลักษณะทางจริยธรรมในด้านความเสียสละมีเมตตามากที่สุด รองลงมา คือ ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความขยันอุตสาหะ ความซื่อสัตย์ยุติธรรม ความกตัญญูกตเวที ความสามัคคี ความประหยัด และความมีเหตุผล ตามลำดับ ทั้งนี้การปลูกฝังคุณลักษณะทางจริยธรรมของกลุ่มแวดล้อมจะขึ้นอยู่กับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยรวมและขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกลุ่มแวดล้อมเยาวชนว่าสิ่งใดควรปฏิบัติและสิ่งใดไม่ควรปฏิบัติ ส่วนระดับคุณลักษณะทางจริยธรรมของเยาวชนจากการประเมินของกลุ่มแวดล้อมทางสังคมของเยาวชนทั้งสองกลุ่ม พบว่า ระดับคุณลักษณะทางจริยธรรมโดยรวม 9 ด้านของเยาวชนที่เข้าเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์มีระดับสูงกว่าเยาวชนที่ไม่เข้าเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และเมื่อพิจารณาในรายด้านแต่ละด้าน พบว่า เยาวชนที่เข้าเรียนและไม่เข้าโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์มีระดับคุณลักษณะทางจริยธรรมรายด้านที่แตกต่างกัน โดยเยาวชนที่เข้าเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์มีระดับคุณลักษณะทางจริยธรรมสูงกว่าเยาวชนที่ไม่เข้าเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ยุติธรรม ความมีเหตุผล ความกตัญญูกตเวที ความเสียสละมีเมตตา ความสามัคคี และความขยันอุตสาหะ ในขณะที่เยาวชนที่ไม่เข้าเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์มีระดับคุณลักษณะทางจริยธรรมสูงกว่าเยาวชนที่เข้าเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในด้านความมีระเบียบวินัยและความประหยัดen
dc.description.abstractalternativeThis study aims to explore the role of social institutions in the contemporary process of socialisation of youths’ morality and their ethical characteristics. The study investigates through a comparative study of enrolled and non-enrolled students in the Sunday Buddhist School Two main groups of research sample are were the enrolled and non-enrolled students of the age between 14-18 years old. The other sample groups are those who have close relationship with those two main samples including their parents, school teachers, monk teachers in the Sunday Buddhist School, monks at temples which the samples usually participate in religious activities, and school friends. Hence, there are totally 260 respondents involving in the investigation which was conducted by using questionnaires and in-depth interview technique. The study illustrates that the social institutions which influences socialisation of youths’ morality and youths’ ethical characteristics are family, educational institution, mass media, groups of friends and religious institution, respectively. However, each institution provides both directly and indirectly ways of socialisation depending on its roles and functions in the process of socialisation. The study also clarifies that the involving social institutions of the youths prefer the ethic of sacrifice and kindness as their first priority, while the rests are discipline, responsibility, diligence, honesty, gratefulness, harmony, economisation and reasoning, respectively. In fact, the socialization of youth’s morality among the groups of involving social institutions has depended generally on social change and their discretion on which things are appropriate or inappropriate to conduct. Comparatively, the level of the 9 ethical characteristics of the enrolled students in the Sunday Buddhist School is higher than those of the non-enrolled students. However, when each ethic is investigated in details, the enrolled students have higher level of responsibility, honesty, reasoning, gratefulness, sacrificing, harmony, and diligence, correspondingly than those of the non-enrolled students, On the contrary, the non-enrolled students have correspondingly higher level in the ethics of discipline and economisation than those of the enrolled students.en
dc.format.extent2519365 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1727-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการพัฒนาจริยธรรมen
dc.subjectจริยศึกษาen
dc.titleการขัดเกลาจริยธรรมของเยาวชน : ศึกษาเปรียบเทียบผู้ที่เข้าเรียนและไม่เข้าเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeSocialization of youths' morality : a comparative study of enrolled and non-enrolled students in sunday Buddhist school at Wat Mahathatyuwarajarangsarit Rajaworamahawihara, Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพัฒนามนุษย์และสังคมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPinit.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1727-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fontip_po.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.