Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13597
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนรลักขณ์ เอื้อกิจ-
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดี-
dc.contributor.authorอังสนาภรณ์ ฉัตรจินดา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคใต้)-
dc.date.accessioned2010-10-04T04:38:52Z-
dc.date.available2010-10-04T04:38:52Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13597-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractปัญหาอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี อุบัติการณ์พบมากที่สุดในวัยรุ่นและปัจจัยเสี่ยงคือ การไม่สวมหมวกนิรภัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสวมหมวกนิรภัย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ ประสบการณ์การได้รับอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคต่อการสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตภาคใต้ ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสงขลา ตรัง นครศรีธรรมราชและพัทลุง ปีการศึกษา 2549 จำนวน 445 คน สามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยง แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรง แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคและแบบสอบถามการสวมหมวกนิรภัย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .80, .80, .87, .93 และ .81 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์อิตา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคใต้ ประเทศไทย มีการสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์อยู่ในระดับปานกลาง ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงอยู่ในระดับดี การรับรู้ความรุนแรงอยู่ในระดับดี การรับรู้ประโยชน์ของอยู่ในระดับดีและการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับดี 2. เพศและประสบการณ์การได้รับอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ มีความสัมพันธ์กับการสวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคใต้ ประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .217 และ .122 ตามลำดับ) 3. แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงและการรับรู้ประโยชน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการสวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตภาคใต้ ประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .167, .848, .295, และ .847 ตามลำดับ) 4. การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับการสวมหมวกนิรภัย ในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคใต้ ประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.338)en
dc.description.abstractalternativeMotorcycle accident is one of the most serious problems in Thailand. The annual record of mortality due to accidents shows a continuous increasing trend. In particulary, the most prevalent incidents caused by traffic accidents have been found among adolescent and risk factor was helmet non-use. The purposes of this descriptive research were to study the selected factors; sex, accidental experience, social support, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefit and perceived barrier with the use of motorcycling helmets in secondary school students in region of Thailand. Subjects consisted of 445 secondary school students in four provinces of southern region of Thailand; Songkhla, Trung, Nakhonsrithammarat and Phattalung provinces selected by Multi-stage sampling. The research instruments were; 1) demographic questions 2) social support 3) perceived susceptibility 4) perceived severity 5) perceived benefit 6) perceived barrier, and 7) the use of motorcycling helmets questionnaires. All instruments were tested for content validity by a panel of five experts. The reliability of the instruments by Cronbach’s alpha were .80, .80, .87, .93, and .81 respectively. Statistical methods used to analyze the data include percent, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation. Major findings were as follows: 1. The use of motorcycling helmets in secondary school students in southern region of Thailand was at medium level. 2. Sex and accidental experience were significantly related to the use of motorcycling helmets in secondary school students in southern region of Thailand at the level of p = .05 (r = .217 and .122 respectively). 3. Social support, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefit were positive significantly correlated with the use of motorcycling helmets in secondary school students in southern region of Thailand at the level of p = .05 (r = .167, .848, .295, and .847 respectively). 4. Perceived barrier was negative significantly correlated with the use of motorcycling helmets in secondary school students in Southern Region of Thailand at the level of p = .05 (r = -.338).en
dc.format.extent1402363 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1734-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการขับขี่จักรยานยนต์en
dc.subjectอุบัติเหตุจากการขับขี่จักรยานยนต์en
dc.subjectหมวกนิรภัยen
dc.subjectการรับรู้en
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคใต้ ประเทศไทยen
dc.title.alternativeSelected factors related to the use of motorcycling helmets in secondary school students in Southern Region of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNoraluk.U@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPranom.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1734-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aungsanaporn_Ch.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.