Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/135
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กนกพร พะลัง | - |
dc.contributor.advisor | ลัคนา เหลืองจามีกร | - |
dc.contributor.author | อโนชา ซื่อสุวรรณ, 2522- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-05-29T06:05:34Z | - |
dc.date.available | 2006-05-29T06:05:34Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745313637 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/135 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | ในประเทศไทย มะเร็งในช่องปากเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 4 ของมะเร็งที่พบในเพศชายและอันดับ 7 ของมะเร็งที่พบในเพศหญิง ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่การดำเนินของโรค ยังไม่รุนแรงในระยะก่อนเกิดมะเร็งและ/หรือมะเร็งระยะแรก ก็จะทำให้อัตราการอยู่รอดและคุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันเทคนิคต่างๆได้ถูกพัฒนาเพื่อช่วยเสริมในการตรวจหามะเร็งทางคลินิก ที่น่าสนใจคือการที่มีผู้นำกรดอะซิติก (acetic acid) 3-5% มาใช้ในทางนรีแพทย์เพื่อช่วยตรวจหาโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศกำลังพัฒนา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาค่าความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำของน้ำส้มสายชูในการตรวจหารอยโรคมะเร็งในช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์รองเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างการทำปฏิกิริยา ของเนื้อเยื่อต่อน้ำส้มสายชูทางคลินิกและปริมาณของโปรตีน p53 ในระดับเซลล์ โดยศึกษาในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีรอยโรคก่อนเกิดมะเร็งและมะเร็งในช่องปากจำนวน 30 คน ด้วยวิธีการป้ายน้ำส้มสายชูลงบริเวณรอยโรค แล้วตัดชิ้นเนื้อจากนั้นนำมาตรวจทางจุลพยาธิวิทยา และหาจำนวนเซลล์ที่ให้ผลบวกต่อโปรตีน p53 ด้วยวิธีทางอิมมูโนฮิสโตเคมีสตรี ผลการศึกษาพบว่าน้ำส้มสายชูมีค่าความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำในการตรวจหามะเร็งในช่องปากเท่ากับ 83.33%, 84.12% และ 83.64% ตามลำดับ และการทำปฏิกิริยาของเนื้อเยื่อต่อน้ำส้มสายชูทางคลินิกและปริมาณของโปรตีน p53 ในระดับเซลล์มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) ดังนั้นการใช้น้ำส้มสายชูจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ในการช่วยตรวจหารอยโรคมะเร็งในช่องปากในประเทศกำลังพัฒนา เพราะมีค่าความไวและความจำเพาะไม่แตกต่างจากโทลูอิดีนบลู ที่ใช้กันแพร่หลายอยู่แล้วมากนักและยังมีราคาไม่แพง สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป | en |
dc.description.abstractalternative | Oral cancer is the fourth most common cancer in males and the seventh most common cancer in females in Thailand. The survival rates and quality of life of oral cancer patients will significantly be improved if they receive treatment for the lesions that are less advanced or premalignant. Early diagnosis is therefore of paramount importance. A number of techniques have been developed to supplement clinical examination for oral malignancy. One interesting screening methods is the application of 3-5% acetic acid which has been used for cervical cancer screening. The primary objective of this study was to assess the sensitivity, specificity and accuracy of using vinegar (5% acetic acid) for screening oral cancer. The secondary objective was to investigate the association between clinical screening using vinegar and expression of the tumor marker, p53. The study included thirty participants suspected of having oral squamous cell carcinoma. Vinegar was applied to the lesions, followed by incisional biopsy. The specimens were microscopically examined for pathological diagnosis and immunohistochemical investigation. The sensitivity, specificity and accuracy of using vinegar for oral cancer screening were 83.33%, 84.21% and 83.64%, respectively. There was an association between clinical screening using vinegar and expression of p53 protein. The results of this study suggest that household vinegar is an alternative for oral cancer screening in developing countries because the sensitivity and specificity of vinegar is comparable to the use of toluidine blue, a vital stain for oral cancer screening. Additionally, vinegar is inexpensive and easy to obtain. | - |
dc.format.extent | 1892265 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.349 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ปาก--มะเร็ง | en |
dc.subject | สความัสเซลล์คาร์ซิโนมา | en |
dc.subject | น้ำส้มสายชู | en |
dc.title | การใช้น้ำส้มสายชูในการตรวจหามะเร็งในช่องปาก | en |
dc.title.alternative | The application of vinegar in the detection of oral squamous cell carcinoma | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์ช่องปาก | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.author | bhalangk@dentistry.unc.edu | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.349 | - |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
AnochaSu.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.